Lifestyle

8 บุคคลในภาพถ่ายทอดความในใจรับใช้เบื้องพระยุคลบาท"พระราชินี"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดความในใจ 8 บุคคลในภาพทั้ง 8 มีโอกาสถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดงานเปิดตัว 8 บุคคลในภาพที่ได้มีโอกาสถวายงานรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขณะที่ทรงประกอบพระราชกรณียกทั้งในและต่างประเทศ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7รอบ12 สิงหาคม 2559

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวระหว่าง เป็นประธานเปิดงานและมอบภาพแห่งความทรงจำให้แก่บุคคลทั้ง 8ว่า  วธ.สำนึกในพระกรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ที่ทรงประกอบพระกรณียกิจนานัปการ เพื่อพัฒนาประเทศไทยในหลากหลายด้าน ที่ล้วนแต่สร้างความผาสุกและความปลื้มปีติแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7  รอบ12  สิงหาคม 2559 และเผยแพร่พระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่าในด้านต่างๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ วธ.โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินโครงการตามหาบุคคลในภาพแห่งความทรงจำ  เพื่อให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ อันเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สืบสานสร้างสรรค์ งานมรดกวัฒนธรรมของชาติต่อไป

นางดอกไม้ คำวงษ์ ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรม บุคคลในภาพที่ 1 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2523 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงหยอดตาพระราชทานแก่เด็กซึ่งมารับการตรวจรักษาจากแพทย์ที่โดยเสด็จพระราชดำเนิน ระหว่างการทรงเยี่ยมราษฏรบ้านหนองม่วง อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร  กล่าวว่า ขณะเข้าเฝ้าฯบุตรสาววัย 5 เดือน 22วัน มีอาการตัวร้อนเป็นไข้สูง พระองค์ทรงใช้ผ้าประคบหน้าผากบุตรสาวเพื่อลดอาการไข้พร้อมทรงหยอดตา และรับเป็นคนไข้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รับการดูแลจากแพทย์และพยาบาลอย่างดีจนหายเป็นปกติ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาล พระองค์ทรงพระราชทานข้าว อาหารเครื่องนุ่งห่ม และเงินสดจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันบุตรสาวอายุ 37 ปีพระองค์ทรงรับเป็นสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านทรายทอง(กลุ่มปักผ้า) เพื่อสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัวหลังเสร็จฤดูทำนา

“ รู้สึกดีใจมากจนพูดไม่ออก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ทางครอบครัวขอเทิดทูนพระองค์ไว้เหนือเกล้าฯตราบชีวิตจะหาไม่ “ นางดอกไม้ กล่าว

นางคำใหม่ โยคะสิงห์ ปัจจุบันประกอบอาชีพแม่บ้าน  บุคคลในภาพที่ 2 เมื่อวันที่ 29  พ.ย. 2525 สมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภูไท ตำบลบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์บุคคลในภาพ  กล่าวว่า  ในภาพนี้ เป็นหารเข้าเฝ้าฯรับเสด็จครั้งที่ 3 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มาที่บ้าน  หลังจากที่เคยไปเข้าเฝ้าฯครั้งแรก ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาที่บ้านดงสวน  สามีซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดการศึกษาของอำเภอคำม่วง ทาเฝ้ารับเสด็จ ตนจึงมาด้วย และได้ใส่ผ้าแพรววาเป็นสไบพาดมา  พอพระองค์เห็นสไบผ้าแพรวา ก็ทรงตรงเข้ามาสอบถามเรื่องผ้า วันรุ่งขึ้นก็ให้ราชเลขาฯ เอาเส้นไหมมาให้ 6 กิโลกรัม แล้วบอกว่า ให้ทอผ้าให้สมเด็จ  จากนั้น ตนก็รวบรวมชาวผ้าชวนกันทอผ้าแพรวาจนเสร็จ 12 ผืนใช้เวลา 1 ปี แล้วพากันไปเข้าเฝ้าฯถวายผ้าที่พระราชวังไกลกังวล  พอพระองค์เห็นผ้าแล้ว ก็นำขึ้นมาพาดไหล่ แล้วทรงรับสั่งสัญญาว่า จะเสด็จมาหาคำใหม่ที่บ้าน

“พระองค์ทรงนำผ้าที่ถวายไปตัดเป็นฉลองพระองค์ แล้วเสด็จเป็นการส่วนพระองค์มาที่บ้านจริง ๆ ซึ่งก็คือเหตุการณ์ในภาพ รู้สึกดีใจมาก เหมือนเทวดามาโปรด ทรงขึ้นบ้านไปประทับบนเสื่อ นั่งคุยด้วยอย่างเป็นกันเอง  ไม่ถือพระองค์ หลังจากนั้น ก็มีโอกาสเข้าเข้าเฝ้าฯ ทุกปี  ทั้งยังทรงให้ทุนการศึกษาแก่ลูก 3 คนจนจบปริญญาตรี”นางคำใหม่ กล่าว

นางคำใหม่ กล่าวต่อว่า ครั้งที่เสด็จเยี่ยมที่บ้านโพนเป็นการส่วนพระองค์นั้น  ได้ทอดพระเนตรการแสดงฟ้อนผู้ไทย และทรงฉายพระรูปร่วมกับตนและชาวบ้านทำให้ทุกคนดีใจมาก พร้อมมีรับสั่งว่าไม่อยากกลับเลยอยู่ที่นี่แล้วสนุก และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทำให้ผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยที่กำลังจะสูญหายได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จนได้รับฉายาผ้าไหมแพรวาราชินีแห่งไหม ส่งผลให้ชาวผู้ไทยบ้านโพนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นางจันทร์ฉาย ดวงใจ ปัจจุบันประกอบอาชีพครู ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ บุคคลในภาพที่ 3  เมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2535 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชทานภาพพุทธประวัติแก่ผู้แทนครู เพื่อนำไปประกอบการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กนักเรียน ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนวัดยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

นางจันทร์ฉาย กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จฯ  ซึ่งครั้งนั้น พระองค์เสด็จด่วนเพราะใกล้ปิดภาคเรียน  ทั้งนี้ พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมโรงเรียน ประชาชน และตรงมาหาคณะครูและทรงมอบสื่อการสอนชุดพุทธประวัติให้

“ครั้งนี้พระองค์ทรงตรัสถามว่า สบายดีมั้ย รู้สึกว่า เป็นเสียงที่ไพเราะที่สุดในชีวิต และสร้างความปลาบปลื้มอย่างหาที่สุดเพราะที่นั่นเป็นพื้นที่ห่างไกล ในถิ่นทุรกันดาร เดินทางลำบาก พระองค์ก็ยังเสด็จไปเยี่ยม เป็นขวัญกำลังใจอย่างมาก  เหมือนคำพูดที่ว่าไม่มีพื้นที่ตรงไหนที่ในหลวงและราชินีไปไม่ถึง”นางจันทร์ฉาย กล่าว

นางจันทร์ฉาย กล่าวต่อว่า ส่วนตัวแล้วรักและเทิดทูนพระองค์อย่างสุด การที่พระองค์มอบสื่อการสอนให้นั้น จุดประกายให้เป็นครูที่ดี ใข้สื่อในการเรียนการสอน และการที่พระองค์พระราชทานสื่อพุทธประวัตินั้น  ทรงต้องการให้สอนเด็กให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ตนจึงตั้งใจพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และตั้งใจสอนเด็กให้เป็นคนดี

รศ.ศิริชัย หงษ์วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บุคคลในภาพที่ 4  เมื่อวันที่ 21  กุมภาพันธ์ 2540 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทอดพระเนตรแบบจำลองในโอกาสเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์เส้นทางขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ และพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี  ณ สนามเฮลิคอปเตอร์ ภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่

รศ.ศิริชัย กล่าวว่า เหตุการณ์ครั้งนั้น ผ่านมา 20 ปีแล้ว  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ได้รับพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้าถวายรายงานฯ เพราะขณะนั้น ม.แม่โจ้ กแงทัพบก และกรมป่าไม้  ร่วมมือกัยทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ 2 ข้างทางขึ้นดอกสุเทพ และพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์ป่าและพันธุ์ไม้ป่า ซึ่งเป็นโครงการที่พระองค์ท่านให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยได้พระราชทานแนวพระราชดำริและนำพสกนิกรปฏิบัติตลอดทุกปีที่ทรงเสด็จเยือนจังหวัดเชียงใหม่และประทับที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

“ในครั้งนั้น ได้เลือกดอกไม้ที่ทรงโปรดมาใช้ปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทรงโปรดดอกไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะดอกไม้ไทย  โดยได้เลือกดอกพญาเสือโคร่ง และดองโคสีขาว ซึ่งเป็นดอกไม้ป่าแถบดอกสุเทพมาใช้  ทั้งนี้  พระองค์เคยตรัสไว้ว่า ในหลวงเป็นป่า พระองค์เป็นน้ำ  ซึ่งป่า และน้ำ เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาป่าและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งตนได้เดินตามพระราชดำริในการทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมมาตลอด  ปัจจุบัน เราอาจได้ยินคำใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่น โลกร้อน และมีความพยายามต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่จริง ๆ ในหลวงของเรา ท่านได้ริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้วแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว”รศ.ศิริชัย ระบุ

นายสะมะแอ กะนิ ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรม บุคคลในภาพที่5 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2541 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทอดพระเนตรการประกวดผลิตภัณฑ์ของสมาชิกมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ ณ ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า  ในขณะนั้น ตนเป็นหนึ่งในสมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ และอยู่ในระหว่างฝึกการเขียนลายเส้นบนเรือกอและ ด้วยฝีมือการวาดลายเส้นที่สวยงามตนจึงถูกคัดเลือกให้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในวันดังกล่าว พระองค์ท่านได้ตรัสว่า "เรือกอและสวยงามมาก " เป็นครั้งแรกในชีวิตที่มีโอกาสใกล้ชิดสมเด็จพระราชินี รู้สึกปลาบปลื้มตื้นตันใจมาก  ไม่คิดว่าจะได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระองค์ท่านได้อย่างใกล้ชิด

นายอูเซ็ง สะแลแม ปัจจุบันประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง บุคคลในภาพที่6  เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2542 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทอดพระเนตรการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังตามพระราชดำริ  ณ บ้านปาตาตีมอ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า รู้สึกปลาบปลื้มมากที่ได้มีโอกาสใกล้ชิดพระท่าน ซึ่งพระองค์ได้เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ และส่งเจ้าหน้าที่มาคอยช่วยเหลือชาวบ้านอยู่ตลอด

นางวาสนา แก้วหานาม ปัจจุบันประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป บุคคลในภาพที่7 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเยี่ยมราษฎรในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านทรายทอง หมู่ที่ 11 ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า    นางวาสนา กล่าวว่า ได้รับคัดเลือกจากผู้ใหญ่บ้านให้เข้าเฝ้าเพราะมีฐานะยากจน พระองค์ได้พระราชทานผ้าสำหรับปักพร้อมอุปกรณ์และภาพตัวอย่างเป็นภาพดอกบัวอยู่กลางบึง 4ผืนให้นำไปปัก พร้อมรับสั่งว่าเป็นการบ้าน และยังทรงรับตนเข้าเป็นสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านทรายทอง กลุ่มปักผ้าทำให้ตนและครอบครัว รวมถึงชาวบ้านปลาบปลื้มและประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระองค์ได้พระราชทานความช่วยเหลือชาวบ้านที่ยากไร้ไม่มีที่ทำกินให้มีอาชีพ และมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

“ ในครั้งนั้น  พอทรงทราบว่า ไม่มีที่ทำกอร ก็ทรงรับสั่งถามว่า  จะไปอยู่ที่ภูพานมั้ย ทูลตอบไปว่า ไปไม่ได้ เพราะต้องดูแลแม่ ก็ทรงถามต่อว่า อยากทำงานมั้ย ทูลตอบ
ว่า อยากทำ พระองค์จึงให้มาฝึกปักผ้า และปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพบ้านทรายทอง  ยังความปลื้มปิติ ในสมเด็จทากที่ทำให้พวกเรามีอาชีพ "

ภาพที่ 8 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 สมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ณ พิพิธภัณฑ์เฟอล์กเคอร์คุนเดอ ณ นครมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีบุคคลในภาพ คือ คุณหญิง Barbara Margret Rose Riepl ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกงศุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ประจำนครมิวนิก สหพันธ์สาธารณารัฐเยอรมนี อย่างไรก็ตาม คุณหญิง Barbara ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน







 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ