ข่าว

กกต.เผยนับ98%พท.264ปชป.160

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กกต. ชี้ นับคะแนนไม่เป็นทางการทั่วปท. 98 % พท. 264 ปชป.160 ลำพูนแชมป์หย่อนบัตร แม่ฮ่องสอนแชมป์บัตรเสีย ภูเก็ตแชมป์โหวตโน ส่วน กทม. สรุป ปชป. ได้ 23 พท. 10

          ผู้สื่อข่าวรายงาน จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ศูนย์ประสานการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งส.ส.อย่างไม่เป็นทางการ ได้รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งทั่วไปที่มีการนับคะแนนทั่วประเทศจากทั้งหมด 94,216 หน่วย ณ เวลา 22.06 น. วันที่ 3 ก.ค.54 ปรากฎว่า ในแบบแบ่งเขตนับไปแล้วร้อยละ 98.87 แบบบัญชีรายชื่อนับไปแล้วร้อยละ 98.17

          ทั้งนี้ มีพรรคการเมือง 11 พรรคการเมือง ที่คาดว่า จะได้ส.ส.ดังนี้

          พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ส.ส.264 คนจากแบ่งเขต 204 คน บัญชีรายชื่อ 60 คน

          พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ส.ส. 160 คน จากแบ่งเขต 115 คน บัญชีรายชื่อ 45 คน

          พรรคภูมิใจไทย (ภท.)ได้ส.ส.34 คนจากแบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน

          พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ได้ส.ส.19 คนจากแบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน

          พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) ได้ส.ส. 7 คนจากแบ่งเขต 5 คน บัญชีรายชื่อ 2

          พรรคพลังชล (พช.)ได้ส.ส. 7 คนจากแบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน 

          พรรครักประเทศไทย (ร.ป.ท.) ได้ส.ส. 4 คนจากบัญชีรายชื่อ 4 คน

          พรรคมาตุภูมิ (มภ) ได้ส.ส. 2 คน แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน

          พรรคมหาชน (พมช.)ได้ส.ส. 1 คนจากบัญชีรายชื่อ 1 คน

          พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.) ได้ส.ส. 1 คนจากบัญชีรายชื่อ 1 คน

          พรรครักษ์สันติ (รส.)ได้ส.ส. 1 คน จากบัญชีรายชื่อ 1 คน

          ส่วนภาพรวมผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศอย่างไม่เป็นทางการ มีจำนวน 47,020,579 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 34,799,258 คน คิดเป็นร้อยละ 74.01 มีบัตรเสียแบ่งเป็นแบ่งเขต 2,000,677 บัตร คิดเป็นร้อยละ 5.75 บัญชีรายชื่อ 1,682,736 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.8 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน แบบแบ่งเขต มี 1,405,037 บัตร หรือร้อยละ 4.04 แบบบัญชีรายชื่อ 954,895 บัตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.74

          สำหรับจังหวัดที่ผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 5 จังหวัดแรก 1.ลำพูน 276,260 คน หรือร้อยละ 86.64 , 2.ตรัง 360,333 คนหรือร้อยละ 81.97 , 3. เชียงใหม่ 981,155 คน หรือร้อยละ 81.27 , 4.สตูล 165,232 หรือร้อยละ 80.74 และ 5.ราชบุรี 506,809 คนหรือร้อยละ 80.73

          ส่วนจังหวัดที่มีบัตรเสียมากที่สุด 5 จังหวัดแรก 1.แม่ฮ่องสอน 12,705 คน หรือร้อยละ 10.9 , 2. ตาก 26,544 คน 10.52 , 3.ยะลา 25,027 คน หรือร้อยละ 10.24 , 4.พัทลุง 29 , 714 คน หรือร้อยละ 9.84 และ 5.ปัตตานี 29 , 568 คนหรือร้อยละ 9.12

          และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนมากที่สุด 5 จังหวัดแรก 1.ภูเก็ต 15 , 996 คนหรือร้อยละ 8.66 , 2.ระนอง 6 , 854 คนหรือร้อยละ 7.78 , 3.ชุมพร 19,000 คนหรือร้อยละ 6.82 , 4.นครปฐม 34,443 คนหรือร้อยละ 6.82 และ5.เพชรบุรี 24 , 144 คนหรือร้อยละ 6.62

 

กทม.สรุปเลือกตั้งกทม. ปชป.เข้าป้าย 23 ที่นั่ง พท.ซิว 10 ที่นั่ง

          เวลา 22.30 น.ที่ศาลาว่าการรุงเทพมหานคร ( กทม. ) นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม. แถลงสรุปการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กทม. จากจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 6,506 หน่วย โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งสิ้น 4,260,951 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 3,019,406 คน คิดเป็นร้อยละ 71.62 ซึ่งมากกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2550 ที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 69.37

          ปลัดกทม.กล่าวต่อว่า การเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เป็นบัตรดี จำนวน 2,826,083 บัตร คิดเป็นบัตรดี ร้อยละ 93.61% บัตรเสีย 58,962 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.95 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 133,945 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.44 ส่วนของการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นบัตรดี 2,676,628 บัตร คิดเป็นร้อยละ 88.66 บัตรเสีย 161 , 808 บัตร คิดเป็นร้อยละ 5.36   โดยเป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 23 คน และพรรคเพื่อไทย 10 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง สำหรับเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ เขตทวีวัฒนา คิดเป็นร้อยละ 77.21 เปอร์เซ็นต์ และเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุด ได้แก่ เขตดุสิต คิดเป็นร้อยละ 63.73

          ทั้งนี้ ผลการนับคะแนนเลือกตั้งส.ส.กทม.แบบแบ่งเขต 33 เขตเลือกตั้ง จำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 6,506 หน่วย อย่างไม่เป็นทางการ ภายหลังได้รับรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งสรุปผลการนับคะแนนจากหน่วยเลือกตั้งภายในพื้นที่ โดยในเวลา 22.24 น. ได้นับคะแนนเรียบร้อยแล้ว 33 เขต แบ่งเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 23 และพรรคเพื่อไทย 10 เขต แบ่งเป็นดังนี้ เขต 1 (เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และสัมพันธวงศ์) อันดับ 1 นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้ 40,328 คะแนน อันดับ 2 พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ เภกะนันทน์ พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ 20,320 คะแนน

          เขต 2 (เขตปทุมวัน บางรัก และสาทร) อันดับ 1 นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ - ปชป. ได้ 52,178 คะแนน อันดับ 2 ม.ล.ณัฎพล เทวกุล พรรคเพื่อไทย ได้ 26, 956 คะแนน เขต 3 (เขตบางคอแหลม และยานนาวา) ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ปชป. ได้ 47,982 คะแนน อันดับ 2 นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ พท. ได้  29,976 คะแนน เขต 4 (เขตคลองเตย และวัฒนา) นายอนุชา  บูรพชัยศรี ปชป. ได้ 44,621 คะแนน อันดับ 2 นายวรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ พท. ได้ 29,749 คะแนน เขต 5 (เขตดุสิตและราชเทวี) นางสาวลีลาวดี วัชโรบล พท. ได้ 38,206 คะแนน อันดับ 2 นางสาวจิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ปชป. ได้ 37,528 คะแนน  เขต 6 นายธนา ชีรวินิจ ปชป. ได้คะแนน 51,501 คะแนน ที่ 2 นายกวี ณ ลำปาง พท. ได้คะแนน 45,792 คะแนน  เขต 7  นายพุทธิพงษ์ ปุณกันต์ ปชป.ที่ 1 ได้คะแนน 38,470 คะแนน  อันดับที่  น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ พท. ได้คะแนน 32,692 คะแนน

          เขตเลือกตั้งที่ 8 (เขตลาดพร้าวและวังทองหลาง-ยกเว้นแขวงวังทองหลางและแขวงพลับพลา) นายสรรเสริญ สมะลาภา - ปชป. ได้ 43,293 คะแนน อันดับ 2 นายสิงห์ทอง บัวชุม พท. ได้ 38,187 คะแนน เขต 9 (เขตจตุจักร) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ปชป. ได้ 42,352 คะแนน อันดับ 2 นางสาววิลาวัลย์ ธรรมชาติ พท. ได้ 37, 602 คะแนน เขต 10 (เขตบางซื่อ) นายชื่นชอบ คงอุดม ปชป. ได้ 32,306 คะแนน อันดับ 2 นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ พท. ได้ 30,596 คะแนน เขต 11 เขตหลักสี่ และดอนเมือง (เฉพาะแขวงสนามบิน) นายสุรชาติ เทียนทอง พท. ได้ 28,376 คะแนน อันดับ 2 นายสกลธี ภัททิยกุล ได้ 25,704 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 12 เขตดอนเมือง (ยกเว้นแขวงสนามบิน) นายการุณ โหสกุล พท. ได้ 38,351 คะแนน อันดับ 2 นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ปชป. ได้ 30,675 คะแนน

          เขตเลือกตั้งที่ 13 เขตสายไหม น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พท. ได้ 51,765 คะแนน อันดับ 2 นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ได้ 33,805 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 14 เขตบางเขน นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พท. ได้ 49,829 คะแนน อันดับ 2 นายวิทเยนทร์ มุตตามระ ได้ 41,735 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 15 เขตบางกะปิ นายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน ปชป. ได้ 37,260 คะแนน อันดับ 2 นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ พท. ได้ 32,737 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 16 เขตบึงกุ่ม และคันนายาว (เฉพาะแขวงรามอินทรา) นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พท. ได้ 48,690 คะแนน อันดับ 2 นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ปชป. ได้ 47,425 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 17 เขตมีนบุรี และคันนายาว (ยกเว้นแขวงรามอินทรา) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พท. ได้ 42,450 คะแนน อันดับ 2 นายชาญวิทย์ วิภูศิริ ได้ 39,634 คะแนน

          เขต 18 (เขตคลองสามวา) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พท. ได้ 39,058 คะแนน อันดับ 2 นายสมัย เจริญช่าง ได้ 37,910 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 19 เขตหนองจอก นายไพโรจน์ อิสรเสรีพงษ์ ได้ 36,530 คะแนน อันดับ 2 นายวสันต์ มีวงษ์ ปชป. ได้ 32,667 คะแนน เขต 20 (เขตลาดกระบัง) นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พท. ได้ 44, 914 คะแนน อันดับ 2 นางสลวยเลิศ กิมสูนจันทร์ ได้ 26,256 คะแนน เขต 21 (เขตสะพานสูงและประเวศ-ยกเว้นแขวงหนองบอนและแขวงดอกไม้) นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ปชป. ได้ 42,754 คะแนน อันดับ 2 นายเอกพจน์ วงศ์อารยะ ได้ 33,317 คะแนน เขต 22 (เขตสวนหลวงและประเวศ-เฉพาะแขวงหนองบอนและแขวงดอกไม้) นายสามารถ มะลูลีม ปชป. ได้ 50,467 คะแนน อันดับ 2 นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ พท. ได้ 39,437 คะแนน

          เขตเลือกตั้งที่ 23 เขตพระโขนง และบางนา นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ ปชป. ได้ 47,993 คะแนน อันดับ 2 นายวัฒนา เซ่งไพเราะ พท. ได้ 39,668 คะแนน เขตเลือกตั้ง 24 (เขตธนบุรี-ยกเว้นแขวงดาวคะนอง และเขตคลองสาน) นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ ปชป. ได้ 44,689 คะแนน อันดับ 2 นายเอนก หุตังคบดี พท. ได้ 35,789 คะแนน เขต 25 (เขตจอมทองและธนบุรี-เฉพาะแขวงดาวคะนอง) นางนันทพร วีรกุลสุนทร ปชป. ได้ 44,140 คะแนน อันดับ 2 นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ พท.ได้ 38,399 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตราษฎร์บูรณะ และทุ่งครุ นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ ปชป. ได้ 46,910 คะแนน อันดับ 2 นางสาวนพสรัญ วรรณศิริกุล พท. ได้ 45,092 คะแนน

          เขต 27 (เขตบางขุนเทียน) นายสากล ม่วงศิริ ปชป. ได้ 38,137 คะแนน อันดับ 2 นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ พท. ได้ 33,475 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 28 เขตบางบอน   และหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) พ.ต.อ.สามารถ ม่วงศิริ ปชป. ได้ 41,601 คะแนน อันดับ 2 นายวัน อยู่บำรุง พท. ได้ 40,465 คะแนน เขต 29 (เขตทวีวัฒนาและหนองแขม-ยกเว้นแขวงหนองแขม) นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ปชป. ได้ 37,932   คะแนน อันดับ 2 นายแสวง ฤกษ์จรัล พท. ได้ 34,457 คะแนน เขต 30 (เขตบางแค) นางอรอนงค์ คล้ายนก ปชป. ได้ 48,362 คะแนน อันดับ 2 ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต ได้ 43,420 คะแนน

          เขตเลือกตั้งที่ 31 เขตภาษีเจริญ และบางกอกใหญ่ นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ปชป. ได้ 50,192 คะแนน อันดับ 2 นายมานะ คงวุฒิปัญญา พท. ได้ 46,693 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 32 (เขตตลิ่งชันและบางกอกน้อย-เฉพาะแขวงบ้านช่างหล่อและแขวงบางขุนศรี) นายชนินทร์ รุ่งแสง ปชป. ได้คะแนน 43,407 คะแนน อันดับ 2 นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ พท. ได้ 40,942 คะแนน และ เขตเลือกตั้งที่ 33 เขตบางพลัด และบางกอกน้อย (ยกเว้นแขวงบ้านช่างหล่อ และแขวงบางขุนศรี) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก ปชป. ได้ 36,458 คะแนน อันดับ 2 นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ พท. ได้ 32,217 คะแนน

          นอกจากนี้ในส่วนของคะแนน ส.ส.สัดส่วน ในกทม. มีดังนี้ อันดับ 1.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 1,245,550 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.54 เปอร์เซ็นต์ อันดับ 2.พรรคเพื่อไทยได้ 1,185,478 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 42.39 เปอร์เซ็นต์ 3.พรรครักประเทศไทย ได้ 209,919 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 7.51 เปอร์เซ็นต์ 4.พรรครักษ์สันติ ได้ 81353 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 2.91 เปอร์เซ็นต์ และ 5.พรรคมาตุภูมิ ได้ 12,318 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.44 เปอร์เซ็นต์

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ