ข่าว

แบงก์เอกชนช่วยลดภาระลูกหนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ธนาคารพาณิชย์ทยอยออกมาตรการบรรเทาภาระหนี้ ให้แก่ลูกหนี้ทั้งรายบุคคล และธุรกิจ ทั้งการพักชำระหนี้ และเงินทุนหมุนเวียน

            

 

          หลังจากธนาคารของรัฐได้ทยอยออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้มาแล้วนั้น ล่าสุดธนาคารพาณิชย์ต่างก็ได้ทยอยออกมาตรการ เพื่อบรรเทาภาระแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ดังนี้

          ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) มีมาตรการสำหรับลูกค้าเอสเอ็มอี ประกอบด้วยการพักชำระเงินต้นสูงสุดนาน 6 เดือน หรือการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย สูงสุดนาน 3 เดือน และดอกเบี้ยอัตราพิเศษสำหรับเงินทุนหมุนเวียน โดยลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มจะได้รับพิจารณาเป็นรายๆ ไป ขณะที่ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมของลูกค้าแต่ละราย

          ส่วนลูกค้าบุคคล มีมาตรการผ่อนผันให้ลูกค้าสินเชื่อบ้าน, สินเชื่อสวัสดิการประเภทไม่มีหลักประกัน, สินเชื่อแคชทูโก, สินเชื่อเรดดี้แคช, และบัตรเครดิต สามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระหนี้ได้สูงสุด 3 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้แล้วแต่ประเภทสินเชื่อ นอกจากนี้ ลูกค้าสินเชื่อบ้านยังสามารถขออนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อสร้างหรือซ่อมแซมบ้านที่เสียหายจากน้ำท่วมได้ สูงสุด 20% ของมูลค่าหลักประกัน

          ส่วน ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ได้ออกมาตรการช่วยเหลือแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะพิจารณาความเหมาะสมทางธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย กรณีลูกค้ารายย่อย คือ 1.พักชำระเงินต้นสูงสุดนาน 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน  และปรับลดอัตราการผ่อนชำระ 2.ให้วงเงินสินเชื่อ O/D  ระยะเวลา 5 ปี และไม่ต้องชำระเงินต้นสูงสุด 6 เดือน โดยปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MLR -1% ปีที่ 2-5 อัตราดอกเบี้ย MLR เพื่อนำไปปรับปรุง ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย หรือสถานประกอบการ

          ลูกค้าธุรกิจ คือ 1.พักชำระหนี้เงินต้นนานสูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้สูงสูด 12 เดือน และปรับลดอัตราการผ่อนชำระ 2.เพิ่มวงเงินสินเชื่อ O/D 20% ของวงเงินเดิมไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และ 3.ให้วงเงินสินเชื่อเพื่อปรับปรุง ฟื้นฟูธุรกิจ ระยะเวลา 3 ปี ดอกเบี้ยปีแรก 5% ปีที่ 2-3 MLR -1% และไม่ต้องชำระเงินต้นสูงสุด 6 เดือน

          ด้าน ธนาคารกรุงเทพ มีการช่วยเหลือ 3 แนวทาง คือ การผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าจากผลกระทบของอุทกภัย โดยการสนับสนุนให้สินเชื่อเพิ่มเติม วงเงินให้ความช่วยเหลือ 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี จำนวน 5,000 ล้านบาท และวงเงินให้สินเชื่อระยะยาว ไม่เกิน 5 ปี จำนวน 5,000 ล้านบาท สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการและลูกค้าบุคคลเดิมของธนาคาร ทั้งประเภทสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กิจการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้า ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ การซื้อสินค้าทดแทน และ/หรือซ่อมแซมปรับปรุงสถานประกอบการหรือที่พักอาศัย

          อีกทั้ง พร้อมให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องหลังน้ำลด โดยจะพิจารณาตามสภาพการณ์และความเดือดร้อนของลูกค้าเพื่อเสนอทางออกที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละราย

          และ ธนาคารกสิกรไทย  ประกอบด้วย การลดยอดผ่อนชำระหรือพักชำระเงินต้นนานสูงสุด 12 เดือน รวมถึงการขยายเทอมตั๋วสัญญาใช้เงินและวงเงินการค้าต่างประเทศ และหากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ลูกค้าที่ต้องการวงเงินเพื่อซ่อมแซมสถานประกอบการ เครื่องจักร รวมถึงชดเชยสต็อกสินค้าที่เสียหายจากอุทกภัย ธนาคารจะพิจารณาให้วงเงินกู้โดยพักชำระเงินต้นนานสูงสุด 6 เดือน และไม่ต้องประเมินราคาหลักประกันใหม่ โดยต้องขอวงเงินภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ