ข่าว

ก. แรงงานเร่งพัฒนาคนทำงานพื้นที่อีอีซี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ก. แรงงานเร่งพัฒนาคนทำงานพื้นที่อีอีซี

 

          นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่าจากการที่รัฐบาลได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Easter Economic Corridor--EEC) ใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก รองรับการเป็นฐานการผลิต 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการลงทุน ยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ในระยะยาวนั้น จึงมีความต้องการคนทำงาน 5 ปี (2560-2564) แบ่งการผลิตโดยภาคการศึกษา 43,515 คน และภาคการพัฒนา 891,369 คน รวม 934,884 คน ได้แก่ ชลบุรี 77,865 คน ระยอง 822,770 คน และฉะเชิงเทรา 34,249 คน ประกอบกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ในหัวข้อ “จากไทยแลนด์ 4.0 สู่อีอีซีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ” ชี้ว่าความสำเร็จของ EEC จะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถทางเทคโนโลยีและทักษะของแรงงานที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เน้นย้ำให้มีการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดในพื้นที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี (สพร. 3 ชลบุรี) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 17 ระยอง (สพร. 17 ระยอง) สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานฉะเชิงเทรา (สนพ.ฉะเชิงเทรา) ดำเนินการฝึกอบรมในการผลิตแรงงานฝีมือป้อนตามความต้องการของตลาดในพื้นที่ เน้นหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน หรือฝึกอบรมในรูปแบบ Cluster และ New Engine of Growth

               นายสุทธิ  กล่าวต่อไปว่าสำหรับในปีงบประมาณ 2561 สพร. 3 ชลบุรี และสพร. 17 ระยอง ซึ่งเป็นสถาบันพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Manufacturing Automation and Robotics Academy—MARA) จัดหาครุภัณฑ์การฝึกที่ทันสมัย เช่น เครื่องจักรกลการผลิตและหุ่นยนต์ ชุดฝึกเครื่องมือวัดและหุ่นยนต์ ชุดฝึกระบบออโตเมชั่นชั้นสูง ชุดฝึกอบรมการเชื่อต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อเป็นครุภัณฑ์ในการพัฒนาทักษะฝีมือคนทำงานรองรับเทคโนโลยีชั้นสูง สาขา Automation and Robotics รองรับไทยแลนด์ 4.0 จะดำเนินการภายใต้ “โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” โดยเน้นฝึกอบรมฝีมือให้แก่คนทำงานที่ต้องการเข้าสู่ตลาดแรงงาน นักศึกษาระดับปวช. ปวส ปีสุดท้าย ฝึกยกระดับ พนักงานในสถานประกอบกิจการ หัวหน้างาน ผู้บริหารของสถานประกอบกิจการ รวมทั้ง SMEs Industry 4.0 เพื่อเพิ่มผลิตภาพและสมรรถนะกำลังแรงงาน (Competency Workforce) ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ ปรับเปลี่ยนทักษะฝีมือ (Re-Skill) อาศัยความร่วมมือการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนและยกระดับฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ เพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านทักษะ STEM และภาษาต่างประเทศ มีเป้าประสงค์ให้เป็นแรงงานที่มีนวัตกรรมและใช้ภาษาต่างประเทศในสื่อสารในการทำงานและชีวิตประจำวัน 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ