ข่าว

รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทีมวิศวกรลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารถล่มรามคำแหง 51 ตร. เผย สอบพยานแล้ว 4 ราย ยังไม่แจ้งข้อหาผู้ใด รอสำนักงานโยธาเป็นผู้แจ้งเอาผิด

 

               เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 62  ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร ลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุ อาคารที่กำลังรื้อถอนทรุดตัวบริเวณปากซอยรามคำแหง 51/2 ถนนรามคำแหง ขาออก แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ขณะที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นำโดย รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ ที่ปรึกษา วสท. และทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก วสท. ได้ลงพื้นที่เกิดเหตุด้วยเช่นกัน

 

 

 

               รศ.เอนก กล่าวว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งได้ทำการเวนคืนพื้นที่เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา เพื่อใช้ก่อสร้างสถานีรามคำแหง โดยว่าจ้างผู้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 จนถึงวันเกิดเหตุ เพื่อจะมอบพื้นที่ให้กับบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มต่อไป จากการตรวจสอบพบว่าเหตุที่เกิดมีการขออนุญาตรื้อถอนถูกต้อง มีวิศวกรดูแลควบคุมงาน แต่ตัวอาคารเก่า คาดว่าน่าจะมีจุดที่ชำรุดที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เกิดการผิดพลาดขณะรื้อถอน ซึ่งในส่วนของขั้นตอนการรื้อถอนถือว่ามีความสำคัญพอๆ กับการก่อสร้าง เพราะต้องดูโครงสร้าง และต้องวางแผนการดำเนินการให้รอบคอบ

               รศ.สิริวัฒน์ กล่าวว่า งานด้านวิศวกรรม ไม่เพียงใส่ใจแต่งานก่อสร้างเท่านั้น การรื้อถอนนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของประชาชนและสังคมแวดล้อม จำเป็นต้องตรวจสอบการรื้อถอนตั้งแต่การวิเคราะห์เพื่อวางแผนรื้อถอน ขั้นตอน และวิธีการรื้อถอน อุปกรณ์เครื่องจักรที่นำมาใช้ต้องเหมาะสมและปลอดภัย มีการป้องกันฝุ่นละอองและเศษซาก พร้อมทั้งมีวิศวกรควบคุมใกล้ชิด ตลอดจนมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์แก่ผู้สัญจรและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

 

 

 

               สำหรับวันเกิดเหตุผู้รับจ้างรื้อถอนจาก รฟม. ได้นำรถแบคโฮมารื้อถอนส่วนที่เหลือจากการรื้อถอนในเดือนธันวาคม 2561 ขณะทำการรื้อถอนจากด้านในตัวระเบียงนั้น แผ่นปูนที่เป็นกำแพงผนังของชั้น 2 รับแรงกระแทกไม่ไหว จึงหลุดลงมากระแทกกับกันสาดด้านล่าง เป็นเหตุให้เกิดการถล่มลงมาทับคนเดินถนนได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ระหว่างรื้อถอนห้ามคนเดินผ่านฟุตปาธหน้าอาคารเด็ดขาด คนจึงต้องเดินบนถนนแทน ทำให้เศษปูนหล่นลงมาระหว่างที่กำลังเดินผ่านได้รับบาดเจ็บ ส่วนอาคารข้างเคียงซึ่งเป็นธนาคารต้องได้รับการตรวจสอบถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของอาคาร และจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรสำหรับการใช้งานได้อย่างปลอดภัย

               ด้าน ศ.ดร.อมร กล่าวว่า วันนี้เดินทางมาตรวจสอบอาคารดังกล่าวที่มีการถล่ม ซึ่งเป็นอาคารของ รฟม. สูง 3 ชั้น โดยอาคารดังกล่าว จะต้องมี ยุทธกร และ วิศวกร ที่เป็นผู้ดูแล โดยขั้นตอนการรื้อถอนนั้นจะต้องเป็นการรื้อถอนแบบถอนกลับแบบก่อสร้าง ซึ่งเราจะต้องตรวจสอบว่า ในการรื้อถอนนั้น ผู้รับเหมารื้อถอนส่วนไหนก่อน เพราะหากรื้อถอนผิด จะทำให้เกิดอันตรายได้

               ศ.ดร.อมร เปิดเผยต่อว่า โดยหลังจากนี้ เราจะมีการตรวจสอบการออกแบบว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องหรือไม่ และในส่วนของการควบคุมงาน จะต้องมีการตรวจสอบว่าวิศวกรที่คอยดูแลนั้นได้รับใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่ หลักจากนี้ จะมีการเรียกวิศวกรคนดังกล่าวมาสอบ ซึ่งหากพบว่ามีความผิด จะมีโทษสูงสุด คือ เพิกถอนใบอนุญาต โดยขั้นตอนดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน

 

 

 

               นายนพดล ฉายปัญญา ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคารสำนักการโยธาธิการ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรณีที่ทางเขตเคยมีคำสั่งระงับการรื้อถอนเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่สาธารณะ มีประชาชนสัญจรไปมาจำนวนมาก ประกอบกับมีผู้ร้องเรียนว่ามีเศษจากการรื้อถอนตกลงมา เมื่อมาตรวจสอบพบว่าแผงกั้นที่ป้องกันวัสดุตกหล่นไม่เป็นไปตามแผนที่ยื่นกับสำนักงานเขตไว้ก่อนหน้านี้ สำนักงานเขตจึงให้ไปปรับปรุงและแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เรื่องดังกล่าวกลับเงียบไปกระทั่งเกิดเหตุขึ้น ซึ่งต่อจากนี้จะตรวจสอบถึงสาเหตุอีกครั้งว่ามาจากสาเหตุใด ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เกี่ยวข้องกับการที่ทางเขตเคยสั่งให้ระงับการรื้อถอนในช่วงเดือนตุลาคมหรือไม่ จะต้องขอเวลาให้การตรวจสอบสาเหตุให้แน่ชัดเสียก่อน

               สำหรับอาคารของธนาคารที่อยู่ติดกับอาคารที่เกิดเหตุ เบื้องต้น ทางสำนักงานเขตบางกะปิมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขบริเวณขั้นที่เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยในระหว่างนี้ให้มีการหยุดใช้ตัวอาคารดังกล่าวจนกว่าจะมีการแก้ไข

               ต่อมาเวลา 11.30 น. พ.ต.อ.ศักดิ์สิทธิ์ มีสวัสดิ์ ผกก.สน.หัวหมาก เปิดเผยความคืบหน้าเหตุอาคารถล่ม ว่า ขณะนี้ตำรวจได้มีการสอบปากคำพยานที่เกี่ยวข้องไปจำนวน 3 - 4 ปาก ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ และเจ้าของอาคารหรือสำนักงานที่ดูแลอาคารดังกล่าว สำหรับการแจ้งข้อกล่าวหานั้นจะต้องให้ทางสำนักงานโยธาเป็นผู้ร้องว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาใดและใครบ้าง

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

 รอสำนักงานโยธาแจ้งเอาผิดอาคารถล่มรามคำแหง 51

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ