Lifestyle

ผลศึกษาชี้ “เนื้อในลำต้นมะละกอ”ช่วยลดอาการปวดเข่าได้ดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผลศึกษาชี้ “เนื้อในลำต้นมะละกอ”ช่วยลดอาการปวดเข่าได้ดี รพ.คำม่วงใช้พอกในคนไข้เข่าเสื่อม อาการปวดลดลงอยู่ระดับปวดน้อยถึง 63 % 

     0 ติดตามข่าวสาร “การศึกษา สุขภาพ สาธารณสุข”แบบทันทุกเรื่องราวได้ที่เฟซบุ๊คเพจ “ข่าวศึกษา-สาสุข คมชัดลึก” https://www.facebook.com/Edu-health-kcl-1210988002299539/ 

        นพ.สมานมิตร อัฐนาค ผู้อำนวยการรพ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “การใช้สมุนไพรเนื้อในลำต้นมะละกอพอกลดอาการปวดบวมในโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม” ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2559 เมื่อเร็วๆนี้ว่า โรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย อาการส่วนใหญ่ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย โดยจากฐานข้อมูลเวชสถิติผู้รับบริการของรพ.คำม่วง พบว่า ผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2557 พบผู้ป่วยจำนวน 1,078 ราย ปี 2558 จำนวน 1,086 ราย และปี 2559 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 พฤษภาคม 2559 จำนวน 1,011 ราย กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ตนและคณะทำงานจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาการใช้สมุนไพรในการลดอาการปวด ซึ่งการรักษาด้วยการใช้เนื้อในลำต้นมะละกอถือเป็นแนวทางการรักษาที่ไม่ใช่การใช้ยาแผนปัจจุบัน แต่สามารถช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการใช้งานข้อเข่าให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมได้

       การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพอกสมุนไพรหเนื้อในลำต้นมะละกอในการลดอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมที่มารับบริการที่รพ.คำม่วง รูปแบบการศึกษาเป็นกึ่งทดลอง โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมที่มารับการรักษาที่รพ.คำม่วงและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม จำนวน 60 คน ประเมินอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมก่อนเข้ารับการรักษาอยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด หลังการรักษาครั้งที่ 3 ประเมินอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมลดลงระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ซึ่งการรักษาจะใช้เนื้อในลำต้นมะละกอพอกไว้ที่เข่าเป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อครั้ง ทำติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นประเมินอาการปวด

       “ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม จำนวน 60 คน ส่วนใหญ่เป็นเพสหญิงร้อยละ 83 มีอายุระหว่าง 70-79 ปี ร้อยละ 50 จากการประเมินอาการปวดเข่าของผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม พบว่าคะแนนเฉลี่ยอาการปวดก่อนการรักษาครั้งแรกอยู่ที่ระดับมากที่สุด 8-10 คะแนน ร้อยละ 60 และหลังการรักษาครั้งที่ 3 มีค่าคะแนนเฉลี่ยอาการปวดลดลงอยู่ในระดับปวดน้อย 4-2 คะแนน ร้อยละ 63 และเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาอาการความเจ็บปวดลดลงเฉลี่ย 2-4 คะแนน ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมได้”นพ.สมานมิตรกล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ