Lifestyle

ยกศิลปะ “กลับบ้าน” เป็นสมบัติชาติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คนไทยและบรรดาผู้มีใจรักงานศิลปะจะได้มีโอกาสชื่นชมผลงานศิลปะระดับรากแก้วของศิลปินชั้นครู ใน“นิทรรศการผลงานสะสม“กลับบ้าน”เทพ จุลดุลย์

 

    ผลงานศิลปะระดับรากแก้วของศิลปินชั้นครู ที่หาชมได้ยาก ซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี โดย เทพ จุลดุลย์ นักสะสมผลงานศิลปะชาวไทย ที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ใน“นิทรรศการผลงานสะสม“กลับบ้าน” ซึ่งสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)กระทรวงวัฒนธรรมนำมาได้จัดแสดงไว้ให้ชม ภายในหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้

ยกศิลปะ “กลับบ้าน” เป็นสมบัติชาติ

     วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการ สศร. กล่าวว่า สศร.ได้รับเกียรติจากครอบครัวจุลดุลย์ ซึ่งความประสงค์ที่จะมอบผลงานศิลปะอันล้ำค่าที่ได้เก็บสะสมไว้ตลอดชีวิตให้เป็นสมบัติของประเทศชาติจำนวน29ภาพ ล้วนแต่เป็นฝีมือการสร้างสรรค์ของศิลปินที่มีชื่อเสียงและเป็นปูชนียบุคคลในวงการศิลปะไทยที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญๆของโลก และสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของศิลปะไทย

ยกศิลปะ “กลับบ้าน” เป็นสมบัติชาติ

       ที่สำคัญผลงานบางชิ้นเป็นผลงานที่ไม่เคยจัดแสดงมาก่อน เช่น ลายมือของพระเจนดุริยางค์ ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่มีการประพันธ์ทำนองเพลงชาติเกิดขึ้น ชิ้นต่อมาเป็นงานของอาจารย์เฟื้อ ซึ่งวาดขึ้นในขณะที่ไปเรียนที่ประเทศอินเดีย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่2ในค่ายกักกันชาวญี่ปุ่นที่ประเทศอินเดียที่สะท้อนความงามท่ามกลางความโหดร้ายของสงครามภาพสเก็ตซ์รูปคนนั่ง

ยกศิลปะ “กลับบ้าน” เป็นสมบัติชาติ

     ผลงานชิ้นสุดท้ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ทำให้เราตระหนักว่าท่านมีจิตวิญญาณความเป็นครูจนถึงวินาทีสุดท้าย,และงานภาพพิมพ์ชุดแรกของ อาจารย์ชะลูด นิ่มเสมอ ที่พิมพ์บนกระดาษสา ซึ่งได้รับรางวัลในการประกวดศิลปกรรมครั้งที่5ที่ประเทศยูโกสลาเวีย เมื่อปี2506เป็นต้น

ยกศิลปะ “กลับบ้าน” เป็นสมบัติชาติ

          สิริมา จุลดุลย์ น้องสาวของ เทพ จุลดุลย์ กล่าวว่าพี่ชายมีใจรักศิลปะมาตั้งแต่สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้มีโอกาสได้พบเพื่อนๆศิลปินที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร เช่นอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ อาจารย์ ทวี นันทขว้าง เป็นต้น ทั้งยังได้รับความเมตตาจากท่านพระเจนดุริยางค์ เมื่อครั้งทำงานอยู่ที่กรมศิลปากร แผนกดุริยางค์สากล จึงเป็นที่มาของการสะสมผลงานศิลปะของศิลปินผู้มีชื่อเสียงมากมาย ซึ่งท่านมีเจตนารมณ์แน่วแน่ที่จะมอบภาพเหล่านี้ให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้จากภาพประวัติศาสตร์เหล่านี้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ