ข่าว

เตือนรัฐระวังหลุมพรางดีแทค!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เตือนรัฐระวังหลุมพรางดีแทค!

 
               รายงานข่าวจากวงการโทรคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้บริหารเทเลนอร์ สวีเดน และดีแทคเข้าพบรองนายฯ นายสมคิด จาตุรีพิทักษ์ เพื่อติดตามความคืบหน้าและแสดงความจริงใจในการลงทุนในไทย พร้อมยืนยันจะให้ความร่วมมือสนับสนุนนโยบายประชารัฐในการส่งเสริมประชาชนคนไทยเข้าถึงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผ่านโครงการความร่วมมือกับบริษัททีโอที จำกัด(มหาชน)และ กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) นั้น   เบื้องหลังก็เพื่อยืมมือรัฐและกระทรวงดิจิทัลเพื่เศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ให้ช่วยเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กสทช. ให้ไฟเขียวอนุมัติร่างสัญญาร่วมพัฒนาคลื่น 2300 MHz กับทีโอที และ ร่างสัญญาตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง กสทกับบริษัทดีแทค

                “ในเมื่อหัวหน้าทีมเศรษฐกิจกู่ก้อง เพรียกหาการลงทุนจากต่างชาติมาโดยตลอด ผู้บริหารเทเลนอร์ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ดีแทค จึงฉวยโอกาสนี้ทวงสัญญาสุภาพบุรุษเสียเลย”
                อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่าเป็นเรื่องที่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ  คงต้องตระหนักและไตร่ตรองให้ดีหากจะกดดันให้กระทรวงดีอี และกสทช.เร่งพิจารณาไฟเขียวร่างสัญญาธุรกิจดีแทคและทีโอที เพราะทุกฝ่ายต่างก็รับรู้กันดีว่าในปัจจุบัน มีเพียงค่ายดีแทครายเดียวเท่านั้นที่กำลัง “วิ่งพล่าน" หาทางแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ในมือที่กำลังจะหมดลง หลังสัญญาสัมปทานคลื่น900 และ 1800 MHz ที่มีอยู่กับ กสท.ใกล้สิ้นสุดสัญญาลงในเดือนกันยายน 2561 นี้ ทำให้คลื่นที่มีอยู่ในมือร่วม 50 เมกะเฮิร์ต์(MHz) หายไป ดีแทคจึงจำเป็นต้องเร่งผ่าทางตันหาคลื่นใหม่มาสำรองในมือเพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินธุรกิจ
               “จะไปปูเสื่อรอการประมูลคลื่นใหม่ต้นปีหรือกลางปีหน้า ก็คงกลัวสู้ 2 ค่ายมือถือไม่ได้หรือไม่ก็กลัวจะถูก 2 ค่ายมือถือหันมาแข่งราคาจนราคาค่าคลื่นไปติดยอดดอยเอา  แถมหน้าตักที่เคยโชว์ กว่า  25,000-30,000 ล้านนั้นเอาเข้าจริงวันนี้ยังไม่ถึงเกณฑ์ราคาคลื่นขั้นต่ำที่ กสทช.ตั้งไว้เสียอีก จึงหันมาผลักดันการเร่งรัด ร่างสัญญาพันธมิตรธุรกิจทีโอทีดีกว่า เพราะจ่ายค่าเช่าคลื่นและโรมมิ่งแค่เดือนละ 300 ล้านหือปีละ 3,600 ล้านบาทก็ได้คลื่น 2300 ขนาดบิ๊กบ้ึมถึง  60 MHzไปครองได้ถึง 7-8 ปีจนถึงปี 2568  โดยไม่ต้องเสี่ยงวิ่งรอกประมูลไปได้ในทันที”
                 แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวอีกว่าแต่สำหรับรัฐและกสทช.นั้น หากแผนยิงนกทีเดียวได้ 3 เด้งของดีแทคสำเร็จ หนทางการประมูลคลื่นความถี่ 900 ละ 1800 MHz ที่ กสทช.ตั้งความหวังจะสามารถดึงเม็ดเงินประมูลเข้ารัฐได้นับแสนล้านบาทนั้น คงไปไม่ถึงฝั่งแน่ เพราะเท่ากับดีแทคมีคลื่นในมือแล้ว  ขณะที่เอไอเอสและทรูมูฟเองนั้นก็ยังมีคลื่นอยู่ในมือมากพอที่จะรองรับการให้บริการในอนาคต อีกทั้งหากจะต้องไปแข่งขันประมูลคลื่นในราคาสูงก็ยิ่งสร้างปัญหาให้แก่บริษัท
               ส่วนกรณีที่ บริษัททรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัดในเครือทรูคอร์ป และบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ตเวิร์ค (AWN) ในเครือเอไอเอส ยื่นหนังสือขอขยายเวลาการจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์(MHz)ในงวดสุดท้าย ที่แต่ละรายต้องชำระร่วม 60,000 ล้านบาทออกไปอีก 6 งวด โดยขอชำระเป็นงวดละ 10,000 ล้านบาทนั้นว่า ถือเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่า นโยบายการนำคลื่นความถี่ออกประมูลโดยตั้งเกณฑ์ราคาประมูลเอาไว้สูงลิ่วของ กสทช.นั้น ไม่ตอบโจทก์แต่อย่างใด และไม่ใช่มีเพียงผู้ประกอบการโทรคมนาคมเท่านั้น ยิ่งในส่วนของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลนั้นยิ่งเห็นได้ชัดว่าล้วนอยู่ในสถานะหืดจับหายใจไม่ทั่วท้อง จนต้องร้องให้รัฐบาลและ กสทช.เยียวยา

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ