ข่าว

เอกชนชี้ก้าวใหม่‘ข้าวไทย’ ใช้นวัตกรรมสู่‘อาหาร-บิวตี้’

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เอกชนชี้ก้าวใหม่‘ข้าวไทย’ ใช้นวัตกรรมสู่‘อาหาร-บิวตี้’

                  นายประวิทย์ สันติวัฒนา กรรมการบริหารกลุ่มน้ำมันรำข้าวคิง เปิดเผยในการประชุมเชิงสัมมนา เรื่อง นวัตกรรมข้าว ก้าวต่อไป ในงาน Thailand Rice Convention 2017 หัวข้อ น้ำมันรำข้าวอีกก้าวเพื่อสุขภาพ รำข้าว ว่า การผลิตน้ำมันจากรำข้าว ประเทศไทยมีการผลิตมานานกว่า 30 ปี แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะในอดีตมองกันว่า เป็นน้ำมันที่ไม่มีคุณค่า ทางกลุ่มน้ำมันรำข้าวคิงจึงพยายามสื่อสาร มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และพบว่าในตัวของข้าวนั้นมีสารต่างๆอย่างมากมายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่มีชาวนาอยู่จำนวนมากด้วย

                 การผลิตน้ำมัน 1 ขวดที่รำข้าว 11 กก. จะใช้ข้าวประมาณ100 กก. และ ใช้ข้าวจากกระบวนการผลิตของชาวนากว่า 1.2 ตัน เพื่อผ่านกระบวนการสกัดออกมาเป็นน้ำมันดิบขั้นตอนการโมดิฟาย กลายเป็นน้ำมันเพื่อการบริโรค ซึ่งในขั้นตอนนี้หากมีการควบคุมได้ดี สารอาหารที่อยู่ในรำข้าวจะเหลือถึงตัวผู้บริโภค ส่วนกากที่เหลือส่วนใหญ่ใช้ทำอาหารสัตว์กว่า 100 % ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นทำปุ๋ย หรือนำไปเพาะเห็ด

              ปัจจุบันมี 5 ประเทศที่ผลิตน้ำมันรำข้าว คือ อินเดีย จีน ไทย ญี่ปุ่น และเวียดนาม โดยข้าวของอินเดียใช้ประโยชน์จากรำข้าวมากที่สุด ประมาณ 4.8 ล้านตัน มากกว่าเมื่อเทียบกับไทยที่ได้รำข้าวประมาณ 1 ล้านตันจากรำข้าวที่ออกมาจากกระบวนการผลิตถึง 2 ล้านตัน 

             ขณะที่เวียดนามีศักยภาพที่จะใช้ประโยชน์จากรำข้าวได้สูงมาก ส่วนจีนมีการพัฒนาได้เร็วเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ไม่มีการผลิตน้ำมันจากรำข้าวเลย

                “สารที่มีในรำข้าว สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผมเรียนจบเคมีมา สิ่งที่ผมอยากทำมากที่สุดคือ การควบคุมคุณค่าอาหารเหล่านั้นเอาไว้ เพื่อส่งตรงถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด ซึ่งน้ำมันรำข้าวคิง ทุ่มเทกับการพัฒนามากจนได้รางวัล แต่ถ้าสกัดสารอาหารเหล่านี้แล้วนำไปต่อยอดทำเครื่องสำอางได้ จะเป็นการเพิ่มมูลค่าได้อย่างสูงสุด ซึ่งในข้าวที่มีสครับอยู่ ปัจจุบันมีฝรั่งเศสที่ปลูกข้าวไม่ได้แต่ผลิตจำหน่ายในราคาที่สูงมาก ประมาณ 1 แสนดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งไทยควรจะทำเพื่อป้อนกลุ่มเครื่องสำอาง “

              นอกจากนี้ในแป้งที่ออกมาจากรำข้าวหลังจากสกัดน้ำมันออกแล้ว ยังมีโปรตีนสูงถึง17% รวมทั้งมีไฟเบอร์อยู่ด้วย ทำให้มีราคาแพงมาก น้ำมันที่สกัดได้ยังสามารถนำไปทำเนยที่มีราคาแพง 

                 นายประวิทย์ กล่าวว่าหากไทยทำได้ แล้วดึงส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อย 10 % จะมีมูลค่ามหาศาล อีกทั้งจากผู้บริโภคในสหภาพยุโรปหรืออียูที่พยายามเลิกใช้น้ำมันจากปาล์ม เป็นโอกาสของกลุ่มน้ำมันรำข้าว ที่ผู้บริโภคจะหันใช้ ในขณะที่แป้งข้าวยังสามารถพัฒนาไปใช้ในกลุ่มอาหาร เช่น พิซซ่าที่จะทำให้ไฟเบอร์สูงขึ้นทันที การทำเทียนไขจากน้ำมันรำข้าวเพื่อสนองความต้องการจากกลุ่มที่ไม่ต้องการใช้ไขจากผึ้ง เป็นต้น

                “การใช้ประโยชน์ข้าวเพื่อผลิตเป็นน้ำมันและดึงคุณค่าทางอาหารมาใช้ประโยชน์นั้น จำเป็นต้องได้จากวัตถุดิบต้นน้ำที่มีคุณภาพ ซึ่งเกษตรกร โรงสี จะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ เป็นสำคัญ”

                  นางลลนา ธีระนุสรณ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตอาหาร บริษัท เคซีอี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าว ในหัวข้อ นวัตกรรมกับการพัฒนาแป้งข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ว่า ผลิตภัณฑ์แบรนด์อิมพีเรียลมีการใช้แป้งข้าวโดยเฉพาะจากพันธุ์ไรซ์เบอรรี่มาผลิต สินค้ามากขึ้น โดยใช้อินโนเวชั่นเข้ามาช่วย และใช้บายด์โปรดักส์ เพื่อให้เหลือสิ่งที่ต้องสูญเสียให้น้อยที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม และคุ้มกับการลงทุน

                 “การคิดเพื่อผลิตสินค้าออกจำหน่ายแต่ละชิ้นงานต้องคิดให้ครอบคลุ่มทั้งระบบ ข้าวสามารถผลิตทั้งกลุ่มอาหาร และไม่ใช่อาหาร อยู่ที่ว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากตรงนั้นในรูปแบบไหน การสร้างตลาดเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัจจุบันการจำหน่ายผ่านเวปไซด์กำลังมาแรง ดังนั้นทำอย่างไรจะให้ข้าว เข้าถึงตลาดเหล่านี้ได้ ซึ่งการแนะนำสินค้า หรืออินฟอเมชั่นเป็นสำคัญให้ที่จะทำให้ผู้บริโภครู้ว่าต้องซื้อเพราะอะไร ดังนั้นจึงต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมาย เจาะกลุ่มให้ตรงเช่นการผลิต ข้าวเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับ กลุ่มข้าวสี” นางลลยนา กล่าว

                นางลลนา กล่าวว่า ปัจจุบันแนวตลาดสุขภาพกำลัลมาแรง ทางบริษัท เคซีอีฯจึงเลือกที่จะใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาผลิต โดยรับซื้อข้าวหักจากมูลนิธิเพื่อนพึ่งพา ในราคากก.ละ 40 บาท ซึ่งแพงกว่าเมื่อเทียบกับข้าวทั่วไป แต่เมื่อนำมาทำเป็นคุกกี้แล้วสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึงกก.ละ 700บาท อีกทั้งยังสามารถนำมาทำแป้งเพื่อวาฟเฟิลและอื่นๆได้อีกมาก

                อย่างไรก็ตามแป้งจากข้าวไม่สามารถทดแทนการใช้แป้งสาลีได้ทั้งหมดดดยเฉพาะขนมที่ต้องการความฟูนุ่ม ซึ่งบริษัทเคซีจี ฯอยู่ระหว่างการคิดวิจัยเพื่อลดการใช้แป้งสาลีให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้ที่แพ้โปรตีนจากแป้งสาลี ซึ่งอาหารก็เหมือนแฟชั่นที่สามารถเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา. ผู้บริโภคไม่ได้นิยมแพนเค้กทั่งปีได้ตลอดปีจึงต้องคิดค้นหาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง กรณ๊ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีคุณสมบัติน้ำตาลในข้าวดูดซึมในเลือดช้าเหมาะสมมากกับผู้ป่วยเบาหวาน ยังมีสารต่อต้านมะเร็ง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผลิตภัณฑ์อิมพีเรียลสามารถเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น

                นายสมประสงค์ พยัคฆพันธ์ ประธานคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย ภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวในหัวข้อ นวัตกรรมข้าวไทยในอุตสาหกรารมเพื่อสุขภาพและความงาม ว่า มูลค่าเครื่องสำอางในประเทศไทยแต่ละปีสูงมากถึง 3 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโตสูงถึงปีละ 50 % แต่ไทยมีการนำเข้าวัตถุดิบเครื่องสำอางทั้งหมด 100% แม้ว่าไทยจะสามารถสร้างวัตถุดิบเหล่านี้เองได้ในชุมชนที่มีสินค้าโอทอป แต่ไม่รู้จักนำเอานวัตกรรมไปใช้

                 เหตุผลทั้งหมดเหมาะสมมากที่ไทยจะเริ่มทำธุรกิจบิวตี้ แต่ไม่ง่าย เพราะเครื่องสำอางต้องมีคุณภาพ เป็นสำคัญ ไทยต้องก้าวพ้นจากตรงนี้ให้ได้ ไม่ใช้มีวัตถุดิบแล้วนำมาขยำแล้วขายได้เลย แต่จากที่ไทยมีฐานวัตถุดิบอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาส ซึ่งอย่างแรกที่ต้องรู้ก่อนทำคือความต้องการของลูกค้า ต้องทำอะไรที่มีคนซื้อถ้าทำแล้วใช้เองไม่ควรทำ

                 ทั้งนี้ตลาดเครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดคือ สกินแคร์ หรือ ครีมทาผิวเป็นพื้นฐาน ปัจจุบันมีคนสูงวัยมากขึ้น ผิวที่เหยี่ยวย่นสามารถฟื้นฟูได้ ซึ่งในข้าวมีวิตามินบี 3 ที่สามารถพื้นฟูสภาพให้กลับมาอ่อนเยาว์ได้ และมีไวท์เทรนนิ่งเพื่อเพิ่มความขาว สองสิ่งนี้จะทำให้เข้าถึงลูกค้าได้เร็วที่สุด โดยเอเชียเป็นตลาดใหญ่ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก และแบรนด์ตะวันตกเริ่มผลิตเครื่องสำอางค์ตามแบรนด์เอเชีย เช่น ลังโคมที่ผลิตคุชชั่นที่เป็นเครื่องสำอางค์ของเกาหลี เป็นต้น

                “ตลาดเอเชีย และตลาดในประเทศกำลังจะกลับมา แต่ลักษณะของตลาดจะเปลี่ยนไปผู้บริโภคจะต้องได้รับความมั่นใจว่าสินค้าที่ซื้อใช้แล้วได้ผล ในอนาคตสินค้าอาจเปลี่ยนรูปแบบส่งตรงวัตถุดิบให้กับลูกค้าเพื่อผสมใช้เองตามลักษณะผิว สิ่งเหล่านี้ผู้ผลิตวัตถุดิบจะต้องคิดเพื่อตอบโจทย์”

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ