ข่าว

 ทีดีอาร์ไอหนุน"เกษตรปลอดภัย"สู่เกษตรยั่งยืน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ทีดีอาร์ไอหนุน"เกษตรปลอดภัย" ได้เวลาเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรยั่งยืน

 

         ภาคเกษตรไทยเผชิญหลากความท้าทาย “ทีดีอาร์ไอ” เสนอมาตรการปรับทิศการทำเกษตรด้วยกระบวนการที่ยั่งยืน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายสินค้าถึงมือผู้บริโภค แก้ปัญหาการบุกรุกป่าผิดกฎหมายและใช้สารเคมีทำเกษตร พร้อมแนะมาตรการพักชำระหนี้ หรือ เงินสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) เสริมแกร่งให้เกษตรกรไทยพร้อมเปลี่ยนผ่านสู่การทำเกษตรยั่งยืน

 

         ในงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ “มาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภาคเกษตร” จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย ดร.กรรณิการ์ ธรมพานิชวงค์ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลการศึกษา โดยระบุว่าเนื่องด้วยภาคการเกษตรของประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตอาหาร แหล่งจ้างงานและสร้างรายได้ที่สำคัญ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของภาคเกษตรนำมาซึ่งปัญหาหลายด้าน อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ปัญหาการสูญเสียหน้าดิน ปัญหามลพิษทางน้ำและทางอากาศ เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการนำแนวคิดสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนมาใช้ในภาคเกษตรของไทย 

         อย่างไรก็ดี การสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนสู่การผลิตที่ยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการสำคัญในการสนับสนุนการผลิตที่ยั่งยืนในภาคเกษตร มีหลายประการ ประการแรก เน้นการแก้ปัญหาการทำเกษตรแบบไม่ยั่งยืนโดยบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร ควรส่งเสริมให้เกษตรกรที่บุกรุกป่าปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยใช้สารเคมีมาทำเกษตรแบบยั่งยืน เช่น ปลูกพืชผสมผสานแบบปราศจากสารเคมี โดยการดำเนินมาตรการดังกล่าวต้องแก้ไขข้อกฎหมายเพื่อให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรในพื้นที่ป่าได้

         ประการที่สอง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบยั่งยืนต้องใช้เวลานานกว่าจะสร้างรายได้ อีกทั้งต้องใช้เงินลงทุนสูงในระยะแรก จึงควรนำมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบยั่งยืน รวมถึงการให้เงินสินเชื่อสีเขียว(Green Credit) เพื่อเป็นเงินทุนให้เกษตรกรใช้เป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการทำเกษตรแบบยั่งยืน โดยให้อัตราดอกเบี้ยแบบพิเศษ

        และประการที่สาม ใช้มาตรการทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บภาษีสารเคมีเกษตร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนมาใช้สารทางชีวภาพเพื่อกำจัดศัตรูพืช และการลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการที่สนับสนุนสินค้าเกษตรยั่งยืน อย่างไรก็ดี ก่อนที่ภาครัฐจะดำเนินการเก็บภาษีสารเคมี จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาสารชีวภาพที่ใช้ทดแทนสารเคมีและไม่กระทบผลิตผล (Yield)

        นักวิจัยทีดีอาร์ไอคนเดิมกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันตลาดสินค้าเกษตรยั่งยืนยังมีช่องทางการจำหน่ายที่จำกัดและเข้าถึงยาก ดังนั้นมีมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญคือ การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรยั่งยืนและสร้างตลาดท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากลเพื่อรับรองสินค้าสำหรับการส่งออก มีการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเกษตรยั่งยืนไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคด้วย

       อย่างไรก็ดี เห็นได้ว่ามาตรการที่สนับสนุนการผลิตที่ยั่งยืนในภาคการเกษตรมีหลายประการ หากให้ลำดับความสำคัญมาตรการที่สำคัญเพื่อที่จะช่วยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบยั่งยืน ควรมุ่งเน้นมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบยั่งยืน รวมถึงการให้เงินสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) เนื่องจากในช่วงเปลี่ยนผ่านระยะแรกมีความจะเป็นต้องเงินทุนสูงและใช้ระยะเวลานานกว่าจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ควรมีการบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนเอง เพื่อให้มาตรการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภาคเกษตรของประเทศไทยนำไปสู่การปฏิบัติจริง 

    ขณะที่   ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ  ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงเกษตรยั่งยืนระหว่างอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการขับเคลื่อนมาตรการเพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภาคเกษตร โดบระบุว่าเมื่อเราพูดถึงเกษตรยั่งยืนก็จะมีสองเรื่งอมาเกี่ยวข้อคือเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้กันอยู่ว่าเกษตรกรปลอดภัยได้สร้างความมั่นใจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ภาครัฐกลับไม่ค่อยให้ความสำคัญ โดยมุ่งเป้าไปที่เกษตรอินทรีย์ซึ่งค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องปริมาณผลผลิต ที่สำคัญราคาสูงอีกด้วย

      "ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำให้รัฐบาลไม่พูดเรื่องนี้ ที่จริงมันเป็นเรื่องใหญ่แล้วผลผลิตไม่ได้น้อยลงเหมือนเกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ในปีแรก ๆ ผลผลิตจะลดลงค่อยข้างมากแล้วบางช่วงผลผลิตก็ไม่ออก ก็ไปซื้อที่ตลาดสี่มุมเมืองเอามาส่ง อันนี้สภาพข้อเท็จจริงทุกวันนี้ ผมก็ยังไม่ยอมซื้อผักอินทรีย์เลย เรื่องอะไรผมจะซื้อของแพงในราคาแพงทั้งที่มีสารเคมี"  

     ด้าน สุภา ใยเมือง ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน มองว่าเกษตรยั่งยืนเป็นเรื่องที่ซับซ้อน มีแง่มุมที่หลากหลายจะต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลง  เพราะถ้าการผลิตและบริโภคยั่งยืนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งโลก และการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะต้องมาจากเกษตรกรโดยตรงด้วย  อย่างเช่นผักจีน คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น ผักเหล่านี้ต้องการสภาพอากาศที่ร้อนจัด แต่พออากาศเป้นแบบนี้ผลผลิตก็ออกไม่ได้ตามเป้า จะเห็นว่าาบางช่วงผักบางชนิดขาดตลาดและมีราคาแพงด้วย 

      "การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในชุมชน อย่างเช่นจ.เลย เกิดแลนสไลด์ บ้านเรือนพังเสียหาย ทำให้ต้องอพยพชาวบ้าน สาเหตุเกิดจากทำลายทรัพยากรป่าไม้เพื่อทำที่ดินมาใช้ทำการเกษตร พอชาวบ้านเขาเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น เขาก็ลุกขึ้นมาทำกันเอง มีการวางแนการใช้ที่ดิน  ตอนนี้เมื่อพูดถึงเกษตรยั่งยืนก็ต้องมีความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ด้วย"สุภากล่าวย้ำ

 

                        

                          7 มาตรการสนับสนุนการผลิต“เกษตรยั่งยืน”

           จากผลการศึกษาวิจัย“มาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภาคเกษตร”โดยดร.กรรณิการ์ ธรมพานิชวงค์ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ พบว่ามีมาตรการในการสนับสนุนการผลิตเพื่อนำไปสู่การทำเกษตรแบบยั่งยืนนั้นประกอบด้วย 7 ประการ ได้แก่ 1.มาตรการแก้ปัญหาการบุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยใช้สารเคมีมาปลูกพืชผสมผสานปราศจากสารเคมี โดยอาจมีการแก้กฎหมายนำพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมาใช้ประโยชน์ได้

       2.มาตรการพักชำาระหนี้ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนมาทำาการเกษตรแบบยั่งยืนต้องใช้เวลานานก่อนที่จะสามารถสร้างรายได้จากการจำาหน่ายผลผลิตอีกทั้งต้องใช้เงินลงทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยี ฯลฯดังนั้น จึงควรมีการนำามาตรการพักชำาระหนี้มาใช้กับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนมาทำาการเกษตรแบบยั่งยืน 3.มาตรการสินเชื่อสีเขียว การให้เงินกู้สีเขียว (Green Credit) แก่เกษตรกรเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือลงทุนในการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบยั่งยืน โดยให้อัตราดอกเบี้ยแบบพิเศษ

        4.มาตรการเก็บภาษีสารเคมีทางการเกษตร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนมาใช้สารทางชีวภาพเพื่อกำจัดศัตรูพืช อย่างไรก็ดี ก่อนที่ภาครัฐจะเก็บภาษีสารเคมีทางการเกษตร จำเป็นจะต้องสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสารชีวภาพที่มีประสิทธิภาพไม่กระทบต่อผลิตผล รวมถึงมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไป 5.มาตรการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ประกอบการที่สนับสนุนสินค้าเกษตรยั่งยืน การนำมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ที่รับซื้อสินค้าเกษตรยั่งยืนมาเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเพื่อสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนสินค้าเกษตรยั่งยืนและเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า

       6.การกำหนดมาตรฐานสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค จำเป็นจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและในระดับสากล เพื่อรองรับการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปต่างประเทศ และ7.การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรยั่งยืนเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าที่ผลิตด้วยวิธีที่ยั่งยืนได้สะดวกมากขึ้น ตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ควรช่วยในการรวบรวมสินค้าจากกลุ่มเกษตรกรที่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าปลีกในการซื้อสินค้าไปเพื่อจำหน่ายต่อให้กับผู้บริโภคนอกจากนี้ควรสนับสนุนให้มีตลาดสินค้าเกษตรยั่งยืนในท้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ