ข่าว

 "จะนะ"เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - รศ. กรกฎ ทองขะโชค  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

          เมืองต้นแบบอุตสาหกรรม คงปฎิบัติไม่ได้กับการกำหนดผังเมือง คือ การกำหนดการใช้พื้นที่ให้เป็นระบบมีระเบียบแบบแผนที่เหมาะสม ซึ่งภาครัฐในพื้นที่จังหวัดสงขลาได้ดำเนินโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมชุมชนจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 เพื่อขอบเขตพื้นที่วางผังโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองจะนะ จังหวัดสงขลา ครอบคลุมพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง รวมพื้นที่ศึกษา (วางผัง) โดยรวมถึงพื้นที่ระยะแนวขนานกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 300 เมตร 

 "จะนะ"เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต

แผนที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

   

  ประกอบด้วย เทศบาลตำบลจะนะ เทศบาลตำบลบ้านนา เทศบาลตำบลนาทับ อบต.ป่าชิง อบต.นาหว้า อบต.สะกอม อบต.จะโหนง อบต.คลองเปียะ และอบต.ตลิ่งชัน มีกระบวนการรับฟังความคิดครั้งที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2559 ณ ศาลาประชาคมอำเภอจะนะ(หลังใหม่) และอีกหลายครั้งจนกระทั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2562 ณ ศาลาประชาคมอำเภอจะนะ(หลังใหม่)

      แต่อย่างไรก็ตามระหว่างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ตามกฎหมายผังเมืองยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ตามมติคณะรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ก่อนคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเข้ารับตำแหน่ง โดยให้มีการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปสู่เมืองต้นแบบ “อำเภอจะนะ” จังหวัดสงขลา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบฯ ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อ.จะนะ จ.สงขลา 

      และการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารเขตพื้นที่พัฒนาเฉพาะกิจเมืองต้นแบบฯ ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เสนอ และให้ ศอ.บต.กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง ครบถ้วนเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนา 4 อำเภอของ จ.สงขลา คือ อ.จะนะ นาทวี เทพา และสะบ้าย้อย และให้ อ.จะนะ ยกระดับการพัฒนาเชิงพื้นที่ทั้งระบบและครบวงจร เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง ที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านนั้น

    แต่เมื่อพิจารณาการจัดทำผังเมืองตามกฎหมายพรบ.การผังเมือง พ.ศ.2562 ฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการกำหนดความเป็นอยู่ของประชาชนการกำหนดการใช้พื้นที่ให้เป็นระบบมีระเบียบแบบแผนมีความเหมาะสม เนื่องจากระบบการผังเมืองของประเทศไทยจําเป็นต้องมีกรอบนโยบายการใช้ประโยชน์ พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด เพื่อเป็นกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการ 

    โดยการนําไปสู่ การปฏิบัติในรูปแบบของผังกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเป็นแนวทางและแผนงานการใช้ ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดเพื่อการพัฒนาทางด้านกายภาพและการดํารงรักษาเมือง จึงมีความจําเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อกําหนดรูปแบบการวางและจัดทําผังเมืองทุกระดับ พร้อมทั้งบริหารจัดการผังเมืองให้มีรูปแบบการดําเนินการและการบริหารจัดการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการวางกรอบนโยบายการพัฒนาพื้นที่ และการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับเมือง และระดับชนบท ตลอดจนกระจายอํานาจในการวางและจัดทําผังเมืองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     ปัจจุบันตามพรบ.การผังเมือง พ.ศ.2562 บังคับใช้เมื่อ 29 พฤษภาคม 2562 ซึ่งให้ยกเลิกกฎหมายผังเมืองเดิมคือ พรบ.การผังเมือง พ.ศ.2518 โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ แบ่งเป็นสามประเภท คือ (ก) ผังนโยบายระดับประเทศ (ข) ผังนโยบายระดับภาค (ค) ผังนโยบายระดับจังหวัด นอกจากผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่แล้ว ยังมีผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งเป็นสองประเภท คือ ผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ

     ในการกำหนดผังเมืองมีประโยชน์ ทำให้เมืองหรือชุมชนมีความสวยงามเจริญเติบโตอย่างมีระเบียบแบบแผนและถูกสุขลักษณะ ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัย และการทำมาหากิน ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของเมืองหรือชุมชนให้มีที่โล่งเว้นว่าง มีสวนสาธารณะ มีที่พักผ่อนหย่อนใจเพื่อวางแนวทางการพัฒนาเมืองหรือชุมชนให้มีระเบียบ โดยวางผังโครงการคมนาคมและขนส่งให้สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน และกำหนดที่ตั้งอุตสาหกรรมในที่ที่เหมาะสมสะดวกในการเดินทางและขนส่ง ดำรงรักษาสถานที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์และโบราณคดี ปัญหาใหญ่ของประเทศคือประชาชนทั่วไปไม่มีความรู้ ความเข้าใจ การทำผังจังหวัดผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ประชาชน วางผังที่ตั้งของอำเภอ ใช้พื้นที่ศูนย์กลางชุมชน พื้นที่เมือง พื้นที่รองรับการขยายตัวของเมือง

      เมื่อมีการออกกฎทระทรวงผังเมืองรวมจังหวัดไปแล้ว หากต้องให้พื้นที่ภายในจังหวัดบริเวณใดให้ใช้พื้นที่เพื่อนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ทีดิ่น โครงข่ายคมนามคมขนส่งในอนาคต ก็สามารถออกผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะสำหรับพื้นที่นั้นๆ ได้อีก ซึ่งในจังหวัดสงขลาเองมีการออกกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา พ.ศ.2559 ตามพรบ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ไปแล้ว เมื่อพิจารณาถึง อำเภอจะนะจังหวัดสงขลาตามกฎกระทรวงฉบับนี้ บริเวณอำเภอเป็นพื้นทีอำเภอจะนะส่วนใหญ่ไม่ว่า ตำบลสะกอม เป็นเขตสีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว คือที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้

         ส่วนตำบลตลิ่งชัน ตำบลบ้านนา ตำบลจะโหนง ตำบลนาทับ ตำบลคลองเปียะ ตำบลป่าชิง ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ เป็นเขตสีเขียว ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม มีอำเภอเทพา ด้านติดทะเล เป็นเขตสีฟ้า ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีเขตสีม่วง ที่ดินประเภทอุตสหกรรมและคลังสินค้าปรากฏในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา พ.ศ.2559

    การเป็นเมืองต้นแบบอุตสหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาตตคงไม่อาจคิดจากฐานรากภาคประชาชนในพื้นที่ได้แต่เมื่อภาครัฐโดยเฉพาะรัฐบาลได้วางทิศทางการพัฒนาประเทศให้เป็นเมืองอุตสหกรรม โดยประชาชนในพื้นที่ยังอาจสับสน เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แล้วก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงนั้นพื้นที่อำเภอจะนะอาจต้องเผชิญกับชะตากรรมหรือความเจริญรุ่งเรืองของเมืองแบบอุตสาหกรรม

        สิ่งที่สำคัญประชาชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐในครั้งนี้หรือไม่ เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เมื่อพิจารณาจากยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ2560-2579) จะพบว่ายุทธศาสตร์ในประเด็นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แล้วก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงนั้น จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสหกรรมอันเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 

      โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต(Future Industry) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น อ.จะนะ จ.สงขลาก็จะมีอุตสาหกรรมอนาคต(New S-curve) ประกอบด้วย (1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ กระบวนการฉีดพลาสติก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น (2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ได้แก่ กิจการสาธารณูปโภคและบริการเพื่อการขนส่ง ศูนย์รวมกิจการโลตสติกส์ทันสมัย เป็นต้น 

     (3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจร (4) อุตสาหกรรมดิจิทัล ได้แก่ สมองกลฝังตัว ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการ (5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ได้แก่ การบริการทางการแทพย์ การแพทย์ทางไกลผ่าน เป็นต้น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบข้อเสนออุตสาหกรรมเป้าหมายนี้โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายนี้ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยข้อเสนอดังกล่าวมุ่งเน้นการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาพัฒนา 

 

   

        อำเภอจะนะไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 (แห่งที่ 1 มีการดำเนินกิจการเมื่อ ปี พ.ศ.2531 จนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ) ท่าเรือน้ำมัน อู่ซ่อมบำรุงและต่อเรือ ท่าเรือคอนเทรนเนอร์ อุตสาหกรรมเกตร เช่น อาหารฮาลาล ยางพารา น้ำมันปาล์ม อุตสหกรรมหนัก มีการผลิตหัวรถจักร ตู้รถไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โลจิสติกส์ แต่ประชาชนใน อ.จะนะ หรือประชาชนใกล้เคียงจะทราบถึงผลดีผลเสียหรือไม่ก็ต้องพิจารณากันต่อไป

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ