ข่าว

 มองเพื่อนบ้าน...แลไทย ปัญหาระบบโลจิสติกส์ใน"ซีแอลเอ็มวี"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 มองเพื่อนบ้าน...แลไทย ปัญหาระบบโลจิสติกส์ใน"ซีแอลเอ็มวี"

 

        

              คนขับรถ(บรรทุก) สภาพรถ ถนนและการขนส่งสารพิษและวัตถุอันตราย คือ 4 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความปลอดภัยในภาคการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ซึ่งประกอบด้วย เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

 มองเพื่อนบ้าน...แลไทย  ปัญหาระบบโลจิสติกส์ใน"ซีแอลเอ็มวี"

  ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม

 

             จากปัญหาดังกล่าวทำให้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ร่วมกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง(MI) สมาคมขนส่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(GMS-FRETA) ได้จัดทำโครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2559 จนถึงมกราคม 2562 โดยมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง อันจะนำไปสู่การลดต้นทุนของผู้ประกอบการ เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นต้นทุนหลักหรือกว่าร้อยละ 50 ในกระบวนการขนส่งสินค้าหรือโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี

            โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป (EU) จำนวน 2.4 ล้านยูโร เพื่อมาดำเนินงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความปลอดภัยในภาคการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กว่า 500 ราย ให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและเกิดการขับขี่ที่ปลอดภัย มีระบบการขนส่งสินค้าอันตรายที่ปลอดภัย พร้อมการพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลอดจนเกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการขนส่งสีเขียว

            ตลอดระยะเวลา 3 ปีของการดำเนินงาน ได้ฝึกอบรมผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวน 513 รายในภูมิภาค ซึ่งครอบคลุมพนักงานขับผู้ขับขี่รถบรรทุกมากกว่า 600 คน ส่งผลให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยร้อยละ 15.90 สำหรับรถหนักวิ่งเปล่าและร้อยละ 16.86 สำหรับรถหนักบรรทุกสินค้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงคมนาคมของประเทศเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับ ส่งผลให้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของประเทศเมียนมาร์ สามารถออกกฎกระทรวงได้ทั้งหมด 6 ฉบับอย่างเป็นทางการ 

             ขณะที่ประเทศเวียดนาม กัมพูชา และสปป.ลาว กำลังแก้ไขพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตราย ในแง่ของการสนับสนุนนโยบาย ยังได้สนับสนุนกระทรวงคมนาคมของประเทศเวียดนาม ในการพัฒนาคู่มือมาตรฐานสำหรับการขนส่งสินค้าสีเขียวและได้ประกาศใช้แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 

             นอกจากนี้ มาตรการด้านการขนส่งสินค้าสีเขียว ยังถูกนำเสนอในวาระ “การมีส่วนร่วมของประเทศ” (NDC) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย และยังถูกหยิบยกมากล่าวเป็นวาระสำคัญในการประชุมครั้งที่ 24 ของภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP24) อีกด้วย

             “การคมนาคมขนส่ง เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาและบูรณาการเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เพราะการคมนาคมขนส่งมีบทบาทสำคัญในการขนย้ายสินค้า บริการและประชาชนในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย"

              ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวตอนหนึ่งในพิธีปิดโครงการฯ ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมฮิลตัน สุขุมวิท โดยกล่าวอีกว่า นอกจากนี้การคมนาคมขนส่งยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) ภายใต้ข้อตกลงและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(CBTA) และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งของอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเอง ก็มุ่งดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน เช่น การขับขี่ที่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน การขนส่งสินค้าอันตรายให้ปลอดภัย และการพัฒนามาตรฐานสำหรับการให้บริการรถบรรทุก 

             นอกจากนี้ประเทศไทยยังมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามวาระการประชุมระดับโลกของข้อตกลงปารีสที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ร้อยละ 20 เนื่องจากภาคคมนาคมขนส่งถือว่าเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งความพยายามในการลดการใช้เชื้อเพลิงและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ จึงช่วยสนองต่อความมุ่งมั่นในวาระระดับโลกด้วย

              ขณะเดียวกันสหภาพยุโรปเอง ถือเป็นองค์กรหลักสำคัญเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนทางการเงินตามแผนงาน SWITCH-Asia ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินของสหภาพยุโรปที่จะสนับสนุนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ให้มีการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน และจนถึงปัจจุบันมีโครงการจำนวนกว่า 100 โครงการที่ได้รับเงินทุนดังกล่าวแล้ว

 มองเพื่อนบ้าน...แลไทย  ปัญหาระบบโลจิสติกส์ใน"ซีแอลเอ็มวี"

      เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

              เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวระหว่างการปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน 2.4 ล้านยูโรจากแผนงาน SWITCH-Asia ของสหภาพยุโรปและจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ดำเนินงานหลักและได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) สมาคมขนส่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS-FRETA) รวมถึงโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการขนส่งทางบกของภูมิภาคอาเซียน 

                 นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกระทรวงคมนาคมทั้ง 5 ประเทศในการปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายและได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเหล่านี้เกิดจากความร่วมมือที่ดีจากพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เอสเอ็มอี ด้านการขนส่งสินค้า และสมาคมการขนส่งต่างๆ แนวทางการปฏิบัติที่ดีและบทเรียนที่ได้จากการดำเนินโครงการจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อ เพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าที่ยั่งยืนในภาคการขนส่งให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 มองเพื่อนบ้าน...แลไทย  ปัญหาระบบโลจิสติกส์ใน"ซีแอลเอ็มวี"

 

ชี้4ปัจจัยมีผลต่อการขนส่งสินค้า ผ่านมุมมองเจ้าหน้าที่ GIZ

            วิลาสินี ภูนุชอภัย ผู้ประสานงานโครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง GIZ  เล่ารายละเอียดถึงความเป็นมาของโครงการ เนื่องจากมองว่าอนาคตประเทศไทยจะกลายเป็นฮับของโลจิสติกส์ในภูมิภาค จึงจำเป็นต้องมีการยกระดับระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีที่มีชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศไทยให้มีมาตรฐานความปลอดภัยและลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงลง เนื่องจากเป็นต้นทุนการผลิตหลักที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ซึ่งหากลดสิ่งเหล่านี้ลงได้ก็จะช่วยให้สินค้าและบริการต่างๆ ถูกลง ทั้งยังช่วยยกระดับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย

 มองเพื่อนบ้าน...แลไทย  ปัญหาระบบโลจิสติกส์ใน"ซีแอลเอ็มวี"

             “เป้าหมายของโครงการมี 4 เรื่องหลักๆ คือประสิทธิภาพของคนขับรถ สภาพรถ สภาพถนนและการขนส่งสารพิษและวัตถุอันตราย  สภาพรถคงแก้ยาก รถบรรทุกในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นรถเก่าอายุเกิน 10-15 ปีขึ้นไป การจะเปลี่ยนเป็นรถใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย ราคาที่สูงคันละ 4-5 ล้านบาท ผู้ประกอบการคงไม่เอาด้วย ส่วนสภาพถนนก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลดำเนินการ แต่สิ่งที่เราทำได้ก็คือการฝึกอบรมโชเฟอร์หรือคนขับรถ ให้มีระเบียบวินัยและรู้จักวิธีการขับรถที่ถูกต้อง ปลอดภัย และลดการใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะนี่คือต้นทุนของสินค้า ส่วนการขนส่งสารพิษและวัตถุอันตรายนั้นก็จะร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการปรับปรุงข้อกฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล”

            สิ่งที่โครงการได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 3 ปีนั้นจะเน้นไปในการฝึกอบรมคนขับรถและผลักดันการแก้ไขกฎหมายการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเป็นหลัก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหนว่ยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมขนส่งสินค้าของประเทศนั้นๆ เป็นอย่างดี โดยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนขับรถให้มีการขับขี่อย่างปลอดภัยและลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงลงเฉลี่ย 10-20% ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่ใช้บริการรถบรรทุกเหล่านี้ลดลงตามไปด้วย

 มองเพื่อนบ้าน...แลไทย  ปัญหาระบบโลจิสติกส์ใน"ซีแอลเอ็มวี"

               “ลองไปดูสินค้าอุปโภคบริโภคที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าหรือตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ในประเทศเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสินค้าจากประเทศไทย เพราะพวกเขาชอบสินค้าที่ผลิตจากบ้านเรา ถ้าเราลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ เชื่อว่าสินค้าน่าจะถูกลงกว่านี้ ซึ่งผู้ซื้อก็จะได้ประโยชน์ สินค้าจากไทยก็สามารถส่งไปขายในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น  สรุปว่าได้ประโยชน์กันทุกฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย แบบวินๆ สุดท้ายโลกก็ได้ จะช่วยลดมลภาวะทางอากาศลงด้วย” เธอให้มุมมองทิ้งท้าย   

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ