ข่าว

เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ฟัน'ปู'โยก'ถวิล'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน. ฟัน 'ปู' โยก 'ถวิล' เอื้อพวกพ้อง

� � � � � � � � � � � � � �หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 รวมทั้งรัฐมนตรีที่ร่วมลงมติ กรณีโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย�
� � � � � � � � � � � � � �มาตรา 181 บัญญัติว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท (4) สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ตามมาตรา 158 หรือมาตรา 159(5) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 174(6) มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 183(7) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267, 268 หรือมาตรา 269(8) วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
� � � � � � � � � � � � � �การพ้นจากตำแหน่งของคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 180 วรรคหนึ่ง จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ เฉพาะการพ้นจากตำแหน่งของคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 180 วรรคหนึ่ง นั้น ยังมิได้ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง เนื่องจากมาตรา 181 บัญญัติให้ยังต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
� � � � � � � � � � � � � �ดังนั้น กรณีคำร้องนี้จึงแตกต่างจากการสิ้นสุดจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้องภายหลังจากที่ความเป็นรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของบุคคลเหล่านั้นสิ้นสุดลง ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัย เพราะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเหล่านั้นไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติในตำแหน่งที่สิ้นสุดลงแล้วแต่อย่างใด ประกอบกับมาตรา 182 มีเจตนารมณ์มุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์มหาชนมิให้บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือกระทำการอันต้องห้าม ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี มาปฏิบัติหน้าที่อันมีความสำคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจ และชอบที่จะรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย
� � � � � � � � � � � � � �ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปในประเด็นที่ 2 ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเป็นที่สุดไว้ในคำพิพากษาเป็นข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่มีความเกี่ยวเนื่องกับคดีนี้ เป็นอันเด็ดขาดมิอาจกล่าวอ้างโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ จึงชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับฟังมาใช้เป็นฐานตั้งต้น ประกอบการตรวจค้นหาความจริงและความชอบด้วยรัฐธรรมนูญคดีนี้ต่อไป
� � � � � � � � � � � � � �คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ผู้ฟ้องคดี นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อปี 2552 เป็นต้นมา ต่อมาคณะรัฐมนตรี โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 จากนั้นสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือลับมาก ที่ นร. 0401.2/2418 ลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ แจ้งว่า มีตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ตำแหน่งเลขที่ 6 ว่างอยู่ เห็นควรให้ความเห็นชอบและยินยอมการรับโอนผู้ฟ้องคดีมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว และขอรับความเห็นชอบและยินยอมการโอน จากรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหน่วยงาน
� � � � � � � � � � � � � �โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหนังสือลับมาก ที่ นร. 0401.2/8303 ลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ถึง พล.ต.อ.โกวิท แจ้งว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเห็นชอบ และมีความประสงค์จะขอรับโอน และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือลับมาก ที่ นร. 0401.2/8302 ลงวันที่ 5 กันยายน 2554 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระทราบจร ในวันที่ 6 กันยายน 2554 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้อนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 อนุมัติตามเสนอ
� � � � � � � � � � � � � �จากนั้นได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2554 ให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พ้นจากตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ�
� � � � � � � � � � � � � �ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า แม้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่การใช้อำนาจดุลพินิจดังกล่าว นอกจากจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายและอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ต้องมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวด้วย�
� � � � � � � � � � � � � �อีกทั้งข้อเท็จจริงจากการไต่สวน และบันทึกถ้อยคำยืนยันเพิ่มเติมจากผู้ร้องว่า คดีนี้ผู้ถูกร้องมีความมุ่งหมายที่จะผลักดันให้เครือญาติของผู้ถูกร้อง คือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ พี่ชายของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร อดีตภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของผู้ถูกร้อง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากกำหนดเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2555 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาเกษียณอายุก่อนที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2556�
� � � � � � � � � � � � � �คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของผู้ถูกร้องต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) หรือ (3) อันจะเป็นการทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 วรรคหนึ่ง(7) หรือไม่
� � � � � � � � � � � � � �พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) และ (3) เป็นบทบัญญัติในหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 2 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยบัญญัติว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จะต้องไม่ใช้สถานะ หรือตำแหน่ง เข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซง เพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สาธารณะ ถือเป็นเรื่องที่ผิดต่อกฎหมายและต่อจริยธรรม ขัดต่อหลักความเป็นธรรมและระบบการบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายบุคคลในตำแหน่งต่างๆ ต้องสอดคล้องกับระบบธรรมาภิบาลด้วย�
� � � � � � � � � � � � � �จากบทบัญญัติกฎหมายและหลักการดังกล่าวข้างต้น มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ถือเป็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายหรือไม่
� � � � � � � � � � � � � �ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำเบิกความด้วยวาจา และบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง เป็นหนังสือประกอบกันแล้วเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องต้องได้เข้าไปมีส่วนกระทำการเกี่ยวข้องกับการให้นายถวิลพ้นจากตำแหน่ง โดยมีกระบวนการเริ่มต้นจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือลับมาก อีกทั้งผู้ถูกร้องมีคำสั่งให้ นายถวิลไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ใช้ระยะเวลาเพียง 4 วัน แสดงให้เห็นว่า เป็นการดำเนินการอย่างเร่งรีบ ผิดสังเกต เป็นการกระทำโดยรวบรัดปราศจากเหตุผลอันสมควร�
� � � � � � � � � � � � � �ทั้งยังปรากฏการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จให้เห็นเป็นพิรุธ โดยปรากฏว่าภาพถ่ายเอกสารราชการสำคัญ ได้แก่ บันทึกข้อความของสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร. 0401.2/8303 ที่ศาลมีคำสั่งเรียกมาจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุวันที่ที่ทำหนังสือดังกล่าวเป็นวันที่ 5 กันยายน 2554 แต่ภาพถ่ายบันทึกข้อความฉบับเดียวกัน ที่ได้มาจาก นายถวิล เปลี่ยนศรี ก่อนหน้านั้น ระบุวันที่ เป็นวันที่ 4 กันยายน 2554 ซึ่งแสดงว่าภาพถ่ายเอกสาร 2 ฉบับนี้ ต้องมีการแก้ไขวันที่ที่ทำเอกสารให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง โดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อปกปิดความจริง�
� � � � � � � � � � � � � �กรณีนี้จึงส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นปกติของการดำเนินการอันเป็นการพิรุธโจ่งแจ้ง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นไปในทางเอื้อประโยชน์ให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ซึ่งเป็นญาติของผู้ถูกร้อง มีโอกาสขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ การกระทำของผู้ถูกร้องจึงมีลักษณะใช้อำนาจในตำแหน่ง โดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีวาระซ่อนเร้น ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จึงไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง อีกประการหนึ่งด้วย
� � � � � � � � � � � � � �นอกจากนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงที่รู้กันโดยทั่วไปว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นลุงของหลานอา ของผู้ถูกร้อง ย่อมถือว่าเป็นเครือญาติของผู้ถูกร้อง จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และของประชาชนแต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำที่มีเจตนาอำพรางหรือแอบแฝง เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง อันเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) และ (3) อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง เป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)
� � � � � � � � � � � � � �รัฐธรรมนูญมาตรา 181 ได้บัญญัติให้เฉพาะกรณีที่คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ไม่ได้หมายรวมถึงกรณีที่ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 182 ด้วย ดังนั้นผู้ถูกร้องจึงไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ได้อีกต่อไป
� � � � � � � � � � � � � �มีประเด็นต้องพิจารณาต่อไปว่า เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงจะเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่ คดีนี้หากรัฐมนตรีคนใดมีส่วนร่วมในการลงมติอันเป็นการก้าวก่าย หรือแทรกแซงข้าราชการประจำ โดยการโอนย้ายนายถวิล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ย่อมเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีผู้นั้นสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) ตามไปด้วย และไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป�
� � � � � � � � � � � � � �สำหรับประเด็นตามคำขอผู้ร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ดำเนินการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 และมาตรา 173 โดยรวมนั้น ไม่อยู่ในขอบเขตเสนอคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาวินิจฉัย จึงให้ยกคำขอส่วนนี้
logoline

ข่าวที่น่าสนใจ