Lifestyle

“ระดมทุนเชิงบวก” ผ่านโซเชียล เพื่อเด็กและเยาวชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“ระดมทุนเชิงบวก” ผ่านโซเชียล เพื่อเด็กและเยาวชน เครือข่าย รร.- CSR “สสค.-เทใจดอทคอม-ทรู”นำร่อง 6 นวัตกรรม ส่งเสริมแนวคิดทางเลือกสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

 

          ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้ช่วยผู้จัดการด้านวิจัยและนโยบาย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)กล่าวถึงความก้าวหน้าในความร่วมมือของ สสค.และเทใจดอทคอม หลังจากร่วมกันเปิดพื้นที่กลางที่จะช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่างๆ ผ่านhttp://taejai.com/projects/qlf  ที่จะเชื่อมคนใจดีทุกคน องค์กรพัฒนาสังคม และภาคเอกชน ด้วยการสร้างเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ให้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการต่างๆ ของเครือข่ายโรงเรียนที่สสค.ทำงานร่วมให้เกิดการต่อยอด

“ระดมทุนเชิงบวก” ผ่านโซเชียล เพื่อเด็กและเยาวชน

       ดร.ไกรยส ภัทราวาท

       โดย 6 โครงการแรก ทางสสค.ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการร่วมกับโรงเรียนนำร่องที่เข้าหลักเกณฑ์ คือ 1) มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น ความขาดแคลนด้านโครงสร้างและความจำเป็นพื้นฐาน 2) โครงการที่มีนวัตกรรมควรค่าต่อการต่อยอดและขยายผล 3) โครงการที่สร้างให้เกิดความยั่งยืน และ 4) มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบชัดเจนพร้อมรายงานผลการทำงาน

          “สำหรับความร่วมมือนี้ จะเป็นโครงการระยะยาวที่สสค.ทำร่วมกับเทใจดอทคอม โดยทางสสค.จะทำหน้าที่เชื่อมเครือข่ายภาคการศึกษาเพื่อคัดกรองโรงเรียนตามหลักเกณฑ์ในเบื้องต้น และร่วมกับเทใจดอทคอมในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนให้เข้มแข็งพร้อมที่จะระดมทุน อีกทั้งเรายังร่วมกันติดตามความคืบหน้าโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์เป็นระยะๆ รวมถึงนำโมเดลที่สำเร็จไปต่อยอดและขยายผลต่อไป 6 โครงการนี้ จึงเป็นเพียงตัวอย่างนำร่องที่แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และ Social Enterprise เป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้อย่างมาก ดังนั้น หน่วยจัดการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในสังกัดใด หน่วยงานใด หรือบุคคลใด ที่สนใจส่งโครงการกับเรา สามารถส่งได้ที่[email protected]

“ระดมทุนเชิงบวก” ผ่านโซเชียล เพื่อเด็กและเยาวชน

     นางสิรินาท ต่อวิริยะเลิศชัย 

     นางสิรินาท ต่อวิริยะเลิศชัย ที่ปรึกษาเว็บไซต์เทใจ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของความร่มมือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีโรงเรียน 3 แห่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ทำให้ รร. เสียหายต้องไปจัดการเรียนการสอนชั่วคราวที่วัด เว็บไซต์เทใจจึงเข้ามามีส่วนร่วมกับทาง สสค.เพื่อระดมทุนเร่งด่วนทั้งอาคารสถานที่ ห้องน้ำ อุปกรณ์การเรียนการสอน ดังนั้น จึงมีหลายพื้นที่ที่อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินต้องการช่องทางเข้ามาช่วยเหลือ

        โดยสสค.เป็นองค์กรทำงานด้านการศึกษา ซึ่งให้การสนับสนุนวัตกรรมทางด้านการศึกษา ส่วนทางเทใจดอทคอมต้องการสนับสนุนให้ รร.นำนวัตกรรมทางการศึกษาไปต่อยอดขยายผล เพราะเชื่อว่าหากเครื่องมือเหล่านี้ถูกส่งไปใช้ในพื้นที่ต่างๆ จะเกิดความยั่งยืน แก้ไขปัญหาได้ถูกจุดมากขึ้น

       “วันนี้ เป็นการทำงานที่ได้เพื่อนเพิ่ม สสค.เชื่อม รร.ที่ขาดแคลน มีนวัตกรรมที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนขยายผล ส่วนเทใจดอทคอมทำหน้าที่เชื่อมโลกออนไลน์ โดยเปิดโอกาสให้ รร.ส่งโครงการเข้ามาตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเกิดการระดมทุนเชิงบวกสนับสนุนเรื่องการศึกษาที่หล่อหลอมให้คนออกมาพัฒนาสังคม ดังนั้น ถ้าคนไทยมาร่วมกันปูพื้นฐานให้กับประเทศ โดยเด็กเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งถือเป็นการต่อยอดแก้ไขปัญหาการศึกษาในระยะยาว ดังกรณีตัวอย่าง 1 ใน 6 โครงการที่เสนอเข้ามาร่วม เช่น โครงการมัลติพอยท์สื่อการสอนที่มาลบคำว่า “ขาดแคลน” โครงการนี้เกิดจากความไม่พร้อมขาดแคลนคอมพิวเตอร์ เพราะโดยทั่วไป คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้ได้ 1 คน แต่สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว แต่ครูใช้ความสามารถส่วนบุคคลร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถใช้ได้ถึง 40 คน สามารถลบข้อจำกัดของคำว่าขาดแคลนได้ ดังนั้น หากมีนวัตกรรมลักษณะนี้เกิดขึ้นใน รร. หรือการศึกษาทางไกลที่ทำให้นักเรียนเข้าถึง ฉะนั้น รร.ไหนมีครูสอนสนุก นวัตกรรมดีๆ ก็สามารถออนไลน์แลกเปลี่ยนการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ได้” นางสิรินาทกล่าว

        นางสิรินาท กล่าวต่อไปว่า การใช้โซเชียลอย่างเป็นประโยชน์ก็จะเกิดประโยชน์กับทุกคน เมื่อเด็กมีไอเดียอยากทำ อยากรู้ อยากเปิดโลก แต่ขาดการสนับสนุน ขาดที่ปรึกษา ร หากเราสามารถใช้โซเชียลเป็นเครื่องมือสนับสนุน การแก้ไขปัญหาก็จะเร็วขึ้และตรงจุดมากยิ่งขึ้น  ฉะนั้นเรามองเป้าหมายโปรเจคนี้เป็นโปรเจคระยะยาวที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

“ระดมทุนเชิงบวก” ผ่านโซเชียล เพื่อเด็กและเยาวชน

นางสาวชลธิชา ชิดเชื้อวงษ์        

       นางสาวชลธิชา ชิดเชื้อวงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดหน่วยงาน ทรูปลูกปัญญามีเดีย ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งสำคัญประการแรกสังคมต้องทำความเข้าใจร่วมกันก่อนว่า การทำ CSR ในแต่ละองค์กรนั้นทำไปเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายใด หลังจากนั้นต้องเรียนรู้และสำรวจให้ชัดเจนว่าผู้รับต้องการได้รับการสนุบสนันในด้านใดบ้าง

        เช่น การที่ทรูมาทำเรื่องการศึกษา เพราะเล็งเห็นว่า ปัญหาการศึกษาเป็นต้นทางของการพัฒนาทุนมนุษย์ที่สำคัญ หากแก้ปัญหาการศึกษาได้สังคมก็จะดีขึ้น ดังนั้น โครงการทรูปลูกปัญญาจึงเน้นเรื่องการศึกษา คุณธรรม จริยธรรม พร้อมให้เครื่องมือ เพื่อไปต่อยอดพัฒนาถึงแหล่งความรู้ต่างๆ และไปปรับใช้เป็นรายกรณี ให้ตรงตามแต่ละปัญหา และความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน และโรงเรียนในแต่ละระดับ แต่ละพื้นที่

         “ที่ผ่านมาเรายังอาจจะยังเข้าไม่ถึงโรงเรียนที่ด้อยโอกาส ขาดความพร้อม ซึ่งเราไม่รู้ว่าเป็นใคร ขาดแคลนอะไร ดังนั้นการที่ สสค.ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาการ มีเครือข่ายทางการศึกษา และเทใจดอทคอมเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายโซเชียลมีเดีย และทรู มาร่วมมือร่วมใจกันในครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นสื่อกลางสนับสนุนให้ภาคเอกชนและ รร.ที่ต้องการการสนับสนุนช่วยเหลือพัฒนาได้มาเจอกัน เป็นการช่วยกันแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดตามแนวทางที่ รร.ต้องการ ซึ่งเป็นปัญหาที่คนนอกอาจจะมองไม่เห็น” น.ส.ชลธิชากล่าว

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ