Lifestyle

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เรียนวิศวะอย่างไรให้มีงานทำ เพราะความต้องการด้านวิศวกรในตลาดแรงงาน มีจำนวนมากถึง 50,000 รายต่อปี แต่ปัจจุบันสามารถผลิตบุคลากรมารองรับได้เพียงแค่ร้อยละ 60

 

       หนทางการพัฒนาสู่ไทยแลนด์ 4.0 จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่างๆ โดยเน้นตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน โดยเฉพาะกลุ่มสายงาน วิศวกรเป็นตำแหน่ งพื้นฐานสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่จะขาดไม่ได้ และต้องอาศัยทักษะและความชำนาญเฉพาะด้านมาเป็นผู้ควบคุมดูแล และหนึ่งในสามอาชีพที่ตลาดต้องการมากที่สุด

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

     “ความต้องการด้านวิศวกรในตลาดแรงงาน มีจำนวนมากถึง 50,000 รายต่อปี แต่ปัจจุบันสามารถผลิตบุคลากรมารองรับได้เพียงแค่ร้อยละ 60 หรือประมาณ 30,000 รายต่อปี โดยสาขาที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคือ สามเสือแห่งวิศวกรรม ได้แก่ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์” ผศ.ดร.สุรชัย องกิตติกุล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมมหานคร  มหาวิทยาลัยมหานคร กล่าว

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

    ดังนั้นการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างและพัฒนา คน ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในยุคไทยแลนด์ 4.0ก้าวต่อไปของการพัฒนาบุคลากร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิศวกรรม จำเป็นต้องผสมผสานแนวคิดทั้งด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ ประกอบกับคำนึงถึงนวัตกรรมสมัยใหม่ที่จะต้องนำมาประยุกต์เข้ากับบทเรียน เนื้อหา เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

 

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

 ผศ.ดร.สุรชัย องกิตติกุล

     ซึ่งการเรียนการสอนสาขานี้ต้องส่งเสริมให้ฝึกปฏิบัติหรือทดลอง และบูรณาการณ์ด้านการเรียนและการสอน การพัฒนาทักษะด้านภาษา เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล จำเป็นต้องพัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยให้ความสำคัญทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน สถาบันการศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรและเนื้อหา ให้สามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมให้บุคลากรแข่งขันได้ในตลาดสากล

     "เพิื่อพัฒนาคน ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล จึงได้เปิดสถาบันนวัตกรรมมหานครหรือเอ็มไอไอ (Mahanakorn Institute of Innovation : MII) พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตวิศวกรรมที่เป็นนักนวัตกร ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มนักศึกษารุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด STEAM Education ผสมผสานเนื้อหาเชิงทฤษฏีและปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และศิลปะ เข้าด้วยกัน"  ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมมหานคร อธิบาย

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

       ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้เสริมตามความสนใจ เรียนสนุกและสร้างสรรค์แบบ active learning เช่น การเรียนเชิงสาธิต Kitchen Chemistry มีการพัฒนาทักษะเฉพาะแต่ละด้านแบบมืออาชีพ ฝึกปฏิบัติจริงและฝึกงานในองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนาทักษะ soft skill เช่น การบริหารความคิดสร้างสรรค์ ทักษะภาษาอังกฤษ หรือการทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพ รวมทั้งมีห้องปฏิบัติการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นด้านหุ่นยนต์ ระบบเครือข่าย ระบบโปรแกรมควบคุม ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลควบคุม เป็นต้น

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

         พร้อมกับพัฒนาหลักสูตร สถาบันนวัตกรรมมหานครดูแล ได้แก่ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมโลจิสติกส์ วิศวกรรมระบบวัดคุม วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล นวัตกรรมและการบริหารจัดการ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารยุคดิจิทัล และหลักสูตรสองภาษาด้านวิศวกรรม สำหรับหลักสูตรสองภาษานี้ ได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับ The University of Sheffield, Oxford Brookes University ประเทศอังกฤษ และ University of Ulsan ประเทศเกาหลีใต้

   “การลงทุนและพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในปีนี้และต่อไป ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่า จะสามารถผลิตบุคลากรตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศไทย สู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างยั่งยืน และการันตีได้ว่าบัณฑิตที่เรียนจบจากสถาบันแห่งนี้มีงานเป็นที่ต้องการของตลาดแน่นอน”

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

     ขณะเดียวกันก็จะปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน และเนื้อหาหลักสูตร วิศวกรควบคุม ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมโทรคมนาคม ให้มีความน่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดความอยาก ใคร่รู้ มากกว่าการสอนแบบเดิม รวมทั้งต้องสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้วย

     "ต่อไปการเรียนการสอนเน้น Active Learning ผู้สอน จะต้องกระตือรือร้นก่อน เพราะเป็นผู้ถ่ายทอด ปรับและเปลี่ยนเนื้อหารายวิชาให้เหมาะสมกับรูปแบบกิจกรรม เพื่อกระตุ้นความสนใจและความคิดสร้างสรรค์จากผู้เรียน ยกตัวอย่าง การสอนในวิชาเคมี ใช้ชื่อว่า Kitchen Chemistry เป็นการประยุกต์เนื้อหาวิชาเคมีที่น่าเบื่อและต้องท่องจำ มาสู่กิจกรรมการสอนด้วยการปรุงอาหาร และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ และเข้าใจได้ง่ายและสนุก ซึ่งมาปรับใช้จำนวน 62 วิชา พบว่า กลุ่มนักศึกษามีผลการเรียนที่ดีขึ้นมากเดิมกว่าร้อยละ 70 จึงวางแผนนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้ในทุกรายวิชาพื้นฐานสำหรับปีการศึกษานี้เป็นต้นไป" ผศ.ดร.สุรชัย กล่าว

      ขณะเดียวกัน รูปแบบห้องเรียนไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม อาจปรับรูปแบบเป็นลักษณะต่างๆ หรือนอกห้องเรียนก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งควรมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกตอบสนองความต้องการใช้งานที่หลากหลาย อาทิ ศูนย์สุขภาพ ศูนย์พยาบาล ศูนย์เยาวชน

เรียน“วิศวะ”อย่างไรให้มีงานทำ

      สิ่งสำคัญที่สุด ควรเน้นพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยการจัดแสง ดนตรี นำเทคโนโลยี นวัตกรรมประหยัดพลังงานหรืออื่นๆ เข้ามาปรับใช้ภายในอาคารสถาบันศึกษา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เพื่อทำให้นักศึกษา 1 หมื่นคนบนพื้นที่ 98 ไร่มีความสุขสนุกอย่างสร้างสรรค์กับการเรียนรู้แบบ Active Learning

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ