ข่าว

"ส่อง"โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดดิจิทัล !

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เปิดข้อมูล"ดัชนีการพัฒนาไอทีไทยอยู่อันดับ 78 จาก 176 ประเทศ เจาะกระแสซื้อขายทุเรียน Alibaba เปิดประตูโอกาศSMEs องค์กรเกษตร เร่งปรับตัวดิจิทัลเข้าถึงตลาดตปท.

 
  
          17 พฤษภาคม 2561 "เปิดข้อมูล"ดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศทั่วโลก เผย ไทยอยู่อันดับ 78 จาก 176 ประเทศ เกษตรกรและองค์กรเกษตร เร่งปรับตัวดิจิทัลเพื่อเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น  

 

 

         นายภูมิศักดิ์ ราศรี  ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยร่วมกันถึงการวิเคราะห์ผลกระทบตลาดดิจิทัลที่มีต่อภาคเกษตรว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศหรือการสื่อสารดิจิทัล มีบทบาทสำคัญมากขึ้น สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน

 

         โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านธุรกิจการค้า เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ได้รายงานสถิติเกี่ยวกับสถิติดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศต่างๆ  176 ประเทศทั่วโลก ประจำปี  2560 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 78 ของโลก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน พบว่า ประเทศส่วนใหญ่มีระดับการพัฒนาที่ดีขึ้น  

 

"ส่อง"โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดดิจิทัล !

 

           โดยเมียนมาร์ และ สปป.ลาว  มีระดับสูงขึ้นถึง 5 อันดับ อินโดนีเซีย สูงขึ้น 3 อันดับ สิงคโปร์ สูงขึ้น 2 อันดับ บรูไน และไทย สูงขึ้น 1 อันดับ ในขณะที่เวียดนามและกัมพูชา มีระดับการพัฒนาเท่าเดิม ส่วนมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีระดับการพัฒนา ลดลง 1 อันดับ

 
          จากกระแสความร่วมมือด้าน Smart Digital Hub and Digital Transformation Strategic Partnership ระหว่างไทยกับ Alibaba ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจการเกษตร ภาพรวม พบว่า ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจของไทย ธุรกิจ SMEs โรงงาน ผู้ผลิต สามารถนำเสนอสินค้าแปลกใหม่

 

"ส่อง"โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดดิจิทัล !

 

          โดยการขายผ่านระบบ online ได้มากขึ้น ผู้บริโภคจากประเทศไทย สามารถซื้อของได้ถูกลง สินค้าราคาถูกจากจีนจะถูกนำเข้ามา สินค้าราคาถูกจากไทย  ก็ส่งออกไป เกิดการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวกับ e-commerce เป็นจำนวนมาก และจะมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น การขนส่งพัสดุ การสร้างคลังสินค้า และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เป็นต้น

 

ภูมิศักดิ์ ราศรี  ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร  สศก.

 

"ส่อง"โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดดิจิทัล !

 

          ทั้งนี้สำหรับการจ้างพนักงานขาย พนักงานบริการ ตามห้างร้านต่าง ๆ จะมีปริมาณการจ้างงานลดลง กอปรผู้ประกอบการ พ่อค้าคนกลาง หรือผู้ส่งออก ผู้นำเข้าสินค้า ที่ดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม จะถูกทดแทนด้วยธุรกิจออนไลน์ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะมีการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs   ที่ผลิตสินค้าเหมือนกันจาก 2 ประเทศ เกิดการแข่งขันทางด้านต้นทุนและการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น 

 

         ในส่วนของรัฐบาล ควรให้ความสำคัญในการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศไทย จากการที่สินค้าของประเทศจีนถูกนำเข้ามาขายในประเทศเรา ดังนั้นควรส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

 

        โดยภาครัฐ  ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ต้องเร่งร่วมมือกันพัฒนาและสร้างภูมิต้านทานให้ผู้ประกอบการและธุรกิจ SMEs ของไทย และเร่งสร้าง platform หลายๆด้านให้กับสินค้าไทย เพื่อทำให้สินค้าไทยมีราคาที่ดี รวมถึงป้องกันสินค้าจากจีนที่จะเข้ามาในประเทศจนมากเกินไป

 

ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา

 

"ส่อง"โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดดิจิทัล !

 

          ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตร เป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ที่มีความสามารถในการปรับตัวด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จะมีโอกาสในการเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น สามารถเข้าถึงผู้บริโภคทั้งในประเทศไทย จีน และทั่วโลก

 

          กรณีสินค้าทุเรียน มีผู้สั่งซื้อ 80,000 ผล ภายในเวลา 1 นาที จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกทุเรียนของไทยเพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถขายทุเรียนได้ในราคาที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการขายภายในประเทศ สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรายใหม่ผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

"ส่อง"โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดดิจิทัล !

 

          ทั้งนี้ภาครัฐจะต้องมีมาตรการในการควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร ให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือ   ผู้ซื้อนั่นเอง นอกจากนี้ทุเรียนจะถูกผลิตจากประเทศไทย ส่งออก และมีการขนส่งโดยจีน ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าตามข้อตกลง FTA ของอาเซียน+1 ดังนั้นสำหรับผลไม้ของไทยจึงเป็นโอกาสทองไทย จะสามารถส่งออกได้อย่างสะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น

 

           ดังนั้น ภาครัฐจะต้องควบคุมและเข้มงวดให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรรวมกลุ่มกัน ดำเนินการตามมาตรฐานคุณภาพ เพราะสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ เสียหายง่าย  ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สินค้า  มีคุณภาพดีจนถึงผู้ซื้อ เพื่อป้องกันปัญหาข้อร้องเรียนจากผู้บริโภคได้ รวมทั้งการศึกษารายละเอียดและเตรียมความพร้อมในด้านการผลิตสินค้าให้เกิดความสมดุล เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงและในราคาที่เป็นธรรมด้วย

 

"ส่อง"โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดดิจิทัล !

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ