ข่าว

สตง.ขวาง"กสทช"ทำเน็ตชายขอบ ประเคน"ทีโอที"เมินค่าบริการถูก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สตง.ขวาง"กสทช"ทำเน็ตชายขอบ ประเคน"ทีโอที"เมินค่าบริการถูก

          ผู้ว่าสตง.แบไต๋ขวางเน็ตชายขอบ กสทช.แค่อยากประเคนงานให้ทีโอที-แคท อ้างช่วยเหลือรัฐวิสาหกิจให้อยู่รอด ยอมรับไม่ได้ตรวจสอบเชิงลึกทำเน็ตประชารัฐแพงลิ่ว ขณะกสทช.ยันทำตามกฎหมายไม่สามารถประเคนงบตรงให้ทีโอทีได้ ต้องผ่านกองทุนดีอีเท่านั้น

            รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการ กสทช. เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) มีหนังสือทักท้วงการดำเนินโครงการ “เน็ตชายขอบ”ของกสทช. มาถึง 4 ครั้งในช่วงขวบเดือนที่ผ่านมาว่า ล่าสุดในการให้สัมภาษณ์ของนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสตง.ต่อสำนักงานแห่งหน่ึงได้ยอมรับว่า การที่สตง.ทำหนังสือทักท้วงโครงการดังกล่าวไป เพราะต้องการให้โอนโครงการดังกล่าว รวมถึงโครงการติดต้ังและให้บริการเน็ตประชารัฐในส่วนที่ กสทช.จะดำเนินการในอนาคตไปให้บริษัททีโอที และกสท.โทรคมนาคม ดำเนินการตามมติ ครม.เพื่อช่วยเหลือรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพดำเนินการได้ให้สามารถอยู่รอด แม้ว่าทีโอทีจะประมูลเน็ตชายขอบไปได้ถึง 3 ใน 8 สัญญา   แต่สตง.ยังมองว่ายังไม่เป็นไปตามมติ ครม.ที่วางไว้ และยังเป็นกังวลว่าภายหลังให้บริการ 5 ปีไปแล้วโครงข่าย Network Backbone ที่กสทช.จะต้องโอนไปให้กระทรวงดีอีนั้นจะเกิดปัญหาตามมา เนื่องจากรัฐไม่ได้เป็นเจ้าของ

            ส่วนเรื่องของราคาที่ กสทช.ยืนยันว่าสามารถให้บริการได้ในราคาไม่เกิน 200 บาท/เดือนน้ันได้ขอให้ กสทช.ทำหนังสือยืนยันและชี้แจงกลับมาว่าทำได้อย่างไร มีวิธีคิดต้นทุนในการให้บริการอย่างไร มีข้อตกลงกับบริษัทเอกชนที่ให้บริการอย่างไร หากทำได้จริงก็ถือว่าเกิดประโยชน์ต่อประชาชน

           ขณะที่เรื่องของเน็ตประชารัฐที่กระทรวงดีอีรับไปดำเนินการ 24,700 หมู่บ้านและได้มอบให้ทีโอทีดำเนินการติดตั้งให้โดยวิธีพิเศษไม่มีการประมูลซ่ึงมีข่าวว่ายังไม่สามารถเคาะค่าบริการได้เพราะมีต้นทุนที่แพงกว่านั้น นายพิศิษฐ์กล่าวว่ายังไม่ได้เข้าไปตรวจสอบ แต่หากมีราคาแพงกว่าที่กสทช.ดำเนินการก็ต้องมีการตรวจสอบในรายละเอียดแต่ขณะนี้ข้อมูลที่ตรวจสอบดูยังไม่พบความผิดปกติ

              ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานกสทช.กล่าวว่ารับทราบถึงความต้องการของ สตง.ที่มีต่อเรื่องนี้ แต่กสทช.ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและยืนยันว่าไม่สามารถจะโอนงบประมาณจากกองทุน USO ของกสทช.ไปให้ทีโอทีดำเนินการโดยตรงได้ เพราะตามพรบ.กสทช.นั้นกำหนดเอาไว้ชัดเจน ในกรณีทีกสทช.ไม่ประสงค์จะดำเนินโครงการเอง ก็ให้มอบเงินงบประมาณที่จะดำเนินการไปให้กองทุนดิจิทัล(กองทุนดีอี) ของกระทรวงดีอีดำเนินการ ส่วนกองทุนดีอีจะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาดำเนินการหรือมอบหมายให้ใครเข้ามาดำเนินการก็แล้วแต่               “แม้จะมีมติ ครม.เรื่องตั้งบริษัทร่วมทุน NBNCO ของทีโอที-แคท แต่การดำเนินโครงการในส่วนของ กสทช.นั้นไม่เกี่ยวกันยังคงมีกฎหมายรองรับหากกสทช.ไม่ทำเองก็ไม่สามารถโอนงานไปให้บริษัทร่วมทุนโดยตรงได้ ต้องผ่านทางดีอีเท่านั้น" 

              นายฐากรกล่าวในส่วนเรื่องของค่าบริการเน็ตชายขอบ 3,920 หมู่บ้านนั้น กสทช.ได้กำหนดเงือนไขเอกชนที่ประมูลติดตั้งให้บริการจะคิดค่าบริการไม่เกิน 200 บาทต่อเดือน เพราะเงินลงทุน 12,000 ล้านบาทนั้นถือเป็นเงินลงทุนของรัฐเมื่อรัฐได้ลงทุนไปกว่า 80% แล้ว เอกชนที่เข้าประมูลครั้งนี้ลงทุนส่วนปลายลากสายจากจุด NBTC Node เข้าไปถึงครัวเรือนเท่านั้นจะเหมาคิดเป็นต้นทุนของตนเองไม่ได้ การที่ทีโอทีเข้ามาประมูลและได้รับรู้ถึงเงื่อนไขดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ต้องถือว่า ทีโอทีนั้นเป็นเพียง 1 ในผู้นับจ้างจึงต้องทำตามเงื่อนไขทีโออาร์ หากไม่สามารถรับเงื่อนไขดังกล่าวได้ ก็ไม่ควรเข้ามาเซ็นสัญญา แต่กสทช.จะต้องยึดหลักประกันการดำเนินงาน เพราะถือว่าได้รับทราบเงื่อนไขนี้อยู่แล้ว

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ