Lifestyle

ไล์ฟสไตล์การกินพืชผักธัญพืชเพื่อเด็กแพ้ง่าย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไล์ฟสไตล์การกินเพื่อเด็กตั้งแต่6เดือน-วัยเด็กเล็กที่แพ้ง่าย ระบุอาหารแบบพืช-ผัก-ธัญพืช ช่วยให้ลูกกระตือรื้อร้นและฉลาดขึ้น วิจัยชี้ไอคิวเฉลี่ยมากถึง 116

 

         สำหรับคุณพ่อคุณแม่ แน่นอนว่าสิ่งที่อยากให้ลูกน้อยได้รับประทานนั้น เราต้องแน่ใจแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ให้คุณค่าทางสารอาหารได้ครบถ้วนที่สุด และต้องไม่ทำให้ลูกแพ้ด้วย อย่างไรก็ตาม อาหารที่ทำให้ทารกและเด็กเล็กเกิดอาการแพ้กันบ่อยนั้น มักเป็นอาหารง่ายๆ ใกล้ตัวที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน เช่น นมวัว ถั่ว แป้งสาลี ไข่ขาว อาหารทะเล หรืออาหารแปรรูปต่างๆ นอกจากนี้ทั้งสารเคมีและสารปนเปื้อนในอาหารก็เป็นอีกปัญหาหนักอกสำหรับพ่อแม่หลายๆ ท่านที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยทารกตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึงวัยเด็กเล็ก

ไล์ฟสไตล์การกินพืชผักธัญพืชเพื่อเด็กแพ้ง่าย

          คำถามคือ เราจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ลูกแพ้ได้อย่างไร และจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารชนิดใดบ้างที่ปลอดภัย ไม่ทำให้ลูกเกิดอาการแพ้และควรให้ลูกรับประทานอาหารชนิดใดเป็นการทดแทนเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

          หนึ่งในทางแก้สำหรับอาการแพ้อาหารในเด็กที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด ก็คือ การรับประทานอาหารแบบPlant-based, whole food(PBWF) อันหมายถึงแนวทางการรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก โดยพืชผักหรือธัญพืชที่รับประทานต้องไม่มีการสกัด ไม่มีการขัดสี และไม่มีการแปรรูปใดๆ 

 

      

       ไล์ฟสไตล์การกินพืชผักธัญพืชเพื่อเด็กแพ้ง่าย

          คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้ลูกรับประทานอาหารPBWFได้หลายวิธี โดยเริ่มได้ตั้งแต่วัยทารกเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากอาหารPBWFจะช่วยป้องกันอาการแพ้ของลูกและช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวแล้ว อาหารแบบPBWFยังช่วยให้ลูกกระตือรือร้นและฉลาดขึ้นด้วย

          เหตุผลที่ควรให้ลูกเริ่มต้นรับประทานอาหารPBWF ตั้งแต่ยังเล็ก? เพราะPBWF ทำให้ลูกมีความเสี่ยงในการแพ้อาหารลดลง

          แนวทางการรับประทานอาหารแบบPBWFหรือการรับประทานอาหารพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาตินั้น หมายถึงการลดการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารแปรรูป หรือแป้งสาลี ดังนั้น เด็กที่รับประทานอาหารตามแนวทางPBWFก็จะมีปัญหาเรื่องอาการแพ้ และปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารน้อยลง

          -อาหารในหมวดPBWF มีสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณที่น้อยมาก

          เมื่อลูกวัยทารกอายุครบ 6 เดือนขึ้นไปควรให้เริ่มทานอาหารPBWFเพราะมีสารก่อภูมิแพ้น้อยกว่าอาหารทั่วๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น ข้าวกล้องบด หรือข้าวกล้องบดผสมผักผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น แครอท ผสมกล้วย หรือฟักทอง

        -PBWF ทำให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้นภายในเวลา 4 สัปดาห์เท่านั้น

          วารสารกุมารเวชศาสตร์ในสหรัฐอเมริการะบุว่า เด็กที่รับประทานสารอาหารพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงอาหารธรรมชาติกลุ่มโฮลฟู้ดที่เน้นพืชผักผลไม้ (Plant-based, whole food) นั้น มีน้ำหนักและค่าความดันโลหิตที่ลดลง รวมทั้งมีค่าโคเลสเตอรอลอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นภายในเวลาเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้น

          -การรับประทานอาหาร PBWF มีส่วนทำให้เด็กมีไอคิวสูงกว่าค่าเฉลี่ย

          จากผลการศึกษาในปี 1980 ของนักโภชนาการจากศูนย์การแพทย์นิว อิงแลนด์ในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา นักวิจัยได้วัดไอคิวของเด็กที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ และพบว่าเด็กที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ รวมทั้งเด็กที่ทานเนื้อสัตว์น้อยแต่ทานพืชผักมากนั้นมีค่าไอคิวเฉลี่ยมากถึง 116 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป1

          -การรับประทานอาหารPBWF ทำให้เด็กมีรูปร่างที่ได้สัดส่วน

          จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับโรคในเด็กแห่งสหรัฐอเมริกา (American Journal of Diseases of Children) เมื่อปี 1990 พบว่า หลังจากการศึกษาระยะยาวเป็นเวลา 2 ปี ในนักเรียนอายุ 6-18 ปี จำนวน 2272 คน พบว่านักเรียนที่ทานอาหารมังสวิรัตินั้นมีรูปร่างที่ผอมกว่า2

          แม้ว่าการรับประทานอาหารPBWFจะมีข้อดีมากมาย คุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ยังคงกังวลว่าการรับประทานอาหารตามแนวทางดังกล่าวอาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารPBWFนั้นไม่จำเป็นต้องให้ลูกงดการทานเนื้อสัตว์ไปเลย แค่เพียงลดปริมาณของเนื้อสัตว์กับอาหารแปรรูปให้น้อยลง และรับประทานอาหารที่เน้นผักผลไม้และธัญพืชเป็นหลักให้มากขึ้น นอกจากนี้การรับประทานอาหารPBWF นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ผักใบเขียว หากให้ลูกรับประทานผักและธัญพืชหลากหลายชนิด ลูกก็จะได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น การได้รับโปรตีนจากถั่วฝักเมล็ดกลม (peas)ถั่วฝักเมล็ดไม่กลม (bean)ถั่วเลนทิล (Lentil)คาร์โบไฮเดรตจากธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีแต่น้อย (whole grains)โดยเฉพาะข้าวกล้อง และไขมันจากอะโวคาโด มะกอก ถั่วเปลือกแข็ง (nut)เมล็ดพืช

         ยกตัวอย่างเมนูอาหาร Plant based, Whole food diet สำหรับทารกและเด็กเล็ก วัย 6 เดือนขึ้นไป

        -สูตรAบำรุงสายตาให้ลูกน้อย

          ฟักทองประกอบไปด้วยวิตามินเอและแคโรทีนอยด์ ซึ่งช่วยบำรุงสายตาและทำให้การมองเห็นในที่ที่มีแสงน้อยดีขึ้น หากรับประทานข้าวกล้องบดผสมกับฟักทอง นอกจากลูกจะได้รับวิตามินบีหลายชนิดจากข้าวกล้องบดแล้ว ยังช่วยบำรุงสายตาให้ลูกรักของคุณไปด้วยในตัว

       -สูตรBกระตุ้นระบบย่อยอาหารของลูกน้อย

         หากลูกคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ลองให้ทานข้าวกล้องบดผสมแครอท เพราะการรับประทานแครอทนั้นช่วยให้ลูกมีระบบขับถ่ายที่ดีขึ้น เมื่อผสมแครอทกับข้าวกล้องบดซึ่งประกอบด้วยไฟเบอร์สูง ก็ยิ่งช่วยกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายของลูกน้อยดีขึ้นอีกทวีคูณ

          -สูตรCเพิ่มพลังให้ลูกรัก

          กล้วยนั้นอุดมไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติมากถึง 3 ชนิด ได้แก่ฟรุคโทส ซูโครส และกลูโคลส ทำให้ลูกได้รับพลังงานจากน้ำตาลธรรมชาติ นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตในกล้วยยังเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานได้ทันที เมื่อให้ลูกทานข้าวกล้องบดผสมกับกล้วย ลูกก็จะได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตอย่างเต็มเปี่ยมแน่นอน

ไล์ฟสไตล์การกินพืชผักธัญพืชเพื่อเด็กแพ้ง่าย

          หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ทารกวัย 6 เดือนขึ้นไปจนถึงเด็กเล็กเริ่มรับประทานอาหารPBWF เพื่อความปลอดภัยและเพื่อให้ลูกรักได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ก่อนเลือกผลิตภัณฑ์หรืออาหารPBWFให้ลูกทาน ควรเช็คก่อนว่าอาหารหรืออาหารเสริมดังกล่าวไม่ได้ผ่านการสกัด การขัดสี และการแปรรูปใดๆ รวมทั้งต้องเป็นผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิค100%ด้วย

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ