ข่าว

อุตฯ พร้อมปล่อยเงินกู้กองทุนประชารัฐรอบ 2 ถึงสิ้น ธ.ค. นี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อุตฯ พร้อมปล่อยเงินกู้กองทุนประชารัฐรอบ 2 ถึงสิ้น ธ.ค. นี้

  
             นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการ           การพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ                   วงเงิน 20,000 ล้านบาทนั้น โดยความคืบหน้าล่าสุดตั้งแต่เปิดโครงการเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม 2560 มีการอนุมัติเงินกู้           ผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME Development Bank ไปแล้วกว่า 1,118 ราย              วงเงินกว่า 4,423 ล้านบาท จากจำนวน SMEs ที่ยื่นคำขอสินเชื่อมากกว่า 4,000 ราย วงเงินกว่า 21,000 ล้านบาท                

               อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาหลักเกณฑ์คุณสมบัติของโครงการมี SMEs จำนวนหนึ่งที่คุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์การพิจารณา ทำให้ขณะนี้ทางกองทุนฯ ยังมีวงเงินเหลือให้กับ SMEs ที่ประสงค์ จะยื่นคำขอสินเชื่อ คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนา          เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ จึงมีมติให้ขยายการเปิดรับการยื่นขอสินเชื่อออกไปจนถึงเดือนธันวาคม 2560 
                 สำหรับในปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน SMEs ได้เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือ SMEs อย่างต่อเนื่องตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น (Local Economy) และ              ยุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่ง เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม             ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในแต่ละจังหวัดแล้ว รวมถึงการออกคูปอง สำหรับใช้บริการด้านต่าง ๆ อาทิ บริการปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การใช้บริการ ศูนย์วิเคราะห์ วิจัย และทดสอบผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น ทั้งนี้ 2 กิจกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายให้ SMEs ใช้บริการจำนวน 5,000 ราย ในวงเงินทั้งสิ้น 320 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ (กองทุน 20,000 ล้าน)

               นอกจากนี้ กสอ. ยังเตรียมแผนการ             ใช้โมเดลศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (ITC) จากส่วนกลางที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว เพื่อเป็นต้นแบบในการยกระดับ            งานบริการไปยังศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่ง นำไปใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุน SMEs ให้เข้มแข็งในระดับภูมิภาคต่อไป ขณะเดียวกันก็ได้มีการเชิญชวนผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้คำปรึกษาแนะนำแก่ SMEs เสมือนเป็นพี่เลี้ยง กว่า 20 บริษัท อาทิ SCG ปตท. เด็นโซ่ เดลต้า โตโยต้า ฮอนดา นิสสัน เป็นต้น 
           ขณะเดียวกัน กสอ. และ สสว. ยังมีการเตรียมสร้างกลไกเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริม SMEs เข้าสู่ Digital Value Chai              โดยพัฒนาแพลตฟอร์มรูปแบบเว็บไซต์ T-Good Tech ขึ้นมา เพื่อนำ SMEs ในแต่ละโครงการของรัฐจำนวน 5,000 ราย              เข้าไปทำการเชื่อมโยงเป็นซัพพลายเชนกับผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยล่าสุดกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม            ของญี่ปุ่น หรือ METI ได้มอบหมายให้องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรม ภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น  หรือ SMRJ ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประจำที่ไทยเพื่อช่วยจัดทำแพลตฟอร์มการเชื่อมโยง SMEs ของไทยกับไทย และในอนาคตจะเชื่อมไทยไปยังผู้ประกอบการของญี่ปุ่น รวมถึงเชื่อมไทยไปยัง กลุ่ม AEC อีกด้วย  
    
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ