ข่าว

จี้กสทช.ทบทวนหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จี้กสทช.ทบทวนหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz. ชี้2มาตรฐาน-เอื้อประโยชน์ หวั่นประมูลล้ม จ่อคิวยื่นฟ้องศาล

                  วอนกสทช.ทบทวนเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์(Megahertz :MHz) ระบุเอาคลื่นมาประมูลทั้งหมด45MHz ซอยย่อยเหลือใบอนุญาต9ใบๆละ 5 MHzและมีสิทธิประมูลได้4ใบเล็กได้ถึง20MHz ชี้มีเบื้องหลังเดินเกมอุ้มบริษัทสื่อสารต่างชาติ อาจเจอฟ้องกลายเป็นคดีเรื้อรังรัฐเสียหาย
             แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานทางด้านโทรคมนาคม  เตรียมเสนอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติเห็นชอบปรับปรุงเงื่อนไขการประมูลเพื่อออกใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz จากเดิมที่แบ่งเป็น 3 ใบอนุญาตใบละ 15 เมกะเฮิรตซ์ โดยผู้เข้าประมูลได้เพียง1ใบอนุญาตเท่านั้น ปรับเปลี่ยเป็น 9 ใบเล็กใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์แต่ให้มีการประมูลสูง 4ใบเล็กรวม  20MHzโดยเตรียมเสนอบอร์ดกสทช.ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากราคาประมูลคลื่นดังกล่าวสูงมากแล้วและความจำเป็นในการใช้งานคลื่นความถี่ไม่เท่ากัน ผู้ประกอบการอยากได้จำนวนคลื่นเท่าใดก็เลือกได้เอง ซึ่งการเปลี่ยนเงื่อนไขดังกล่าวจะเกิดสองมาตรฐานในครั้งที่แล้วและครั้งนี้ ส่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งหรืออาจจะเกือบทุกราย และรัฐอาจได้รับความเสียหาย
              แหล่งข่าวระบุว่า ทั้งนี้ในการจัดทำประชาพิจารณ์ถึงหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800MHz ครั้งนี้ กำหนดให้มีใบอนุญาตได้ 3ใบๆละ 15MHz  หากมีผู้ยื่นประมูลเพียง1ราย จะต้องขยายระยะเวลาการประมูลออกไปอีก30วัน ถ้าถึงกำหนดยังไม่มีผู้ร่วมประมูลเพิ่ม ให้การประมูลเดินหน้าต่อไปโดยนำใบอนุญาตออกมาประมูล1ใบ แต่ผู้ยื่นประมูลต้องเคาะราคา 1 ครั้ง
           กรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูล 2 ราย ให้นำใบอนุญาต1ใบ 15MHz โดยไม่เลื่อนการประมูล ถ้ามีผู้ร่วมประมูล 3 ราย ให้นำใบอนุญาตออกมาประมูล 2ใบ หากมีผู้ประมูล 4รายขึ้นไปให้ประมูลได้ 3ใบอนุญาต รวม 45 MHz
           ซึ่งการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวนอกจากทำให้เกิดความเป็นธรรมกับรัฐเนื่องจากมีการแข่งขันการประมูลและยังให้ความเป็นธรรมกับผู้ชนะการประมูลคราวที่แล้วเพราะกำหนดหลักเกณฑ์ในลักษณะเดิมแต่หากมีเปลี่ยนหลักเกณฑ์โดยแบ่งใบอนุญาตออกเป็นใบเล็ก9ใบและสามารถประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุด 20MHz

           โดยไม่ได้คิดถึงจำนวนผู้ประมูลว่ามีกี่ราย ก็ให้เดินหน้าประมูลต่อไปได้นั้น แม้หลายคนคิดว่าการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz ราคาการประมูลจะสูงแล้วก็ตามการแข่งขั้นการประมูลจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่นำราคาดังกล่าวประเคนให้กับผู้รับอนุญาตรายใดรายหนึ่งจำนวน 20MHz หรืออาจประเคนให้กับรับใบอนุญาต3รายละเท่าๆกัน 15MHz จะส่งผลกระทบเหมือนที่เกิดขึ้นกับการประมูลคลื่น 2.1GHz 
           “การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ มีการคัดค้านจากผู้ชนะประมูล แต่อนุกรรมการฯอ้างว่า ขายคลื่นความถี่ดังกล่าวให้หมดดีกว่า เพราะเหลือไว้จะทำให้รัฐเสียประโยชน์มากกว่า”แหล่งข่าวคนเดิมระบุ
         อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขครั้งนี้ จึงน่าจะมีเบื้องหน้าเบื้องหลังเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมบางราย เพราะเป็นที่รับรู้กันว่าตลาดโทรคมนาคมในขณะนี้ โอกาสที่จะเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งขันได้ยาก

        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดประมูลใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ไม่คุ้มค่าทางธุรกิจ”แหล่งข่าวระบุ และว่า หากผู้เข้าร่วมประมูลสามารถได้คลื่นคนละ 3ใบอนุญาต เท่ากับได้คลื่น15เมกะเฮิร์ตซ์ต่อราย โดยไม่ต้องเคาะราคาแข่งขัน จะเกิดข้อครหาว่า มีการฮั้วราคา
         “ถ้าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯยืนยันให้แบ่งซอยย่อยใบอนุญาตออกเป็นใบละ 5MHz เชื่อว่าจะเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน ผู้ชนะการประมูลคราวที่สุดจะต้องยื่นฟ้องร้องกสทช.ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ใหม่และอาจฟ้องในคดีอาญาเพราะส่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง” แหล่งข่าวคนเดิมให้ความเห็น
           รายงานข่าวระบุอีกว่า การที่กสทช.ปรับหลักเกณฑ์การประมูลใหม่จึงไม่เป็นธรรมกับผู้รับใบอนุญาตเดิมที่มีต้นทุนสูงกว่าเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีประเด็นน่าสงสัยทำไม กทค.รีบเร่งออกและ เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่มีช่องโหว่มากมายทั้งๆที่ กสทช.มีมติให้ไปถามสำนักงานกฤษฏีฏา ถึงอำนาจหน้าที่ในการประมูลของ กสทช.ชุดรักษาการ
           ส่วนข้อเสนอให้เลื่อนโรดแม็ปประมูลคลื่น 900 MHz ออกไปก่อนนั้นแหล่งข่าวใน กสทช.เปิดเผยว่า นอกจากปัญหาสัญญานคลื่นรบกวนที่อาจมีขึ้นกับการรถไฟฯแล้ว ยังมีปัญหาการจัดช่องสัญญานคลื่นใหม่ที่กสทช.กำหนดไว้ที่ย่าน 885-895/934-940 MHzและการกำหนดแถบความถี่ของแต่ละช่องความถี่ที่กำหนดความกว้างหรือแบนด์วิธไว้เพียง 2-5MHz
           ผู้ให้บริการโทรคมนาคมส่วนใหญ่เห็นว่า การกำหนดแถบความถี่ของ กสทช. จะส่งผลก่อให้เกิดการรบกวนสัญญาณเกินกว่าสภาพปกติ โดยเฉพาะบริษัท กสทโทรคมนาคมนั้นมีหนังสือแย้งมายัง กสทช.หลายฉบับ ระบุว่าที่ผ่านมาบริษัทได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 824-839 / 869-884 MHz และลงทุนตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมตามมาตฐานที่กำหนด โดยไม่มีปัญหาคลื่นรบกวน

           การที่กสทช.กำหนดให้ต้องติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ(Filter)ที่ภาคส่งของสถานีเพื่อไม่ให้กระทบกับภาครับของคลื่นใหม่นั้น ถือว่าไม่เป็นธรรมแก่บริษัท เพราะเมื่อกสทช.กำหนดคลื่นใหม่และกำหนดแถบคลื่นความถี่แคบลงจนกระทบผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมควรให้ผู้รับใบอนุญาตใหม่ เป็นผู้รับภาระติดตั้งวงจรกรองสัญญาณรบกวนทั้งหมด หรือกำหนดมาตรการชดเชยให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมหากได้รับผลกระทบ 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ