Lifestyle

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

2ปี ปฏิรูปการศึกษายุค"คสช."ชู6ยุทธศาสตร์ 11จุดเน้น" ความพึงพอใจของ"ผู้บริหารร.ร.- ครู-บุคลากรทางการศึกษา" ยัง"ไม่โดนใจ"

          เหลียวหลัง

         เมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)โดยมีนโยบายด้านการศึกษาที่สำคัญ คือ รัฐบาลจะเอา การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจ ในประวัติศาสตร์ และความเป็นไทย มาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรมควบคู่กัน จัดให้มีการปฏิรูปการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้และอาชีพ ปลูกฝังค่านิยมจิตสำนึกที่ดี มีการอนุรักษ์ ทะนุบำรุง อุปถัมภ์ศาสนา และสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

          วันที่ 27 สิงหาคม 2558 พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) แถลงนโยบายด้านการศึกษา มีสาระสำคัญคือ ยุติความขัดแย้งและปฏิรูปประเทศไทย ส่วนการศึกษานั้นถือว่าเป็นพื้นฐานการปฏิรูปทุกเรื่อง เช่น การน้อมนำกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9มาใช้ในหลักการ“ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู”นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายเกี่ยวกับค่านิยมอาชีวะ การขยายโครงการธนาคารขยะในสถานศึกษา

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

          ส่วนการศึกษานอกระบบ มีการกำหนดให้ กศน.ตำบลเป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อน ประสานงาน“บ้าน-วัด-โรงเรียน”กำหนดแนวทางการทำงานที่สำคัญ คือ Hit the point หมายถึงทุกงานต้องมีการฉีกปัญหาให้ขาด ตีโจทย์ให้แตก Dynamic หมายถึงการขับเคลื่อนงานตลอดเวลา หยุดไม่ได้ และ Lively คือการทำงานแบบมีชีวิตจิตใจ ซึ่งการทำงานแบบนี้ ผู้ร่วมงานต้องมีความเข้าใจเนื้อหาตรงกัน

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

แลหน้า

          ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม 2559 กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ได้ประกาศ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีสาระสำคัญ 6 ยุทธศาสตร์ 11 จุดเน้น เพื่อปฏิรูปการศึกษา เป็นกรอบแนวทางการทำงานและการจัดกระบวนทัพ ในการจัดกิจกรรม การเรียน การสอน ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและศธ.ได้จัดงบประมาณเร่งด่วนให้การศึกษาระดับขั้นพื้นฐานลงสู่เขตการศึกษาละ 10 ล้านบาทเพื่อนำไปพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เน้น 6 ยุทธศาสตร์่สำคัญ อาทิ 1.หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2.การผลิตและพัฒนาครู 3.การทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนา มาตรฐานการศึกษา 4.ผลิต พัฒนา กำลังคนและวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ 5.ICT เพื่อการศึกษา และ6.การบริหารจัดการ

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

          11 จุดเน้นที่สำคัญ 1.ภายใน 1 ปี : ให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพอย่างเท่าเทียม2.ภายใน5ปี:ส่งเสริมให้ครูใช้ศักยภาพในการสอนอย่างเต็มที่3.ภายใน 1ปี: จะทำให้ครูครบตามเกณฑ์ภายใน 2 ปี จะทำให้มีครูประจำชั้นครบทุกห้องภายใน 5-10 ปี : จะทำให้ครูสอนตรงตามสาขา4.ภายใน 2 ปี : จะทำให้เด็กเรียนท่องจำ ในสิ่งที่ควรจำ และนำสิ่งที่จำไปฝึกคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ครบทุกโรงเรียน5. ภายใน 5 ปี : จะทำให้มีการเรียน การสอน STEM Education (Science Technology Engineering Mathematics)ครบทุกโรงเรียน6.ภายใน 3 ปี : ยกระดับภาษาอังกฤษให้นักเรียนสามารถใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้7.ภายในปี 2560 : ปรับระบบการสอบ O–NET ให้เป็นที่ยอมรับและสะท้อนถึงคุณภาพการจัดการศึกษา8.ภายใน 10 ปี : จะผลิตกำลังคน ให้ตรงกับความต้องการของประเทศ9.ผลิตคนดีสู่สังคม10.ภายในปี 2560 : ซ่อมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จ11.แก้ปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

      ที่กล่าวมาเบื้องต้น เป็นการ"เหลียวหลัง และ แลหน้า”การปฏิรูปการศึกษา ยุค คสช.ระยะเวลา 2 ปีเศษ ซึ่งศธ.ได้มีการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยกลไกระบบราชการปัจจุบัน การดำเนินงานยังไม่บรรลุดเป้าหมาย เพราะศธ.มีการเคลื่อนตัวเร็วเกินไป ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนมากบอกว่า“เป็นนโยบายรายวันเปลี่ยนแปลงบ่อย”

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

          เหนืออื่นใด การปฏิรูปการศึกษาด้านการบริหารงานบุคคลในระดับภูมิภาค  ที่คสช.ได้ใช้มาตรา 44 ยุบ“คณะกรรมการ อ.ก.ค.ศ.” และ"คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา"เป็น"คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.)และอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(อกศจ.)จะเห็นได้ว่าจุดเน้น11ข้อ เน้นการบริหารงานบุคคลเป็นส่วนมาก ซึ่งในการปฏิรูปการศึกษานั้น การปฏิรูปครูต้องคู่กับงานวิชาการจึงจะประสบผลสำเร็จ เพราะว่าธรรมชาติของมนุษย์(ครู)ที่เป็นสัตว์สังคม ต้องการความก้าวหน้า ความมั่นคง ในชีวิตราชการการ สร้างขวัญ กำลังใจ รวมทั้งจัดสวัสดิการให้เหมาะสม สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นสิ่งที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องการ แต่เสียงสะท้อนจากครูฯ ทั้ง กศจ.และอกศจ.“สอบตก”

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

          4 ความคาดหวังจาก“กศจ.” 1.เพื่อการบูรณาการงานระดับพื้นที่ 2.เพื่อแก้ไขปัญหาการมีช่วงบังคับบัญชากว้าง 3.เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ และ4.เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงา แต่ทั้ง4เรื่องเดินหน้าไปไม่ได้ มีสาเหตุหลายประการ อาทิ ประธาน กศจ.ที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มีงานอื่นๆ มากอยู่แล้ว เมื่อมาทำหน้าที่การศึกษา ซึ่งมีระเบียบเกี่ยวข้องมากมาย ทำให้ไม่มีเวลาดูข้อมูล ไม่เข้าใจ ทำให้งานล่าช้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต1ทั่วประเทศ ที่ทำงานในนามศึกษาธิการ รวมทั้ง ผอ.เขตฯ งานหนักมากเพราะทำงานแทนเขตต่างๆทั้งประถมและมัธยม ทำให้ดูแลงบประมาณไม่ทั่วถึง เพราะผู้บริหารระดับสูงยุ่งกับงานบริหารบุคคล การทุจริตเชิงนโยบายยังมีอยู่

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.  

          กศจ.ควรมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake Holder)ในจังหวัด อาทิ กรรมการผู้แทน กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รมว.ศธ.แต่งตั้งต้องเป็นคนในจังหวัดนั้นๆ และปรับบทบาท ภารกิจ กศจ.ให้เป็น“องค์คณะบุคคลที่ทำงานบูรณาการเชิงพื้นที่”อย่างแท้จริง มีตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนครูมากขึ้น เพื่อสะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่รับทราบข้อมูลจากรายงานในกระดาษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)ต้องแต่งตั้งและจัดอัตรากำลังบุคคลากรโดยเร็ว และให้“ศธจ.”มีอำนาจบังคับบัญชาได้

          “เหลียวหลัง แลหน้า”การปฏิรูปการศึกษายุค คสช. จะเห็นได้ว่าความพึงพอใจของผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา “ไม่โดนใจ” บางครั้งกลับรู้สึกว่า มีนโยบายที่ “ทำลายขวัญ กำลังใจ”เช่น การประเมินวิทยฐานะ เพราะว่าข้าราชการครูส่วนมาก ยังกลัวคำว่า“การประเมิน การตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาตนเอง”

 

“เหลียวหลัง” “แลหน้า”การศึกษายุค คสช.

          อย่างไรก็ตาม พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความตั้งใจจริง ที่จะปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน สนับสนุนสื่ออุปกรณ์ให้ทันต่อโลกสมัยใหม่ และพัฒนาโรงเรียนไปสู่มาตรฐานสากล จะประสบผลสำเร็จหรือไม่ คนไทยทั้งประเทศจะเป็นผู้ให้คำตอบ

          0 นายกิตติ ทวยภา 0 รายงาน 

 ศึกษานิเทศก์ สพป.มหาสารคาม เขต 1

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ