ข่าว

‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ 25 ปี สร้างฐานการผลิตมันฝรั่ง สกลนคร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โครงการสนับสนุนการปลูกมันฝรั่ง หลังฤดูทำนาปี ส่งผลให้เกษตรกรสกลนคร หันมาเอาจริงเอาจังกับการปลูก "มันฝรั่ง" โดยมีกลุ่ม "แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง " บ้านโคกก่อง  เป็นแพื้นที่แปลงใหญ่มันฝรั่งหนึ่งเดียวในจังหวัด โดยภาพรวม กำไรของทั้งกลุ่มในการผลิต  แตะ 10 ล้าน /ปี  

 น.ส. อุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า  จังหวัดสกลนครถือเป็นแหล่งผลิตมันฝรั่งอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชเสริมรายได้จากการทำนา  โดยจากข้อมูล สศก.                   ณ เดือนพฤษภาคม 2566 จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ปลูกมันฝรั่ง 1,783 ไร่  เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 1,431 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.59) เนื่องจากภาครัฐมีโครงการสนับสนุนการปลูกมันฝรั่ง หลังฤดูทำนาปี

 

 

 

ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาราคาดี เกษตรกรจึงขยายพื้นที่ปลูก  มีพื้นที่ปลูกครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ เมือง พังโคน และ โคกศรีสุพรรณ ผลผลิตรวม 5,438 ตัน ลดลง   จากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 5,930 ตัน (ลดลงร้อยละ 9.11) เนื่องจากมีฝนตกในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงมันฝรั่งลงหัวส่งผลให้หัวมันเน่า  ขณะเดียวกัน  จากการลงพื้นที่ของ สศท.3 พบว่า กลุ่ม แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง บ้านโคกก่อง  ต.โคกก่อง อ.เมือง  จ.สกลนคร ซึ่งเป็นแปลงใหญ่มันฝรั่งหนึ่งเดียวในจังหวัดสกลนคร

 

 

 

‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ 25 ปี สร้างฐานการผลิตมันฝรั่ง สกลนคร

อุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)

.

 

21 ปี สร้างฐานการผลิต

.

ภายใต้การดำเนินการของ  กลุ่มแปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง สะท้อนให้เห็นถึงการที่เกษตรกรในพื้นที่รวมตัวกันผลิตมันฝรั่ง จนประสบผลสำเร็จ  จากที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2545   ถึงเวลานี้รวม  21 ปี   ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 97 ราย พื้นที่ปลูกรวม 574 ไร่ โดยมีนายธาตุ คำสงค์ เป็นประธานแปลงใหญ่ ด้านสถานการณ์การผลิตของกลุ่ม เกษตรกรจะปลูกมันฝรั่งเป็นพืชหลังฤดูการทำนาปี ปีละ 1 รอบ ซึ่งในการปลูกมันฝรั่งเกษตรกร จะใช้หัวพันธุ์ในการเพาะปลูกประมาณ 250 - 325 กิโลกรัม/ไร่ ราคาหัวพันธุ์อยู่ที่ 26 - 35 บาท/กิโลกรัม

 

 

 

หัวพันธุ์ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ มีระยะเวลาการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน นิยมปลูกช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม สำหรับในปี 2566 กลุ่มแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 23,590 บาท/ไร่/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 3,090 กิโลกรัม/ไร่/ปี รวมผลผลิตทั้งกลุ่ม 1,774 ตัน/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 41,200 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 17,610 บาท/ไร่/ปี หากคิดเป็นกำไรของทั้งกลุ่มในการผลิต มันฝรั่งอยู่ที่ 10 ล้านบาท/ปี     

 

 

สถานการณ์การตลาด กลุ่มแปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนภายใต้สัญญาข้อตกลงซื้อขายผลผลิตมันฝรั่ง โดยทำเกษตรพันธสัญญา (contract farming) กับบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทมารับผลผลิตทั้งหมดที่ไร่ของเกษตรกร โดยในปี 2566 ราคาประกัน ณ ไร่นา ที่เกษตรกรขายได้   กล่าวคือ เกษตรกรที่ทำสัญญาและเพาะปลูกช่วงเดือนตุลาคม 2565 ราคาขายจะอยู่ที่ 14 บาท/กิโลกรัม และเกษตรกรที่ทำสัญญา    และเพาะปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน ราคาขายจะอยู่ที่ 12.70 บาท/กิโลกรัม ซึ่งผลผลิตที่ออกในช่วงแรกมีปริมาณน้อย            

 

 

‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ 25 ปี สร้างฐานการผลิตมันฝรั่ง สกลนคร

‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ 25 ปี สร้างฐานการผลิตมันฝรั่ง สกลนคร

 

 

 

 

 ทำให้ราคาสูงเป็นไปตามกลไกตลาด โดยหลังจากที่บริษัทรับซื้อผลผลิตแล้ว ผลผลิตจะถูกส่งไปยังห้องเย็นและโรงงานแปรรูป    ใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน และพระนครศรีอยุธยา เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบและขนมขบเคี้ยว

 

.

"ตลาดนำการผลิต" สร้างโอกาสขยายตัว

.


การส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อความยั่งยืน จากการที่  "แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง" เข้าร่วมโครงการกับบริษัท    ทำให้เกษตรกรได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ยา หัวพันธุ์มันฝรั่งที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น รวมถึงการกำหนดราคารับซื้อที่แน่นอน สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการตามหลัก "ตลาดนำการผลิต" โดยมีโครงการสนับสนุน ได้แก่ การศึกษาการลดต้นทุนปุ๋ยเคมี การศึกษาวิจัยพันธุ์มันฝรั่ง   การขยายพื้นที่ปลูกมันฝรั่งภายในประเทศ และยกร่างการเกษตรพันธสัญญาที่ครอบคลุมและราคาที่เป็นธรรม

 

 

 

 

อีกทั้ง สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนครได้ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยสร้างรายได้แก่เกษตรกร ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มแปลงใหญ่ฯ    เข้าร่วมโครงการ เห็นได้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนมีการส่งเสริมและสนับสนุนตั้งแต่การปลูกจนถึงการตลาด ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งเกิดความยั่งยืน    ซึ่ง ในปี 2567 กลุ่มแปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 600 ไร่             ตามนโยบายบริษัทและความต้องการตลาด

 

 

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3)   ประเมินก็คือ ควรมีการเพิ่มองค์ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ดูแลรักษาคุณภาพของผลผลิตให้มีคุณภาพ และควรเฝ้าระวังโรคของมันฝรั่งที่อาจทำลายผลผลิตให้เสียหาย ได้แก่ โรคใบไหม้  โรคเหี่ยวเขียว โรคเน่า โรคไวรัส และไส้เดือนฝอยรากปมมันฝรั่ง  ผู้อำนวยการ สศท.3 กล่าว 

‘แปลงใหญ่มันฝรั่งโคกก่อง’ 25 ปี สร้างฐานการผลิตมันฝรั่ง สกลนคร

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ