Lifestyle

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ห้องสมุดแห่งนี้ที่พี่สร้าง เนรมิตที่ว่างตามทางฝัน จึงได้เกิดค่ายอาสาท่าพระจันทร์ จากนี้ไปจดจำไว้ทุกเวลา ทุกเรื่องราวจะมีค่าในหัวใจ….

    กลอนบทนี้ พี่ๆนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนไว้ข้างฝาห้องสมุดที่พวกเขามาสร้างให้น้องๆนักเรียน ณ โรงเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัว ห้องเรียนสาขาบ้านมอเคลอะคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก...

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

    “ห้องเรียนสาขาบ้านมอเคลอะคี อยู่ภายใต้การดูแลของโรงเรียนบ้านหนองบัว หรือเรียกได้ว่าเป็นโรงเรียนแม่ ซึ่งห้องเรียนสาขาแห่งนี้เป็นสถานที่เรียนที่ไกลที่สุดในเขตอำเภอท่าสองยาง ใช้เวลาเดินทางจากตัวอำเภอ ราวๆ 4 ชั่วโมง ด้วยระยะทาง 40 กิโลเมตร

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

   หน่อง พรพิรุณ จิตรเอื้อกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานค่าย เล่าว่า...“ค่ายอาสาท่าพระจันทร์เพื่อประชาชน ค่ายนี้เป็นค่ายที่ 5 แล้วครับที่จัดขึ้นโดย รั้งที่ 1 เกิดขึ้นจากรุ่นพี่สามคน อยู่คณะรัฐศาสตร์กับวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์      โดยค่ายแรกนั้นพี่ทั้งสามคนต้องเริ่มต้นเองทั้งหมดเลย คิดแผน ทั้งแผนการจัดค่ายหางบเพื่อใช้ในค่ายวิธีการเลือกลูกค่ายรวมถึงสถานที่โดยพี่ๆได้วางแผนกันไว้ว่าค่ายที่มาควรจะเป็นค่ายสร้างสรรค์และค่ายสอนในค่ายเดียวกัน

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

   พรพิรุณ จิตรเอื้อกุล

      โดยๆพี่ได้คิดแผนงานแบ่งงานเป็น 4 ฝ่ายด้วยกันคือฝ่ายสร้าง ฝ่ายสอน ฝ่ายสวัสดิการและฝ่ายสัมพันธ์ แต่ละฝ่ายก็จะมีหน้าที่เฉพาะของตนเอง

    ฝ่ายสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสร้างอาคารเรียนในโรงเรียนเพื่อน้องน้องมีทั้งการสร้างห้องสมุด ห้องสื่อการเรียนการสอน และโรงอาหารเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนโรงเรียนและชุมชนในส่วนของ

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

     ฝ่ายสอน ก็จะเป็นการสอนเพื่อเน้นให้น้องได้ใช้จริงในชีวิตประจำวันและเป็นการสอนเพื่อแรงบันดาลใจให้กับน้องๆในการทำงานหรือกิจกรรมในอนาคต สอนเพื่อให้น้องๆเรียนและนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาต่อยอดเพื่อชุมชน

    ฝ่ายสวัสดิการ คือฝ่ายที่ดูแลและบริการลูกค่ายโดยหน้าที่หลักๆคือการทำอาหารและดูแลสุขภาพของลูกค่าย นอกจากนั้นแล้วก็ยังคิดกิจกรรมสนุกๆให้ลูกค่ายเพื่อเป็นการคลายเครียดอีกทางหนึ่ง

    สุดท้ายคือ ฝ่ายสัมพันธ์ มีหน้าที่สำคัญกับคนในชุมชนนั้นๆเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตของชาวบ้านโดยใช้คล้ายกับการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อต่อยอดความคิดของนักศึกษาและนำปัญหาของชุมชนนั้นนั้นมาเป็นกรณีศึกษา

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

    โดยในปีนี้พวกเรามาจัดที่หมู่บ้านมอเคลอะคี ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ถ้าถามว่าทำไมเราถึงเลือกมาจัดค่ายที่นี่ ก็คงเป็นเพราะในปีนี้คณะผู้จัดค่ายต้องการให้ค่ายนี้เป็นค่ายอาสาในฝันของลูกค่ายเพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสความเป็นอาสาที่แท้จริงได้เรียนรู้ถึงความยาก ลำบากที่ยังมีอยู่หรือหลายๆส่วนหนึ่งของประเทศไทย

     ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เพื่อนๆพี่ๆน้องๆในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ของเรายังขาดความรู้และประสบการณ์ เราเชื่อว่าการที่ทุกคนได้มาเรียนรู้ถึงปัญหาและความแตกต่างของชุมชนบ้านมอเคลอะคีและได้พยายามปรึกษาหารือกันเพื่อระดมความคิด ถึงรูปแบบการแก้ไขที่จะทำให้ชุมชนพัฒนาไปในทางที่ดี จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของลูกค่ายทุกคนเช่นเดียวกัน

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

      นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเลือกสถานที่แห่งนี้ซึ่งห่างไกลความเจริญ และความประทับใจอีกอย่างคงเป็นบรรยากาศในชุมชนตอนที่เรามาสำรวจสถานที่ เพราะเราได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพี่ๆ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 คุณครูที่โรงเรียน และชาวบ้านที่ทำให้เราตั้งใจที่จะมาที่นี่และมองว่าโรงเรียนแห่งนี้คือสถานที่ที่จัดค่ายในฝันของพวกเราครับ….

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

     ณัฐพงศ์ พิบูลธนเกียรติ"

     " เอ็มดี- ณัฐพงศ์ พิบูลธนเกียรติ" ดารานักแสดงวัยรุ่น/นายแบบ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่ออกค่ายครั้งแรกของการร่วมเป็นแกนฝ่ายสัมพันธ์ บอกว่าได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวิธีชุมชนเข้าใจ และ เข้าถึงชุมชนแค่ลูกค่ายได้ความคิดที่อยากจะพัฒนาชุมชนที่ห่างไกล นี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของเยาวชนคนไทยรุ่นต่อไป

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

     

    "ฟ้าฝน- สุธินี โอฬารจักริน" นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกอังกฤษอเมริกันศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า การออกค่าย ที่ค่อนข้างห่างไกลจากความเจริญที่สุดไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไฟฟ้าก็มีอยู่อย่างจำกัดมาก ทำให้ฝ่ายสวัสดิการ ต้องเตรียมตัวกันก่อนล่วงหน้าค่อนข้างนานมาก เพื่อดูแลสมาชิกค่าย 60 คน ภูมิใจจากที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนได้ใช้ชีวิตมหาวิทยาลัยอย่างคุ้มค่าแล้ว

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

   "ผอ.แขก -สิทธิพน แก่นเมือง" ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบัว  บอกว่าดีใจมากที่น้องๆนักศึกษาขึ้นมาทำค่ายอาสาที่นี่ ทั้งๆที่ระยะทางจากกรุงเทพฯจะไกลแสนไกล แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้ล้วนมีจิตอาสา ประกอบกับทางสถาบันได้ปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อสังคม การมาสร้างห้องสมุดในครั้งนี้เหมือนเป็นการลดช่องว่างระหว่างโอกาส

 

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

     นอกจากนั้นแล้วยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านชนเผ่าปะกาเกอญอหรือเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ผิดแผกแตกต่างกับคนในเมืองหรือพื้นราบโดยสิ้นเชิง แต่นักศึกษาก็ยังปรับตัวดำรงชีวิต อาศัยอยู่ร่วมกับชาวบ้านได้อย่างมีความสุข ประสบการณ์ตรงนี้จะเป็นรากแก้วในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมในภายภาคหน้า ได้เห็น ได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างทางสังคม ความด้อยโอกาส เมื่อได้เห็นแล้วคนเหล่านี้คือคนที่จะไปพัฒนาประเทศชาติในภายภาคหน้าต่อไป

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

    ครูไมค์ สิบตำรวจ ชุมพล สถิตพนากร อายุ 32 ปี ตำแหน่งครูผู้ช่วย ห้องเรียนสาขาบ้านมอเคลอะคี ที่มาสอนโรงเรียนแห่งนี้เกือบ 1 ปี มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สอด บอกว่า เด็กนักเรียนดีใจมากที่มีห้องสมุด แถมนักศึกษายังได้สอนกิจกรรมต่างๆให้เด็กตามชั้นเรียนมากมาย เด็กๆได้เรียนรู้ ซึ่งสังเกตเห็นว่าเด็กๆมีความสุขมาก

   มึกลอ (มึ-กลอ) เด็กหญิงดรุณี เหลี่ยมบริสุทธิ์ อายุ 12 ปี นักเรียนชั้น ป.6 รองประธานนักเรียนเป็นตัวแทนกล่าวว่า พวกเธอดีใจที่พี่ๆนักศึกษามาสร้างห้องสมุดให้ได้มีที่อ่านหนังสือ จะตั้งใจเรียนและดูแลรักษาห้องสมุด “โดมเคียงดาว” ให้ได้ใช้เกิดประโยชน์สูงสุดและตลอดไป

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

  ดรุณี เหลี่ยมบริสุทธิ์

  การสร้างโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นที่สูงห่างไกลและทุรกันดารด้วยแล้ว ยังคงมีความต้องการและความจำเป็นอยู่อีกหลายพื้นที่ให้ได้พัฒนา แต่จะว่าไปแล้วก็ยังมีเหตุและปัจจัยที่จำเป็นหลายอย่างทำให้การพัฒนายังคงไม่ทั่วถึง ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ถนนหนทางหรือแม้กระทั่งภูมิศาสตร์ที่ตั้ง แต่ก็โชคดีมีผู้ที่ให้โอกาสและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มาแบ่งปันให้บ้าง ถือเป็นการลดช่องว่างและระยะห่างทางสังคม...ให้แคบลง

โดมเคียงดาว”.. สู่ มอเคลอะคี

     สิทธิพน แก่นเมือง

       ปัจจุบันห้องเรียนสาขาบ้านมอเคลอะคี มีครูทั้งหมด 6 คน เป็นครูประจำการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน มีเด็กนักเรียนทั้งสิ้น 68 คน สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สนใจเยี่ยมชมและให้กำลังใจครูและนักเรียนห้องเรียนสาขาบ้านมอเคลอะคี ติดต่อได้ที่  สิทธิพน แก่นเมือง  ผอ.โรงเรียนบ้านหนองบัว (โรงเรียนแม่) ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก  086-2173468

 

 0 ศตายุ วาดพิมาย0 เรื่อง-ภาพ 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ