ข่าว

หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ชาติแรก เปิดใจทูตเวียดนาม"เหวียน ฮาย บั่ง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ไทย-เวียดนาม"หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ชาติแรกในอาเซียน เปิดใจทูตเวียดนามประจำประเทศไทย"เหวียน ฮาย บั่ง"

 

          เริ่มแล้ววันนี้สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 (ASEN Summit) สมาชิก 10 ประเทศ ระหว่างวันที่ 20-23 มิ.ย.62 ณ โรงแรมพลาซ่า เอทินี ถ.วิทยุ กรุงเทพฯ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในฐานะประธานอาเซียน มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ภายใต้แนวคิดหลักคือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” เพื่อเป็นการวางรากฐานในอีก 50 ปีข้างหน้า

           โดยมีเป้าหมายหลักสำคัญเพื่อให้ประชาชนกลุ่มอาเซียนได้อยู่กันอย่างสงบสุข มีความมั่นคงทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเวียดนามถือเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกที่มีความโดดเด่นอย่างมากโดยเฉพาะในแง่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นไปแบบก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จนกลายเป็นที่จับตามองของนักลงทุนจากทั่วโลก รวมถึงนักลงทุนจากประเทศไทย อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เวียดนามเนื้อหอมขนาดนี้

หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ชาติแรก เปิดใจทูตเวียดนาม"เหวียน ฮาย บั่ง" ตึกระฟ้าใจกลางนครโฮจิมินห์

   

        “คมชัดลึก”ถือโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ“เหวียน ฮาย บั่ง(H.E.Mr.Nguyen Hai Bang)”เอกอัครราชฑูตเวียดนามประจำประเทศไทยในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับเวียดนามในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ชาติแรกในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนความสัมพันธ์ในระดับต่าง ๆ ของทั้งสองประเทศ 

# ถึงวันนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามเป็นอย่างไร

          ช่วงนี้เป็นช่วงที่ไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์อยู่ในช่วงที่ดีที่สุด เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์คู่แรกในอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2013 จากนั้นได้มีกลไกเสริมสร้างความสัมพันธ์ เสมอมา มีการประชุมครม.ร่วมไทย- เวียดนาม โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศเป็นประธาน ได้กำหนดกลไกยุทธศาสตร์ร่วมกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจการค้า การศึกษา และอื่น ๆ ถือเป็นกลไกสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยมีกรอบกำหนดเวลาการประชุมปีละ 1 ครั้ง และจากแผนดังกล่าวถือว่า 2 ประเทศดำเนินการประสบความสำเร็จมาโดยตลอด 

หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ชาติแรก เปิดใจทูตเวียดนาม"เหวียน ฮาย บั่ง" อาคารตลาดหลักทรัพย์ เวียดนามในนครโฮจิมินห์

             และในช่วงนี้อยู่ในช่วง Action plan หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ปี 2013- 2018 เป็นยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการร่วมกันในทุก ๆ 5 ปี และขณะนี้อยู่ในช่วงของแผนฉบับที่ 5 ที่จะกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศร่วมกันครอบคลุมทั้ง 24 ด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามมี 3 ระดับคือระหว่างรัฐกับรัฐถือว่ามีความแน่นแฟ้นมาก มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ต่อมารัฐกับเอกชนมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนก็มีกรอบความร่วมมือให้กับนักธุรกิจมีอนุสัญญาระหว่างกันในการเอื้อต่อการลงทุนและสุดท้ายระหว่างประชาชนด้วยกัน 

# สถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนของทั้งสองประเทศ

          เฉพาะในปี 2018 ที่ผ่านมา ตัวเลขนักลงทุนไทยไปลงทุนในเวียดนาม 500 กว่าโครงการ เชื่อมั่นว่าการค้าระหว่างไทยกับเวียดนามจะบรรลุเป้าหมายในปี 2020 ที่จะมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และสิ่งที่คาดหวังสูงสุด นอกเหนือจากความร่วมมือด้านการค้าเศรษฐกิจ นั่นคือ ประชาชนของทั้งสองประเทศ จะต้องมีความสัมพันธ์กัน ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น มีการไปมาหาสู่กัน เดินทางท่องเที่ยวระหว่างกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการศึกษา และการรักษาโรค 

          ส่วนภาคการเกษตร ถึงแม้ว่าไทยกับเวียดนาม จะมีผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรที่คล้ายคลึงกัน แต่ความเป็นจริงแล้ว ไทยกับเวียดนาม มีความร่วมมือเป็นคู่ค้ากัน ยกตัวอย่างเช่น ข้าวและยางพารา เวียดนามและไทย เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก แต่มีตลาดเป้าหมายในการส่งออกที่ต่างกัน ดังนั้น ควรจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการตลาดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นวัตกรรมในการผลิตและแปรรูป ซึ่งกันและกัน เพื่อกระจายสู่เป้าหมายของแต่ละประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

          เวียดนามให้ความสำคัญ กับเวทีในระดับทวิภาคีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับไทย ได้มีการประชุมร่วมครม. ของทั้งสองประเทศ เพื่อกำหนด กลไกพิเศษทุกๆ ปี นั่นคือการประชุม JCR ( Joint Cabinet Retreat) ซึ่งมีน้อยประเทศที่จะจัดประชุมต่อเนื่องได้แบบนี้ ที่ผ่านมามีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้งและการประชุมครั้งที่ 4 ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คาดว่าจะจัดที่ประเทศเวียดนาม

# มาตรการแก้ปัญหาในพื้นที่แม่โขงเดลต้า

     ประเด็นปัญหาแม่โขงเดลต้าคือ ทั้งไทยและเวียดนาม ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงได้คล้ายๆกัน ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสิ่งแวดล้อม หรือจากเหตุใดก็แล้วแต่ ควรร่วมมือกันในการแก้ปัญหา รวมถึงประเทศอื่นๆในอาเซียน ที่ใช้แม่น้ำโขง ก็ควรจะนำกลไกในการแก้ไขปัญหาต่างๆมาประยุกต์แลกเปลี่ยนกัน

# ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของเวียดนาม 

            เวียดนามได้ผ่านช่วงสงครามมาตั้งแต่ในอดีตเสียเวลาไปมากแล้ว  การพัฒนาประเทศจึงเป็นไปได้ช้ากว่าประเทศไทย หลังจากเวียดนามรวมประเทศได้สำเร็จในปี 1975 จึงเริ่มแผนพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ และนโยบายสำคัญสำคัญต่าง ๆ ออกมา และให้บทบาทกับภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม ในการเป็นบริษัทหุ้นส่วนมากยิ่งขึ้น จึงทำให้สามารถพัฒนาประเทศได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

            ส่วนมาตรการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ ของเวียดนามหรือFDI (Foreign Direct Investment)  ขณะนี้เวียดนามถือว่า popular ในอันดับ 1 ในการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เนื่องจากมีนโยบาย ด้านการอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลเวียดนาม ได้บอกกับนักลงทุนเสมอว่า นโยบายส่งเสริมการลงทุนของเวียดนาม ต้องปรับไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่เป็นนโยบายที่ใช้ในระยะยาว แต่ปัจจัยที่ทำให้ เวียดนาม ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเยอะ เพราะ market Size ความได้เปรียบด้านกำลังซื้อ ความสามารถและทักษะ ของแรงงาน และต้นทุนการผลิตต่ำ นี่คือจุดเด่น

 

# เวียดนามได้อะไรจากผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐและจีน

             คือทั้งเวียดนามและไทยมีดุลการค้ากับทั้งสหรัฐและจีน จึงได้รับผลกระทบทั้งคู่ ตามความเห็นส่วนตัวมองว่า ถึงแม้สองยักษ์ใหญ่จะสู้รบกัน และประเทศรอบข้างพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เหมือนสุภาษิตไทยที่บอกว่า“ ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ” แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศเวียดนาม ก็มีข้อได้เปรียบ จากสงครามการค้าที่เกิดขึ้น นั่นก็คือการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาในเวียดนาม แต่เวียดนามก็ไม่ได้ รับนักลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามา ทุกราย จะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่าการลงทุนใดๆที่จะเข้ามาต้องสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติ เป็นหลัก

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ