Lifestyle

การช่วยชีวิตและการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดูแลสุขภาพ : การช่วยชีวิตและการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ

               ข่าวการเกิดอุบัติเหตุในเด็กเล็กมีให้เห็นบ่อยครั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการจมน้ำ อุบัติเหตุบนท้องถนน ถูกล็อกติดอยู่ในรถ การสำลักเนื่องจากมีวัตถุแปลกปลอม มีภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือเกิดภาวะช็อก หากได้รับการรักษาอย่างล่าช้า หรือไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุให้เด็กเสียชีวิตได้ ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ และศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ จึงได้จัดงาน “การช่วยชีวิตและการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ (กู้วิกฤติ ชีวิตเด็ก)” เพื่อร่วมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเด็ก พร้อมแนะวิธีการช่วยเหลือปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็กวิกฤติอย่างถูกวิธี ตลอดจนขอบเขตในการรักษาของหออภิบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความสูญเสียได้
               พญ.สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า อุบัติเหตุและภาวะวิกฤติ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา โรงพยาบาลกรุงเทพ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กวิกฤติในแต่ละสถานการณ์ ในประเทศไทยพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี คือ การจมน้ำ เมื่อเทียบกับทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ และเป็นอันดับ 3 ของโลก เด็กจมน้ำ มักเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงภายในบ้าน เช่น จมถังน้ำ อ่างอาบน้ำ กะละมัง หรือไม่ก็อาจจะจมน้ำในแหล่งน้ำรอบๆ บ้าน เช่น คูน้ำหลังบ้าน บ่อน้ำ หรือสระว่ายน้ำ เด็กที่จมน้ำจะขาดอากาศหายใจ หากเกิน 4-5 นาที สมองจะเกิดภาวะสมองตายซึ่งไม่สามารถกลับฟื้นได้ ทำให้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพตลอดชีวิต เด็กจมน้ำส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล 
               ดังนั้นทางที่ดีที่สุด พ่อแม่ควรป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์จมน้ำเกิดขึ้น และหากเกิดขึ้นเด็กจะต้องได้รับการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นที่ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด คือ การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) คือการช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) โดยการปั๊มหัวใจ ให้วางคนจมน้ำนอนราบ ตะแคงหน้าเอาน้ำออกจากปาก และใช้สันมือทั้ง 2 ข้างกดบริเวณกลางหน้าอก ลึกประมาณ 1.5-2 นิ้ว และช่วยในการเป่าปาก 2 ครั้ง ในกรณีมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ในเหตุการณ์) จนครบ 2 นาที และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน
               พญ.ดาริน บรรจงศิลป์ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ มีการเจ็บป่วยรุนแรง มีทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาทางอายุรกรรมและศัลยกรรม รวมทั้งผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุต่างๆ เช่น จมน้ำ พลัดตกหกล้ม การได้รับสารพิษ หรืออุบัติเหตุทางการจราจรต่างๆ ภาวะวิกฤติทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยเด็กทั่วไป ผู้ป่วยเด็กเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที บางรายต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ บางรายอาจจำเป็นต้องให้การปฏิบัติการกู้ชีวิต การรักษาจึงจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
               พญ.เสาวนีย์ ชัยศุภรัศมีกุล กุมารแพทย์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางโรงพยาบาลมีทีมแพทย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็กที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมหลักสูตร Pediatric Advanced Life Support (PALS) หลักสูตรสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ มีการเจ็บป่วยรุนแรง ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลกรุงเทพ จึงมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยเด็ก (Pediatric Transportation) ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งทางอากาศและทางบก โดยเน้นคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการส่งต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงและในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบาดเจ็บหลายระบบ
               คุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้ว่า ลูกรักจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด เพื่อกลับสู่อ้อมกอดที่อบอุ่นอีกครั้ง ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ ศูนย์สุขภาพเด็กที่คุณไว้วางใจ สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชม. ที่โทร.1719
โรงพยาบาลกรุงเทพ

..........................

               ร่วมมือ - พล.อ.ไชยพร รัตแพทย์ อนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นประธานในพิธี ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการ “กล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก” ระหว่าง กทพ. กับ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด โดยมี ณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการ กทพ. เป็นผู้ลงนามในสัญญา

การช่วยชีวิตและการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ
               โดยในครั้งนี้ กทพ. ได้นำโต๊ะ-เก้าอี้ที่ได้ส่งมอบให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน และมอบเงินสนับสนุนให้แก่โรงเรียนซึ่งอาคารเรียนได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหลัง รวมถึงสนับสนุนเงินและมอบทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนในจ.สระบุรีและชัยภูมิ เมื่อเร็วๆ นี้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ