ข่าว

133 ปี สถาปนา 'ยธ.' เน้นย้ำลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยุติธรรมนำประเทศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถาปนา 'กระทรวงยุติธรรม' 133 ปี เน้นย้ำลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยุติธรรมนำประเทศ 'รมว.ยธ.' เตรียมถกแยกแต่งกาย นักโทษระหว่างพิจารณาคดี-นักโทษเด็ดขาด เผยคืบหน้าระเบียบคุมขังพักโทษเสร็จแล้ว

25 มี.ค. 2567 โดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมงาน โดยมีพิธีสงฆ์ ถวายภัตตาหาร น้อมถวายสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และมอบรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ชั้นที่ 1-4 ประจำปี2567 รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น  รางวัลงานวิจัยดีเด่น ให้กับเจ้าหน้าที่และข้าราชการของกระทรวงยุติธรรม   

 

โดยปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ชั้นที่ 1 อันเป็นเกียรติยศยิ่งแด่ พ.ต.อ.ทวี   

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

 


พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 133 ปี กระทรวงยุติธรรม อยากให้ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมตระหนักถึงอดีตเป็นบทเรียนสำคัญ ล้นเกล้า ร.5 - ร.6 ที่วางรากฐานตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นมา อดีตที่ผ่านมาเป็นหน่วยงานที่พัฒนาประเทศในหลายด้าน โดยเฉพาะยุคแรกจากที่ต่างชาติไม่ค่อยไว้ใจประเทศไทยในเรื่องระบบยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพ

 

โดยกระทรวงยุติธรรมได้รับบทบาท ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการพัฒนาศาลยุติธรรม เมื่อก่อนอยู่ภายใต้ กระทรวง ซึ่งได้จัดทำประมวลกฎหมายสำคัญๆ จนได้รับการยอมรับ  ขอให้ภาคภูมิใจว่ากระทรวงยุติธรรมในยุคแรกรักษาความมั่นคงของประเทศในเรื่องความยุติธรรม ต่อมามีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมระบบราชการ พ.ศ.2545 ศาลยุติธรรมได้แยกออกไปมีหน่วยงานธุรการของศาล ที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและพัฒนากฎหมาย ช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม 

 

พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีมากเราจะต้องทำให้ความยุติธรรมเข้าถึงประชาชนทุกคนหรือความยุติธรรมถ้วนหน้า ภายใต้ กระทรวงยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยุติธรรมนำประเทศ

 

พ.ต.อ.ทวี  ยังได้กำชับเรื่องการปรับโครงสร้างภายในรองรับให้ทันต่อยุคสมัย เช่น กรมราชทัณฑ์ มีผู้ต้องขังมีมากขึ้น อาจจะต้องมีการผลักดัน พยายามดูผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งมีประมาณ 5 หมื่นกว่าคน กับนักโทษเด็ดขาด ซึ่งในรัฐธรรมนูญจะระบุว่า ตราบใดที่ศาลยังไม่ตัดสิน จะปฏิบัติกับผู้นั้นเหมือนกับผู้ที่ศาลตัดสินแล้วไม่ได้ ซึ่งกรมราชทัณฑ์จะต้องไปดูการแยกผู้ต้องขัง 2 ประเภทนี้

 

 

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยธ. ร่วมงาน สถาปนา 133 ปี ยธ.

 

รวมถึง กฎหมายปี 2560 เป็นกฎหมายที่ทันสมัย เราเปลี่ยนจากการแก้แค้นให้คนหวาดกลัว เป็นพัฒนาฟื้นฟู เพราะได้เอาคนเข้าคุกอย่างเดียว แต่ต้องทำให้เค้ากลับไปอยู่ในสังคมได้ และต้องไม่ทำผิดซ้ำ ซึ่งสังคมไทยยังตราบหน้าอยู่ว่า ออกจากคุกเรือนจำแล้ว ยังไม่ไว้วางใจ ยังด้อยค่า เราอยากให้หน่วยงานพวกนี้ต้องเปลี่ยนใหม่ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ต้องเป็นสถานที่สร้างคนให้มีคุณภาพ กลับสู่สังคม เพื่อให้พวกเขาได้กลับไปสร้างชาติ

 

ส่วนการแต่งกายผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และผุู้ต้องขังเด็ดขาด พ.ต.อ.ทวี ระบุว่า บางครั้งผู้กระทำผิด แต่ได้รับการประกันตัวไป พอไปศาลใส่สูท แต่อีกคนนึงที่อยู่ในเรือนจำ ต้องใส่ชุดลูกวัว ในมุมมองของบุคคลภายนอก ความรู้สึกก็แตกต่างกัน เป็นเรื่องที่ทำอย่างไรเมื่อออกไปจากเรือนจำแล้วขึ้นบัลลังก์ ได้ใส่ชุดปกติ ส่วนที่อยู่ในเรือนจำ ก็ดูกันอีกที ส่วนจะนำร่องที่ไหน ต้องพิจารณาอีกที 

 

 

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยธ. ร่วมงาน สถาปนา 133 ปี ยธ.

 

 

นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ออกระเบียบคุมขังพักโทษ ให้เกิดความรอบคอบ เพราะมีกระแสความรู้สึกคนรอบนอก และการปฏิบัติภายใน  โดยจะต้องมี 2 หลัก คือ ต้องไม่ให้ผู้ต้องขังหนีและเมื่ออกไปต้องไม่ก่อเหตุซ้ำ ซึ่งขณะนี้ระเบียบเสร็จสิ้นแล้ว แต่ตัวขั้นตอนการปฏิบัติไม่สามารถทำให้คนใดคนหนึ่ง การทำงานจะต้องเป็นรูปแบบคณะกรรมการ อย่างน้อยต้องทำให้ประชาชนมั่นใจและหวังว่าเมื่อผู้ต้องขังออกมาอยู่ในสังคมมก็จะกลับมาเป็นคนดีของชุมชน

 

 

ส่วนมีกลุ่มคดีใดเข้าข่ายยกเว้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ดูรายละเอียด ต้องให้กรมราชทัณฑ์เป็นผู้แถลง เพราะกฎหมายราชทัณฑ์ไม่มีใครทำเหนือกฎหมายได้ เพราะราชทัณฑ์ คือ การบริหารโทษ ส่วนการลงโทษนั้นเป็นเรื่องของศาล ราชทัณฑ์จะไม่มีหน้าที่มาลงโทษให้ใคร แต่การบริหารโทษกฎหมายเขียนไว้แล้ว เช่น การพักโทษ การไปอยู่ที่คุมขังอื่น หรือการพัฒนาดัดนิสัย การเจ็บป่วยจะต้องไปอยู่รพ. เรื่องพวกนี้แม้ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้ 

 

 

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยธ. ร่วมงาน สถาปนา 133 ปี ยธ.

 

 

ด้านการพัฒนาอาชีพผู้ต้องขัง ที่บางฝ่ายมองว่า ใช้งบประมาณไม่ตรงจุด พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ขณะนี้ต้องพัฒนาตามศักยภาพของผู้ต้องขัง ในต่างประเทศปรับระดับการศึกษาระดับประถม เช่น คณิต ไทย เพื่อวางแผนชีวิต ทางกรมราชทัณฑ์ พยายามปรับตัว เราจะเห็นว่าตอนนี้ พอออกจากกำแพงเรือนจำไปแล้ว มีอาชีพที่หลากหลาย เป็นอาชีพที่สามารถสร้างความมั่นคงได้ วันนี้เราดึงภาคแรงงานภาคอุตส่าหกรรมมาพัฒนาร่วมกัน และอย่างน้อยพวกเขามีอาชีพ ลดความเสี่ยงกลับไปกระทำความผิดซ้ำ

 

อย่างไรก็ตามวันนี้มีการอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 153 โดยมีวาระเรื่องกระบวนการยุติธรรมที่อาจเชื่อมโยงไปถึงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ถามมาก็ตอบไปตามความจริง 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ