Lifestyle

พชภ.หนุนเด็กแม่สลองไร้สัญชาติ ได้ศึกษา-คุณภาพชีวิตเท่าเทียม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ยังมีเด็กที่ยังไร้สัญชาติในตำบลแม่สลองนอก ที่ยังไม่ได้สำรวจ ....

“อนาคตโตขึ้นหนูอยากหมอ เป็นหมอได้จัดยาให้กับคนป่วย และช่วยเหลือคนเจ็บ ถ้ามีแผลก็จะทำแผลให้ เพราะอยากให้เขามีชีวิตรอด และหนูจะกลับมาเป็นหมอที่แม่สลอง” เสียงใสๆของเด็กหญิงปวีณา เมอจู อายุ 12 ปี โรงเรียนบ้านสันติคีรี  ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง  จ.เชียงราย หรือ น้องฝ้าย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 เป็นเด็กชาติพันธุ์ลาหู่ บอกอนาคตอย่างร่าเริง

น้องฝ้ายเป็นชาติพันธุ์ลาหู่ที่มีสถานะสัญชาติไทย มีบัตรประจำตัวประชาชน เพราะพ่อกับแม่เป็นชาวลาหู่ เป็นลูกคนเดียว แต่ปัจจุบันพ่อแม่ของเธอแยกทางกัน และอาศัยอยู่ต่างอำเภอ ครั้งสุดท้ายที่เจอคือตอนทำบัตรประชาชน ปัจจุบันเธออยู่กับน้าและย่า ที่ประกอบอาชีพทำไร่ข้าวโพด ทำนา ครอบครัวของเธอมีทั้งหมด 7 คน ในหมู่บ้านจะบูสี ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ในทุกเช้าเธอจะมาโรงเรียนพร้อมกับน้าที่ขับมอเตอร์ไซต์มาส่ง ซึ่งระยะทางห่างจากโรงเรียนกว่า 10 กิโลเมตร เป็นที่รักของเพื่อนและคุณครูเพราะนิสัยร่าเริง เรียนได้ดีในวิชาภาษาไทย ทั้งยังชอบอ่านหนังสือ และรักการร้องเพลงลูกทุ่ง

พชภ.หนุนเด็กแม่สลองไร้สัญชาติ ได้ศึกษา-คุณภาพชีวิตเท่าเทียม

วิชัย พรมชัย ครูประจำชั้นประถมศึกษาที่6/2 โรงเรียนบ้านสันติคีรี ครูประจำชั้นของน้องฝ้าย ได้เล่าว่า น้องฝ้ายเป็นเด็กที่เรียบร้อย ตั้งใจเรียน เข้ากับเพื่อนๆได้ดี การเรียนยังพอใช้ได้ เป็นเด็กขยัน เคยออกเยียมบ้านน้องฝ้าย ซึ่งเป็นบ้านยกสูง มีห้องเป็นสัดส่วน อยู่กับน้าที่ส่งเรียน ย่า และญาติๆ หลังจากกลับจากโรงเรียนจะช่วยครอบครัวทำงานบ้าน แม้บ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนหลายกิโลเมตร แต่ดีที่มีน้าคอยรับส่ง

นับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับเด็กที่ได้มีสัญชาติ ที่ได้รับการศึกษาที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ถึงอย่างนั้นเด็กอีกจำนวนไม่น้อยจะมีสัญชาติหรือไม่มีสัญชาติหรือไม่มีข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ แต่เด็กทุกคนควรต้องได้รับการศึกษาที่เท่าเทียม

อภิสิทธิ์ เวียงศรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสันติคีรี เปิดเผยว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านสันติคีรีวิทยามีทั้งหมด 1,040 คนเปิดสอนป.1-6 ซึ่งใน 3-4 ปีที่ผ่านมามีเด็กที่มีสัญชาติหรือดำเนินให้มีบัตรเลข 0 แล้ว ประมาณ 600 คน แต่เด็กที่ยังไม่มีสัญชาติประมาณ 300 คน จากจำนวนที่ยังเหลือเยอะของเด็กที่ยังไม่มีสัญชาติเพราะ มีการอพยพเขามาอยู่ใหม่ของพ่อแม่เด็กที่เป็นชาวพม่า ทำให้การดำเนินการใช้เวลานาน แต่ทั้งนี้ทางโรงเรียนมีนโยบายรับเด็กให้เข้าศึกษาทั้งที่มีสัญชาติและไม่มีสัญชาติ 100 เปอร์เซ็น เพราะเห็นว่า เด็กทุกคนที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทยควรได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน รวมถึงสิทธิด้านอื่นๆ ในระหว่างที่เรียนอยู่ด้วย ซึ่งหลังจากจบป.6 จะไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสันติคีรีวิทยาคมและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายในระดับอุดมศึกษา 

พชภ.หนุนเด็กแม่สลองไร้สัญชาติ ได้ศึกษา-คุณภาพชีวิตเท่าเทียม

“โรงเรียนมีจัดไปทัศนศึกษาที่ต่างจังหวัด ซึ่งง่ายหากเด็กมีบัตรประจำตัวประชาชน แต่สำหรับเด็กที่ไม่มีบัตรอะไร ทางโรงเรียนและผู้ใหญ่บ้านจะเซ็นรับรองว่าเด็กเป็นนักเรียนของโรงเรียนจริง และจะพาไปทัศนศึกษา นอกเหนือจากที่เด็กไม่ได้ไปในฐานะนักเรียน ก็เป็นเรื่องยากที่จะออกนอกเขตพื้นที่อาศัย ในส่วนของทุนการศึกษาหรือนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อาหารกลางวันฟรี รวมถึงอุปกรณ์การเรียน เด็กทุกคนก็จะได้รับอย่างเท่าเทียม และมีโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม เว้นเสียแต่ว่าทางบ้านของเด็กจะให้หยุดเรียนเพราะปัญหาภาระค่าใช้จ่าย”  รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสันติคีรีกล่าว

อย่างไรก็ตามยังมีเด็กที่ยังไร้สัญชาติในตำบลแม่สลองนอก ที่ยังไม่ได้สำรวจ "อริยะ เพ็ชรสาคร" นักกฎหมายจากมูลนิธิพัฒนาชุมชนละเขตภูเขา (พชภ.) เล่าว่าจากการสำรวจ บุคคลของเด็กแรกเกิด -20 ปี ครั้งล่าสุดของตำบลแม่สลองนอก พบผู้มีปัญหาสถานะบุคคลแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ไม่มีเอกสารเกิดในประเทศไทยจำนวน 5 ราย ไม่มีเอกสารเกิดนอกประเทศไทย จำนวน 17 ราย มีเอกสารทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (แบบ 89/1) จำนวน 5 ราย เด็กเกิดใหม่มีบัตรบุคคลไม่มีสัญชาติไทย (บัตรหัว0) จำนวน 9 ราย ซึ่งพชภ.จะร่วมมือกับส่วนท้องถิ่นแล้วเร่งรัดสำรวจ แม้พ่อแม่จะเป็นบุคคลไร้สัญชาติเด็กและเยาวชนก็จะได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน (เพราะเกิดในประเทศไทย) ตามมาตรา 7 ทวิ วรรค 1 พระราชบัญญัติสัญชาติ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิต่อไป

โดยระยะสั้นต้องทำให้เด็กมีเลข 13 หลักก่อน ต่อด้วยเร่งดำเนินการผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการให้เด็กมีเลขบัตร 0 หรือเด็กที่เข้ามาใหม่ต้องมีการสำรวจ และลงรายการทะเบียนราษฎร์ไทย ระยะกลาง เมื่อเด็กมีเลขบัตรประจำตัว 13 หลัก มีข้อเท็จจริงในสถานที่เกิด ถ้าเกิดในไทย ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ว่าด้วย ร่างกฎกระทรวงกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดใน ราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ. .... เปิดโอกาสให้เด็กที่เรียนในไทย เกิดในไทย พ่อแม่อพยพเข้ามาอยู่ในไทย ก่อนยืนคำร้อง 15 ปี สามารถยืนคำร้องได้

พชภ.หนุนเด็กแม่สลองไร้สัญชาติ ได้ศึกษา-คุณภาพชีวิตเท่าเทียม

ส่วนเด็กที่เกิดนอกประเทศไทยต้องดูต่อว่ารัฐบาลจะให้ดำเนินการอย่างไร หากอยู่ในสถานศึกษาของไทยจะได้สถานะใด ส่วนระยะยาวคือผลักเด็กทุกชาติพันธุ์ให้เข้าสู่สถานะตามกฎหมาย ถ้าหากสามารถแก้ไขปัญหาได้ เด็กมีความมั่นคง ชาติก็มั่นคง เพราะเด็กเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศไทย

"สิทธิที่เด็กขาดชัดเจนอย่างหนึ่งคือสิทธิในการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาทำให้ไม่สามารถเรียนต่อได้ในระดับที่สูงถึงอุดมศึกษาแต่ถ้าพ่อแม่ มีกำลังทรัพย์ก็สามารถส่งเสียให้เรียนจบได้แม้ว่าไม่มีสัญชาติก็ตาม

น้องทราย-นราธร หวุ่ยยือ อายุ 12 ปี ชาติพันธุ์อาข่า นักเรียนชั้นป.6 ร.ร.พนาสวรรค์ อ.เดียวกัน หนึ่งในเยาวชนที่ไม่มีสัญชาติ แม้ว่าจะเกิดที่โรงพยาบาลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เพราะพ่อกับแม่เป็นพม่า ปัจจุบันถือเพียงบัตรสีชมพู(บัตรขึ้นต้นด้วยเลข7 ) ทำให้ไม่สามารถไปนอกเขตจังหวัดเชียงรายได้ แต่โรงเรียนพนาสวรรค์เร่งดำเนินเรื่องเพื่อให้มีบัตรประจำตัว 13 หลัก เพราะจะช่วยคลายกังวล เพื่อช่วยให้สามารถทำตามความฝันอยากเป็นผู้ช่วยดารา ออกไปทำงานหาเงินส่งเสียทางบ้่านได้เป็นจริง เพราะมีความสามารถพูดภาษาจีนกลางได้

พชภ.หนุนเด็กแม่สลองไร้สัญชาติ ได้ศึกษา-คุณภาพชีวิตเท่าเทียม

จุฑามาศ ราชประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาชุมชนละเขตภูเขา (พชภ.) กล่าวว่าเวทีเสวนาสถานการณ์ปัญหาสถานะบุคคล สะท้อนปัญหาและเสนอแนะการหาทางออกต่อเรื่องดังกล่าว ให้เด็กและผู้ปกครองที่พามาเพื่อให้รู้ว่า จะมีช่องทางไหนจัดการดำเนินการ ในเรื่องบุคคลที่ยังไร้รัฐ เพราะในพื้นที่แม่สลองมีเด็กที่ยังไร้สถานะทางบุคคลจำนวนมาก

นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) กล่าวว่าหน่วยงานระหว่างประเทศ The UN Refugee Agency (Thailand) (UNHCR) ว่าเด็กในประเทศไทยจะไม่ไร้รัฐ เพราะประเทศไทยมีเครือข่ายที่เข้มแข็งมากถึง 32 องค์กร ในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ให้เป็นจริง

0 อภิญญา พวงมณี 0 มมส 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ