Lifestyle

ทปสท.ชี้ต้องให้ความเป็นธรรมูกับบัณฑิตครู“มรภ.นครราชสีมา”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประธาน ทปสท.ชี้“มรภ.นครราชสีมา-คุรุสภา”ต้องให้ความเป็นธรรมกับ“บัณฑิตครูภาคพิเศษ” เผยกระแสเรียนครูฟีเวอร์เมื่อปี54 ทำให้มหาลัยแห่ผลิตครูเพิ่ม เปิดรับนศ.เกินจำนวน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย(ทปสท.) กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มบัณฑิตคณะครุศาสตร์ หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) โครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) รุ่นที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 300 คน ได้ด้ยื่นหนังสือเพื่อให้เยียวยากรณีที่จบการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 แต่ไม่สามารถรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ โดยมหาวิทยาลัยให้เหตุผลว่าคุรุสภาไม่รับรองหลักสูตร นั้นว่า  เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของมรภ.นครราชสีมาและคุรุสภา  ความจริงปัยหานี้ตนเคยเสนอที่ประชุมสภามรภ.นครราชสีมามาก่อน แต่นายกสภาฯกลับสอบถามถึงม.44จะกระทบมรภ.นครราชสีมาหรือไม่ จากนั้นนักศึกษา กศ.ปช.รุ่นที่ 15ก็ได้มาร้องเรียนกับ สปสท.

“สาเหตุน่าจะมาจากกระแสนิยมเรียนครูเมื่อปี 2554 ทำให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเกือบทุกแห่งเปิดรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ ในจำนวนที่มากเกินกว่าแผนที่แต่ละมหาวิทยาลัยได้เสนอขออนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อผู้เรียนต้องการเรียนมากขึ้น มหาวิทยาลัยก็แห่รับจำนวนมากขึ้น จนกระทั่งเมื่อมีการร้องเรียนคุรุสภาถึงได้มาออกเกณฑ์ควบคุมเมื่อปี2557 เป็นการออกเกณฑ์ภายหลังจากที่เกิดปัญหาแล้ว ดังนั้น ทั้งมหาวิทยาลัยที่รับนักศึกษาเกินและคุรุสภาควรร่วมมือรับผิดชอบ และให้ความเป็นธรรมกับผู้เรียน” ประธาน ทปสท. กล่าว

ประธาน ทปสท. กล่าวอีกว่า บัณฑิตครู กศ.ปช.รุ่นที่ 15 เมื่อสำเร็จการศึกษาจะไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู(ตั๋วครู) แต่จะได้รับใบอนุญาการสอนหรือใบอนุญาตฯชั่วคราว อีกทั้งบัณฑิตกลุ่มนี้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อเป็นค่าเทียบโอนสมรรถนะครู ตกคนละประมาณ 2,700 บาท ส่วนบัณฑิตครูที่เรียนภาคปกติทุกคนจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทุกคน ทำให้กลุ่มผู้ร้องมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งที่เรียนในหลักสูตรเดียวกัน  

“ทสปท. จะติดตามและดูแลเรื่องนี้ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับ บัณฑิตครูและคณาจารย์และประชาคม มรภ.นครราชสีมา” ผศ.ดร.รัฐกรณ์ กล่าวในที่สุด

   ผศ.ดร.รัฐกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณี ม. 44 ที่ออกมาเพื่อจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ว่าอาจจะใช้แก้ปัญหาสถาบันอุดมศึกษาที่มีความขัดแย้งรุนแรงเฉพาะหน้าได้เท่านั้น แต่จะคาดหวังการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดในสถาบันอุดมศึกษาคงยาก เพราะดูแล้วยังกล้า ๆ กลัว เช่น กรณีการกำหนดให้แต่งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกสภาไม่เกิน 3 แห่ง และกรรมการสภาไม่เกิน 4 แห่งซึ่งคิดว่ามากเกินไป ไม่ควรเกิน 2 แห่งโดยไม่กำหนดวาระ และอายุ ทั้งที่การอยู่ที่ใดนานเกินไปจะทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์นำไปสู่สภาเกาหลัง 

“ส่วนอายุก็เป็นอุปสรรค ในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะนายกสภาหลายแห่งอายุมากไม่สามารถเดินทางไปประชุมได้ต้องขนกรรมการเข้ามาประชุมที่กรุงเทพฯ และไม่ห้ามนายกสภาไปดำรงตำแหน่งที่อธิการบดี ที่สำคัญภาพโดยรวมเป็นการมอบอำนาจแทบทั้งหมดไปให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) เป็นผู้ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่กำหนดข้อห้ามมิให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา ไปเป็นนายกสภาและกรรมการสภา ซึ่งหลายคนเป็นอยู่”ผศ.ดร.รัฐกรณ์ ตั้งข้อสังเกต

ผศ.ดร.รัฐกรณ์  ตั้งข้อสังเกตอีกว่า ในข้อ 4 ให้ กกอ. รายงานความผิดของสภาหรือสถาบันแต่ข้อ 7 กลับให้สภาหรือสถาบันเป็นผู้ดำเนินการทางอาญา ทางละเมิด หรือทางวินัยกับตัวเอง อันนี้อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติในอนาคตไดเอย่างแน่นอน 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ