Lifestyle

เปิดวิสัยทัศน์'สุทธิพันธ์'ผอ.สกว.คนใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สกว.จัดงาน 'สองทศวรรษ สกว. : ขอบคุณผู้บุกเบิก' เปิดตัว 'ศ.นพ.สุทธิพันธ์' ผอ.สกว.คนใหม่ พร้อมโชว์วิสัยทัศน์มุ่งดึงงานวิจัยลงสู่ชุมชนและท้องถิ่น


              4พ.ค.2456 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ได้มีมติแต่งตั้งศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สกว. สืบต่อจาก ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 นั้น

              เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงาน สกว. ได้จัดงาน “สองทศวรรษ สกว.: ขอบคุณ          ผู้บุกเบิก” ณ โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ ถนนรางน้ำ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อท่านผู้มีอุปการคุณ หลังจากที่ได้ดำเนินการสนับสนุนทุนวิจัย ทั้งประเภททุนวิจัยและพัฒนา ทุนวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างคน และทุนวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนและท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 20 ปีแล้ว จนมีผลงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม

              ภายในงานดังกล่าวมีการอำลาผู้อำนวยการ สกว. คนเก่าและส่งมอบงานให้กับผู้อำนวยการ สกว.คนใหม่ด้วย ซึ่งศ.น.พ.สุทธิพันธ์ได้กล่าวเพียงสั้นๆในการนี้ว่า สกว.ต่อไปนี้จะเป็นยุคการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง สกว.กระตุ้นให้มีการสร้างผลงานที่สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

              ทั้งนี้ศ.น.พ.สุทธิพันธ์ได้กล่าวแนวทางการทำงานว่า ในชั้นนี้ยังไม่สามารถที่จะพูดอะไรได้มากเพราะแนวทาง 9 ข้อนั้นยังไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ สกว. แต่ในเบื้องต้นนี้คงพูดได้แต่เพียงว่า  รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ทำงานในองค์กรที่มีเกียรติเช่น สกว. จากนี้ไปตนจะทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างสุดกำลังความสามารถ ขอให้ทุกคนให้การสนับสนนุนการทำงานของตน และขอน้อมรับความเกื้อหนุนความปรารถนาดีจากทุกภาคส่วน จากนี้ไปจะเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศ

              ทั้งนี้โจทย์ใหญ่ที่สำคัญคือ จะต้องให้ความสำคัญแก่การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพราะผลงานวิจัยของ สกว. มีมากมาย ซึ่งจะต้องดึงความรู้ที่สั่งสมมาตลอด 20 ปี ตลอดจนทรัพย์สินทางปัญญา นวัตกรรม องค์ความรู้ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยจะให้ความสำคัญกับงานวิจัยในทุกด้านเช่นเดิม ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ งานชุมชน งานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยเชิงประยุกต์ และจะดึงประเด็นสำคัญของประเทศกับการจัดการให้ทุนอย่างตรงประเด็นมากขึ้น

              อีกเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญ ได้แก่ การบูรณาการองค์ความรู้จากสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทุกระดับไปจนถึงระดับชุมชนและท้องถิ่น ท้ายสุดขอฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ให้ทุ่มเทการทำงานวิจัยให้กับประเทศ เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศอันจะส่งผลดีทั้งกับประเทศชาติและตัวนักวิจัยเอง ซึ่ง สกว. จะให้การสนับสนุนและร่วมมือกันพัฒนานักวิจัยอย่างเต็มที่

              อย่างไรก็ตามสำหรับงาน “สองทศวรรษ สกว.: ขอบคุณผู้บุกเบิก” นั้นได้เริ่มขึ้นโดยศาสตราจารย์ นพ. ดร.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้กล่าวเปิดงานว่า งานนี้เป็นงานที่มีความหมาย มีคุณค่าด้านจิตใจ และอบอุ่น ทุกท่านที่มางานนี้ถือว่าเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน สกว. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจที่มี “ความเฉพาะ” ซึ่งหลากหลายทั้งในเชิงศาสตร์ การจัดการ และพันธกิจ การได้รับคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2555 จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จาก 110 กองทุนทั่วประเทศ

              แสดงให้เห็นว่า สกว. มีการดำเนินงานตามภารกิจหลัก คือ มีการการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้มาก ซึ่งจะสะท้อนการบริหารจัดการงบประมาณของรัฐว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด ผลงานครั้งนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันพัฒนาการที่เกิดขึ้นโดยลำดับ หลังจากการจัดตั้งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. 2535 สมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยต่อการพัฒนาประเทศในการใช้เป็นกลไกสร้างฐานความรู้สำหรับการแก้ปัญหาและวางรากฐานทางปัญญาแก่สังคมไทย สกว. จึงได้รับการออกแบบให้เป็นหน่วยงานสนับสนุนและบริหารจัดการงานวิจัยที่มีระบบการบริหารงานที่แตกต่างจากระบบราชการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว โดยมีเป้าหมายคือ "การสร้างความเปลี่ยนแปลง" ในวงการวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศ

              เบื้องหลังความสำเร็จในการก่อตั้งครั้งนี้มี “กลุ่มผู้ก่อตั้ง” หรือ “ผู้ให้กำเนิด สกว.” ที่ขอประกาศเกียรติคุณ 5 คน ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นทั้งผู้คิด ผู้ประสาน ตอบกระทู้ถามความคลางแคลงใจสมาชิกวุฒิสภา และยืนยันเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับรัฐสภาว่าทำเพื่อ “อนาคตของประเทศ และของคนไทย”

              ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งให้การสนับสนุนด้านความคิดในการก่อเกิดองค์กรอิสระว่าจะสามารถตอบโจทย์การพัฒนาระบบวิจัยในโลกสมัยใหม่ได้ เพราะมีความคล่องตัวในการทำงาน เป็นองค์กรที่สามารถพัฒนาคนที่มีคุณภาพให้ประเทศผ่านระบบวิจัยได้

              ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติคนแรก ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญของการก่อตั้ง เป็นผู้เขียน และยกร่าง “พระราชบัญญัติสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” จนผ่านคณะกรรมาธิการรัฐสภาได้สำเร็จ อีกทั้งสรรหาและแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นผู้อำนวยการคนแรกของ สกว.

              ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนในรัฐสภาให้ก่อตั้ง สกว. และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ตามลำดับ

              ในห้วงเวลา 20 ปี สกว. มีผู้อำนวยการที่ทำหน้าที่ “จอมทัพ” 3 คน ทำหน้าที่บริหารงานอย่างเต็มความสามารถ นำพาองค์กรให้พัฒนาไปได้และเกิดดอกผลมากมาย เป็นประโยชน์และเป็นที่ประจักษ์ของสังคม ปัจจุบันอยู่ในวาระของผู้อำนวยการคนที่ 3 คือ ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ซึ่งกำลังจะครบวาระ และ ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ จะเข้ามารับหน้าที่ต่อตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคมนี้

              ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานหลายคนได้ร่วมบุกเบิกมากับ สกว. ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ทำให้มองเห็นว่า สกว. ต้องมีคุณค่า สามารถสร้างความรักและศรัทธาให้เกิดความผูกพันของผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพด้วย สกว. จึงจัดให้มีการมอบประกาศนียบัตรพนักงานอาวุโสที่ได้สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจขององค์กรด้วยความวิริยะอุตสาหะ เสียสละและทุ่มเทมาเป็นเวลา 17-20 ปี ทำให้ สกว. สามารถดำเนินการตามพันธกิจได้สำเร็จบรรลุเป้าหมาย สกว. ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของทั้งผู้ก่อตั้ง ผู้สร้างปณิธาน ผู้สืบสานงาน เครือข่ายและพันธมิตร ซึ่งร่วมกันสานฝัน สกว. และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะมีพลังกาย พลังใจที่แข็งแรง มีพลังความคิดในการมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า เกิดประโยชน์กับสังคม และประเทศชาติอย่างต่อเนื่องสืบไป

              ด้านศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ กล่าวว่า สิ่งที่ตนได้รับมากที่สุดในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สกว. คือ ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งเรียนรู้จากโครงการวิจัยต่าง ๆ นักวิจัย ตลอดจนการประชุม ทั้งนี้ขอขอบคุณที่ให้โอกาสและความร่วมมือตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา และช่วยให้การทำงานเป็นไปด้วยดี ขณะที่

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ