ข่าว

เปิดแผน“บ้านฉางโมเดล”ดึงชุมชนสร้างเมืองรับอีอีซี 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดแผน“บ้านฉางโมเดล”ดึงชุมชนสร้างเมืองรับอีอีซี 

 

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยถึงแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน 15 จังหวัดที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่น โดยในจำนวนนี้ จะเร่งพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 3 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ,ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เพื่อจัดเตรียมพื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอีอีซี

นายเดชา พิมพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวว่า โครงการนำร่องที่จะเร่งผลักดันในพื้นที่ อีอีซี ได้แก่ การพัฒนา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาพื้นที่อื่น โดยชาวบ้านใน อ.บ้านฉางได้รวมตัวเสนอที่ดิน 1,400 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่ในรูปแบบคอมเพล็กซ์  ประกอบด้วย ศูนย์การค้า ศูนย์โลจิสติกส์ ที่พักอาศัยที่ทันสมัย รองรับการขยายตัวของเมืองการบินอู่ตะเภาที่จะมีแรงงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และนักท่องเที่ยวจะเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านเจ้าของพื้นที่จะเป็นผู้ถือหุ้นร่วมเป็นเจ้าของคอมเพล็กซ์ใหม่นี้ ได้รับปันผลจากผลประกอบการในพื้นที่ และราคาที่ดินที่สูงขึ้น

“การดึงชาวบ้านเข้ามาถือหุ่นในโครงการ ก็จะช่วยให้ที่ดินของชาวบ้านมีราคาเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันราคาขายที่ดินไร่ละ 3 ล้านบาท หลังพัฒนาแล้วราคาอาจจะขึ้นไปถึง 30 ล้านบาทได้ ซึ่งชาวบ้านจะได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการนี้ในระยะยาว แทนการขายที่ดินที่ชาวบ้านจะได้เงินเพียงก้อนเดียวและชุมชนได้ประโยชน์จากภาคอุตสาหกรรมน้อย”

ในส่วนของภาครัฐจะเข้ามาเป็นตัวกลางในการช่วยชุมชนบ้านฉางให้ตั้งเป็นนิติบุคคล และจะเข้าไปดูแลในการบริหารจัดการให้เกิดผลกำไรและการแบ่งชันผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นที่เป็นคนในชุมชน โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะร่วมกันคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ในการจัดทำแผนรายละเอียดของโครงการนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นระหว่างหน่วยราชการ ภาคเอกชน และคนในชุมชน จากนั้น กกร. จะเป็นผู้ยื่นเสนอแผนให้กับคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.)ผลักดันให้เป็นแผนพัฒนาในพื้นที อีอีซี ต่อไป

โดยการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมในแนวทางนี้จะดึงชาวบ้านในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์จากการที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาตั้งในพื้นที่ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในแต่ละพื้นที่ก็จะมีโครงการพัฒนาที่แตกต่างกันตามความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และลดการต่อต้านในการตั้งพื้นที่อุตสาหกรรมในที่ต่างๆ

สำหรับพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประกอบด้วย 15 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปราจีนบุรี ชลบุรี นครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ของแก่น สงขลา และสุราษฎร์ธานี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ