Lifestyle

KFC Community Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โครงการKFCCommunity Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”เวทีที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงความเป็นตัวเองในด้านความคิดและนำความชำนาญมาใช้แก้ไขปัญหาในชุมชน

 

    ใครว่านิสิตนักศึกษา คนรุ่นใหม่ ไม่สนใจสังคม ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เมื่อกลุ่มนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศไทยพร้อมใจเข้าร่วม“โครงการKFCCommunity Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”เวทีที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงความเป็นตัวเองในด้านความคิดและนำความชำนาญมาใช้แก้ไขปัญหาในชุมชน ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเคเอฟซี โดยได้คัดเลือก 15ทีม จาก600ทีมทั่วประเทศ มอบเงินสนับสนุนโครงการละ20,000บาท เพื่อให้แต่ละทีมได้ทำโครงการให้เกิดขึ้นจริง

KFC Community Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”

  ทีมGive me a hand จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.)วิทยาเขตศรีราชา

     หลังจากนั้นคณะกรรมการจะคัดเลือก5 ทีมทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคต่างๆ ได้แก่ทีมThe Three Heroes CUจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอโครงการ “So green so good”กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการแยกขยะและรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ,ทีมThe Lightingจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง นำเสนอโครงการ “การรณรงค์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ชุมชนบ้านแม่แป้น”เพื่อลดการเกิดโรคภัยต่างๆ ,ทีมWu KFC มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , “ทีมโอ๊บ โอ๊บ เทคโนโคราช” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)อีสาน“โครงการมหัศจรรย์กบทำเงิน และทีมGive me a handจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.)วิทยาเขตศรีราชา ซึ่งแต่ละทีมจะได้รับการสนับสนุนโครงการต่อเนื่องจากเคเอฟซี

     โดยทีมชนะเลิศในการประกวดโครงการดังกล่าว คือทีมGive me a hand จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.)วิทยาเขตศรีราชา 2 หนุ่ม2 สาว น.ส.กรรณิการ์ ทาระบุตร นายกิตติ แก้วนนท์ นายอภิวัฒน์ แก่นขนุน และน.ส.พิชชาธัญญ์ ภิระพันธ์พานิช นิสิตชั้นปี4 คณะวิทยาการจัดการ การนำเสนอ“โครงการไก่รักษ์ดิน คืนถิ่น หนองบอนแดง” นำกระดูกไก่ที่เหลือทิ้งมาแปรเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

     2 หนุ่ม2 สาว ช่วยกันเล่าว่า ทางเคเอฟซี เข้ามาสนับสนุนและเปิดเวทีให้นิสิตนักศึกษาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนของตนเองทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ซึ่งพวกเขาทั้ง4คน สนใจเข้าร่วมโครงการและได้ลงพื้นที่ชุมชนสำรวจถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น พบว่าต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มีปัญหาสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์และและจากการได้ศึกษาร้านเคเอฟซี ทำให้เรามองเห็นว่าจะนำกระดูกไก่ที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ซึ่งเมื่อได้สอบถามทางอาจารย์ และศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัย มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง รู้ว่ากระดูกไก่สามารถนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อใช้ในการปรับหน้าดิน นำไปสู่การรักษาผืนแผ่นดินได้

KFC Community Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”

     “พวกเราได้ช่วยกันวางแผนงาน โดยได้มีการรวบรวมกระดูกไก่จากร้านเคเอฟซี4 ในพื้นที่จ.ชลบุรี ทั้งหมด86.5 กิโลกรัมภายในระยะเวลา3 วัน ต่อมาก็ได้นำกระดูกไก่ ไปยังมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง เพื่อเป็นการจัดอบรมให้ความรู้ในแก่เกษตรกรในพื้นที่ และเรียนรู้การทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร ซึ่งมีผู้เข้าร่วม34 คน หลังจากดำเนินโครงการ ทำให้สามารถลดปริมาณกระดูกเหลือทิ้ง86.5และสามารถแปรรูปกระดูกไก่กลายเป็นปุ๋ยชีวภาพ ได้240 ลิตร และทำให้ช่วยลดการใช้พื้นที่ในการปรับปรุงขยะ เป็นการสร้างความยั่งยืนให้แก่เกษตรกรและชุมชน

KFC Community Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”

    ทั้งในด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน หากเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้พื้นที่เกษตรกรรม มีผลผลิตปลอดภัยทั้งในตัวเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงช่วยลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม ถึง1,442 บาท ต่อ1ไร่ และทำให้ได้ปุ๋ยชีวภาพ240 ลิตร ลดต้นทุน353,280 บาท เป็นการสร้างรายได้ ผลิตปุ๋ยเองได้”ทีมชนะเลิศเล่าถึงการทำโครงการ

     นอกจากนั้น เป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยเคเอฟซีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อม สภาพดินที่เสื่อมโทรมและมีแผนระยะยาวจะมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่พื้นที่เกษตรกรต่างๆ ซึ่งเคเอฟซี จะเป็นองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้ต่อไป

      สมาชิกทีมGive me a hand เล่าต่อไปว่าโครงการดังกล่าว เป็นเวทีที่จะเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงความรู้ความสามารถ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทีมพวกเขาได้เรียนรู้อะไรมากมาย โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบ การแบ่งเวลา และที่สำคัญได้เรียนรู้เรื่องการให้ การทำประโยชน์กับผู้อื่น เพราะบางครั้งเวลาพวกเราต้องเรียนอาจทำให้ไม่ได้รับรู้ถึงปัญหาของชุมชน โครงการนี้ทำให้ได้รู้ถึงศักยภาพของตนเองและรู้จักการช่วยพัฒนาชุมชน อยากให้มีการจัดโครงการนี้ต่อไปเรื่อยๆ

KFC Community Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”

     ภายใต้DNAของแบรนด์ เคเอฟซี ที่ได้สร้างสรรค์ เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงความเป็นตัวของตัวเองในด้านความคิดและนำความชำนาญของตนมาแก้ปัญหาชุมชน นำเสนออกมาในรูปแบบของโครงการที่เน้นแนวคิดกลยุทธ์การจัดการและดำเนินงานแก้ปัญหาที่ทันต่อยุคสมัย ปลูกฝังจิตสำนึกและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

     “โครงการตะลอนทัวร์เชิดชูมโนราห์สู่คนรุ่นใหม่” ทีมWu KFC มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทีมรองชนะเลิศอันดับ2รณรงค์ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคใต้ ด้วยการฟื้นฟูการแสดงมโนราห์โดยใช้โซเซียลมีเดียวเป็นสื่อหลัก ประกอบด้วยสมาชิกของทีมได้แก่นายอรรณพ เทพอักษร , น.ส.ฐิติมา ภิรมย์รส น.ส.พิมพิศา แสงมณี และน.ส.จุฑาพิชญ์ แก้วตาล นักศึกษาชั้นปีที่3สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ หลักสูตรนิเทศศาสตร์

   นายอรรณพ เล่าว่าพวกเราเป็นเด็กใต้และเล็งเห็นว่าปัจจุบันการแสดงศิลปวัฒนธรรม มโนราห์ เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อยลง พวกเราจึงได้คิดโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะประจำภาคใต้เอาไว้ โดยได้ร่วมกับนักวิชาการ ครูด้านนาฏศิลป์ไทย นักเรียนนักศึกษาที่เรียนมโนราห์และมีจิตอาสา

   รวมถึงศิลปินท้องถิ่นมาร่วมตะลอนทัวร์ สอนการร่ายรำมโนราห์ให้แก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการนำโซเซียลมีเดียเป็นสื่อหลักในการเผยแพร่ อาทิ การสร้างFacebook Pageเพื่อเผยแพร่ความเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์วัฒนธรรมมโนราห์ให้กับชุมชน เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อมโนราห์และร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมให้ยั่งยืน

KFC Community Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม”

ณิชารัศมิ์ อาชญาสิทธิวัตร

    ขณะที่น.ส.ณิชารัศมิ์ อาชญาสิทธิวัตร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ส่วนบริหารแบรนด์และการสื่อสารการตลาด เคเอฟซี ประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย)จำกัด และหนึ่งในคณะกรรมการประจำโครงการกล่าวว่าโครงการ KFC Community Heroเป็นตัวจริงเพื่อสังคม เป็นการจัดขึ้นครั้งแรก อีกหนึ่งโครงการเพื่อสังคมของเคเอฟซีที่มอบโอกาสด้านการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ให้เยาวชนของประเทศได้มีประสบการณ์ชีวิต พัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ถือเป็นพันธกิจระดับโลกของยัม แบรด์ส อิงค์

     ที่นอกจากจะบรรเทาความหิวโหยของคนในสังคมทั้งโลกแล้ว ยังส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย เคเอฟซี อยากให้โครงการนี้สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยหันมาช่วยกันสร้างวามเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เริ่มจากชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่และขยายวงกว้างไปยังสังคมและประเทศ

     เยาวชนไทยมีความสามารถ ความเก่ง และเป็นคนดี พร้อมพัฒนาชุมชน ยกระดับคุณภาพสังคม เพียงจัดสร้สงเวทีและโอกาสเปิดกว้างความคิดของพวกเขา

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ