Lifestyle

ข้อสะโพกเสื่อมรักษาได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมืองไทย อัตราของผู้ป่วยโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อมอาจจะดูน้อยนิด เมื่อเทียบกับโรคข้อเสื่อมอื่นๆ เพราะโรคกระดูกสันหลังและเข่าเสื่อมก็มีถึง 90% เข้าไปแล้ว ส่วนโรคข้อสะโพกเสื่อมนี่เพิ่งจะ 0.8% ของโรคข้อเสื่อมทั้งหมด

 ที่น่ากลัวคือ ข้อสะโพกเสื่อม เจ็บปวดแสนสาหัสที่สุดเลยในจำนวนเสื่อมๆ ทั้งหมดนี้ โรคนี้ถ้าเป็นแล้ว หมดสง่า เพราะจะทำให้ขาที่อยู่ด้านที่ข้อสะโพกมีปัญหา สั้นลง หรือเหยียดงอไม่ได้ตามปกติ เดินเหินไม่ปกติ ขาดความมั่นใจในชีวิต มีผลต่อจิตใจสูง
ที่มาของโรคข้อสะโพกเสื่อม
 - ความเสื่อมที่มากับอายุ จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ คือ ค่อยๆ สึก และเสื่อมไปเอง มักพบกับผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป 
 - ความเสื่อมที่ติดตัวมาแต่เกิด คือ เป็นการที่กระดูกไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
 - ความเสื่อมที่มีโรคหรือมีตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหา พวกนี้จะเกิดขึ้นเร็วไม่เกี่ยวกับอายุ เช่น โรคข้อติดเชื้อ (septic hip) ทำให้มีหนองในข้อสะโพก เกาต์ (gout) และไขข้ออักเสบ (rheumatism) เป็นต้น
 มะเร็งและเนื้องอกก็เป็นตัวกระตุ้นแรงอีกตัว ที่ทำให้ข้อสะโพกเสื่อมเร็ว เพราะอาหารของผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ตามข้อเรานี้คือ นํ้าในข้อ ถ้านํ้ากลายเป็นกรดเพราะป่วย กระดูกอ่อนดูดซึม osmosis เข้าไปปุ๊บก็จะป่วยตามไปด้วย บางทีตัวเร่งคือพวกยาสเตียรอยด์ต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ยาลูกกลอน และยาแก้ปวด ที่หมอไม่ได้สั่ง จะทำให้เส้นเลือดอุดตันและข้อสะโพกก็จะเริ่มตาย กระดูกก็จะยุ่ยๆ และทรุดตัวลงไปในที่สุด
 - ความเสื่อมที่มากับอุบัติเหตุ คือ หักหรือหลุด ทำให้เลือดมาเลี้ยงกระดูกอ่อนได้ไม่เต็มที่ ทำให้ผิวกระดูกบางลง
 เรื่องข้อสะโพกรักษาได้ ไม่น่ากลัวอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกในปัจจุบัน ไม่ขึ้นอยู่กับอายุอีกต่อไปแล้ว แต่จะขึ้นอยู่กับการมีโรคประจำตัวบางชนิด และความสามารถของร่างกายที่จะทนต่อการผ่าตัดได้ แล้วแผลที่ผ่าตัดนี่ก็แค่ 4.5-5.5 ซม.เท่านั้น
 การผ่าตัดแผลเล็กลงกว่าเดิม 3 เท่า เป็นการผ่าตัดแบบ minimally invasive คือ แผลเล็ก เส้นเลือด และเนื้อเยื่อไม่ถูกทำลายมาก ข้อกระดูกเทียมที่นำมาใส่ให้ใหม่มีหลายแบบตั้งแต่ พลาสติกแข็ง เซรามิกไปจนถึงโลหะ ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็น Titanium และ Cobalt-chromium alloy แล้ว ซึ่งเคลือบด้วย hydroxyapatite ที่จะช่วยให้กระดูกยึดติดเองได้ดี ถึงแม้ว่า การผ่าตัดจะไม่น่ากลัวแล้ว และคนไข้สามารถเดินได้ใน 1-3 วัน หลังผ่าตัด แต่ก็ต้องระวังตัวในช่วง 3 เดือนแรกก่อน
 - อย่าเผลอหมุนขาเข้าใน หรืองอเยอะๆ เพราะอาจทำให้ข้อที่ใส่ใหม่นี้หลุดได้
 - เวลานอนก็บิดปลายเท้าออก
 - เวลานอนตะแคงก็เอาหมอนหนาๆ 2-3 ใบมาแทรกเป็นหมอนข้าง
 - เดินนั่งทำได้ปกติ เวลาเดินก็เดินตามปกติ
 - 2 อาทิตย์แรกก็อย่าหักโหม ผ่านไป 1 เดือน อาจเริ่มไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้
 หลังผ่าตัดต้องมาเช็กการเดิน ต้องฝึกกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่เพราะบางคนกว่าจะมาผ่าตัด กล้ามเนื้อก็ลีบเหี่ยวไปเยอะ ต้องมาฝึกกล้ามเนื้อกันใหม่ ทดสอบกล้ามเนื้อแข็งแรงหรือไม่ และใน 3 เดือน หลังผ่าตัดกระดูกกับข้อสะโพกติดกันดีแล้วก็เรียกว่าหมดห่วง
รศ.นพ.ประกิต เทียนบุญ
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
โทร. 0-2378-9242, 9244

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ