ข่าว

 จาก"ฝุ่นจิ๋ว"สู่ภาวะเรือนกระจก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 จาก"ฝุ่นจิ๋ว"สู่ภาวะเรือนกระจก ผนึก"จีไอแซด"ปรับการขนส่งสู่พลังงานสะอาด     

 

          "จริง ๆ แล้วพีเอ็ม2.5หรือฝุ่นจิ๋วไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น  แต่เกิดมาหลายปีแล้ว อย่างปีที่แล้วก็มีความรุนแรงไม่แพ้กัน  รุนแรงมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะมันเข้าไปสู่กระแสเลือดแล้วยังมีผลต่อพืชพันธุ์การเกษตรด้วย แล้วฝุ่นจิ๋วมากจากไหนแน่นอนที่สุด ปฏิเสธไม่ได้ว่าแหล่งใหญ่มาจากภาคการขนส่ง  ภาคการก่อสร้างและภาคการอุตสาหรรม"  

 จาก"ฝุ่นจิ๋ว"สู่ภาวะเรือนกระจก

 จาก"ฝุ่นจิ๋ว"สู่ภาวะเรือนกระจก

   

                อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวตอนหนึ่งระหว่างเป็นประธานในพิธีปิดโครงการ"การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการขนส่งทางบกในภูมิภาคอาเซียน” ณ ห้องประชุมจูบีลี่ โรงแรมเบอเคลีย์ ประตูน้ำ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดขึ้นเพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จ"การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการขนส่งทางบกในภูมิภาคอาเซียน”หลังประเทศไทยได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของยานพาหนะมาตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2559

                โดยทำการศึกษานโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคขนส่งทางบก และพบว่ามาตรการการปรับปรุงอัตราการ เก็บภาษีสรรพสามิตฯนี้ กระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์เกิดการปรับตัวที่จะผลิตรถใหม่ซึ่งช่วยประหยัดพลังงาน ส่งผลให้เกิดการลดการใช้น้ำมันเฉลี่ยจาก7.08 ลิตรต่อ 100 กม. ในปี 2558 เหลือเพียง 6.75 ลิตรต่อ 100 กม.ในปี2560 กับรถใหม่ทุกคันที่จำหน่าย

                    รมว.คมนาคมระบุอีกว่าการใช้พลังงานจากภาคการขนส่ง นอกจากจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหา PM 2.5 แล้ว ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย เนื่องจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะแปรผันกับการใช้พลังงาน กล่าวคือ ยิ่งมีการใช้พลังงานจากภาคการขนส่งมาก ก็ยิ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์มาก ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถสลายไปได้ ต่างจาก PM 2.5 ที่จะสลายไปได้ตามธรรมชาติเมื่อเจอฝนและลมมรสุม

                   "การใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการขนส่งที่สูงถึง 61 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(MtCO2e) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 19.2 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทั้งหมดของประเทศไทย จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกท่านควรใส่ใจอย่างยิ่ง เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกส่งผลต่อโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว”      

                   ขณะที่ สราวุธ ทรงศีวิไล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวเสริมว่าสำหรับโครงการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการขนส่งทางบกในภูมิภาคอาเซียน”นั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยใน 3 ปีแรกได้ร่วมมือกับสำนักงานนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการรวบรวมข้อมูล การใช้พลังงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่งทางบกของประเทศไทยและไลน์ที่เกี่ยวข้อง ส่วนระยะที่2 ร่วมกับสนข.นการวิเคราาะห์และให้ข้อเสนอแนะแนวทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาระบบตรวจวัด การรายงานและการตรวจสอบสำหรับภาคการขนส่งและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาขนส่ง

                 ด้าน คาโรลีน คาโพน ผู้อำนวยการโครงการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการขนส่งทางบกในภูมิภาคอาเซียนของ GIZ เผยว่าเป็นที่น่าสนใจที่ประเทศไทยมีนโยบายการขนส่งยั่งยืนที่พัฒนาไปมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น นโยบายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยโครงการฯ เข้ามาผลักดันให้เกิดการปรับปรุงมาตรการการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดังกล่าวให้ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดการลดการใช้น้ำมันเฉลี่ยในรถยนต์ใหม่ทุกคัน หากมีการดำเนินมาตรการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามการปล่อยมลพิษในลักษณะนี้ต่อไป ในปี 2573 จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 4.2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 

                 อย่างไรก็ตามการปรับปรุงอัตราการเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ให้เข้มข้นขึ้น นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งแล้วยังเป็นไปตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (COP21)อีกด้วย  แม้โครงการดังกล่าวจะสิ้สุดลง แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเยอรมนีจะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยตั้งแต่ปีนี้(2562) เป็นต่อไป  GIZ จะดำเนินงานเกี่ยวกับการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืน การแก้ไขการจราจรติดขัด การลดมลพิษทางอากาศ และการทำให้ชีวิตในเมืองน่าอยู่มากขึ้น ด้วยการแก้ไขปัญหาการขนส่งในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและในเมืองรองที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 

 

                                                “รถยนต์ไฟฟ้า”ทางเลือกใหม่ปลอดมลภาวะ

 

          ชุตินธร มั่นคง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการขนส่งที่ยั่งยืน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนช.)กล่าวถึงแผนการลดภาวะเรือนกระจกในภาคการขนส่งอีก 20 ปีข้าหน้าในเวทีเสวนาหัวข้อ“การท้าทายในการดำเนินงานเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาคการขนส่ง” โดยระบุว่าจากแผนที่ได้จัดทำขึ้นนี้จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 41 ล้านตันจาก 111 ล้านตันในตัน โดยในภาคขนส่งจริง ๆ มีประมาณ 31 ล้านตัน ส่วนอีก 10 ล้านตันเป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในรถยนต์ ซึ่งในควรามรับผิดชอบของกระทรวงพลังงาน 

         "ในส่วนของกระทรวงคมนาคม โดยสนช.ได้วางเป้าไว้ 3 ประการคือ ลด เปลี่ยนและปรับปรุง  การลดนั้นจะมุ่งให้ประชาชนลดการใช้รถส่วนตัวแล้วหันมาใช้ขนส่งสาธารณะแทน ส่วนการเปลี่ยน จะเปลี่ยนจากการขนส่งโดยรถบรรทุกมาเป็นขนส่งระบบรางและทางน้ำโดยการใช้เรือแทน เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซพิษน้อยกว่าและประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า และสุดท้ายการปรับปรุงรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีที่พร้อมใช้งาน"

         สยามณัฐ พนัสสรณ์ ผู้จัดการส่วนนโยบายวิศวกรรมและวางแผนธุรกิจ บริษัท ตรีเพชร อีซูซุเซลล์ จำกัด กล่าวเห็นด้วยที่รัฐได้ออกมาตรการส่งเสริมการประหยัดพลังงานจากการเก็บภาษีสรรพสามิตในรถยนต์ จากเดิมเก็บตามขนาดของเครื่องยนต์และน้ำหนักรถ แต่ปัจจุบันจะเก็บตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถต่างเร่งพัฒนาคุณภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีการปล่อยก๊าซพิษออกมาตามเกณ์ที่กำหนด โดยยกตัวอย่างบริษัท ตรีเพชรว่าได้พัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่จากเดิม 3 พันซีซี.มาเป็น 1.9 ซีซี ทั้งนี้เพื่อเน้นการประหยัดน้ำมัน

         "สิ่งที่อีซูซุทำตอนนี้มี 2 อย่างคือการปรัปรุงคุณภาพเครื่องยนต์โดยการลดขนาดเครื่องยนต์ลงและพัฒนาการใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี20 หรือบี7 ตามมาตรฐานยุโรป ต้องยอมรับว่ารถยนต์เป็นสินค้าฟุ้มเฟือย บริษัทจึงได้พยายามผลิตเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อประหยัดน้ำมันแต่มีแรงม้าที่สูงขึ้น อย่างเมื่อก่อนรถยนต์ 200 แรงม้าต้องใช้เครื่อง 3,000 ซีซี แต่ปัจจุบันไม่จำเป็นแล้ว อย่างอีซุซุเราได้พัฒนาขนาดเครื่องยนต์เดิม 2.5 มาเป็น 1.9 ซีซี ความแรงยังเท่าเดิมแต่ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า"

           ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้าว่าเป็นอีกทางเลือกสำหรับการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งขณะนี้รัฐบาลให้ความสำคัญในการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้เริ่มมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าวิ่งอยู่บนถนนบ้างแล้วเพียงแต่ไม่มากนักเนื่องจากราคายังค่อนข้างแพง ขณะเดียวกันสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกับกระทรวงพลังงานผลิตหัวจ่ายไฟฟ้า ดดยตั้งเป้าไว้ในปี 2562 นี้จะดำเนินการติดตั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลให้ได้ 80 หัวจ่ายเพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะมาในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ส่วนภาคเอกชนขณะนี้ก็ได้ลงทุนติดตั้งหัวจ่ายประมาณ 200-300 หัวจ่ายด้วยเช่นกัน

           "รถไฟฟ้าเริ่มเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นรถไฮบริด แต่ยังอยู่ในกลุ่มรถหรู เช่นเบนซ์ บีเอ็ม  ส่วนห้างสรรพสินค้า โรงแรมต่าง ๆ ก็มีการติดตั้งหัวจ่ายไฟฟ้าแล้ว  หรืออย่างคอนโดฯใหม่ ๆที่กำลังก่อสร้างมีหลายแห่งก็ชูจุดขายติดตั้งหัวจ่ายรถยนต์ไฟฟ้าไว้ด้วย  หรือบีโอไอตอนนี้ก็ให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทที่สนใจลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเท่าที่ทราบตอนนี้มีผู้สนใจมาสมัครแล้วประมาณ 20 ราย คิดว่าจากนี้ไปไม่เกิน 5 ปีรถยนต์ไฟฟ้าก็จะมาครบทั้งระบบ"ดร.ยศพงษ์ย้ำทิ้งท้าย

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ