ข่าว

"คาดหวัง"ปฏิรูปใหญ่หลังวิสามัญ"ลาหู่"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วิสามัญเยาวชนลาหู่"จุดประเด็นปฏิรูประบบให้เข้มแข็ง อัยการฉะกฎหมายไทยจับง่าย ฟ้องง่าย ประกันตัวยากกรณีเกิดความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมจะปฏิเสธ-ปกปิด

 

14 กรกฏาคม 2561 "วิสามัญเยาวชนลาหู่"จุดประเด็นปฏิรูประบบให้เข้มแข็ง อัยการฉะกฎหมายไทยจับง่าย ฟ้องง่าย ประกันตัวยาก กรณีเกิดความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมจะปฏิเสธ-ปกปิด ใครมาเป็นพยานรื้อฟื้นโดนยัดข้อหา 

 

ที่สำนักงานกลางคริสเตียน เวทีติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส และ อะเบ แซ่หมู่ ในหัวข้อ "ความท้าทายและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการยุติธรรมในกรณีต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตโดยมิชอบด้วยกฎหมาย". นายน้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและการบังคับคดี จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า ตนขอยกตัวอย่างคดีที่อดีตตำรวจก่อเหตุวิสามัญคนตาย. แล้วยัดยาเพื่อให้เป็นผู้ต้องหาที่หลบหนีในคดียาเสพติด.

 

"คาดหวัง"ปฏิรูปใหญ่หลังวิสามัญ"ลาหู่"

 

แต่บังเอิญที่ผู้ตายเป็นออทิสติกไม่มีความสามารถจะค้ายาเสพติด ทำให้ญาติของผู้ตายคิดว่าพึ่งพากระบวนการไม่ได้ จึงใช้วิธีนอกระบบจ้างคนมาตามล้างแค้น ทำให้อดีตตำรวจต้องลาออกจากราชการ เปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนนามสกุล หนีออกจากพื้นที่. ตัวอย่างดังกล่าวสะท้อนว่า กระบวนการยุติธรรมแบบที่คนทำผิดเก็บหลักฐานเอง อยู่ในหน่วยงานของตัวเอง ไม่มีวันที่ประชาชนจะได้รับความยุติธรรม ไม่ใช่แค่ชนเผ่าแต่หมายถึงคนไทยด้วย. ยาเสพติดที่เอาไว้ยัดให้ผู้ต้องหาก็มาจากของกลางที่แยกเอามาขายผ่านสายข่าว ในสหรัฐอเมริกาการชันสูตรศพเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมต้องเก็บหลักฐานไว้เอง. ไม่ใช่ส่งให้หน่วยงานใดเก็บรักษาเพียงหน่วยเดียว

 

"คาดหวัง"ปฏิรูปใหญ่หลังวิสามัญ"ลาหู่"

 
หัวใจสำคัญของการสร้างความเป็นธรรมคือต้องมีระบบที่เข้มแข็ง. ไม่ต้องขอให้เจ้าหน้าที่มาแถลงข่าวรับประกันว่าจะทำคดีอย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนคดี กฎหมายอาญาของไทยวิปลาศทำให้อัยการต้องเป็นฝ่ายตั้งรับมากกว่าเข้าไปร่วมแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี. แม้แต่คดีอดีตพระพุทธะอิสระที่ก่อคดีตั้งแต่ปี 57 จับกุมตัวส่งศาลในปี 61 นำตัวมาฝากขังโดยอ้างว่า ยังต้องสอบปากคำพยานอีก 30 ปาก อดสงสัยว่า ผ่านมากว่า 3 ปี เหตุใดจึงยังสอบพยานไม่เสร็จ. กฎหมายไทยจับกุมง่าย ฟ้องง่าย แต่ประกันตัวยาก. ทุกอย่างกลับกันไปหมด. เมื่อเกิดความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม ต่างประเทศจะกระตือรือร้นแก้ไขและป้องกัน. ขณะที่บ้านเราปฏิเสธ. ปกปิด ทำลายหลักฐาน. ใครมาเป็นพยานรื้อฟื้นจะโดนยัดข้อหาด้วย

 

"คาดหวัง"ปฏิรูปใหญ่หลังวิสามัญ"ลาหู่"  

น.พ.กฤติน มีวุฒิสม. แพทย์นิติเวชโรงพยาบาลระนอง กล่าวว่า ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุและขันสูตรศพ จะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 4. ฝ่าย ตำรวจ อัยการ แพทย์นิติเวช และฝ่ายปกครอง. แต่ควรเพิ่มตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐานเข้าไป. เพราะต้องเข้าไปเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือ. ซึ่งตำรวจจะมีบทบาทหลักในการตรวจที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะตำรวจสายตรวจจะเข้าถึงพื้นที่เร็ว จึงต้องกั้นสถานที่เกิดเหตุให้เหมาะสม ในส่วนของแพทย์นิติเวชต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก ไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด. 

 

"คาดหวัง"ปฏิรูปใหญ่หลังวิสามัญ"ลาหู่"


นายสุมิตรชัย. หัตถสาร สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า. กระบวนการควบคุมการวิสามัญฆาตกรรมเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี 2457. ครั้งแรกศาลเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ต่อมามีการแก้ไขมาถึง 4 ครั้ง โดยการปฏิรูปครั้งใหญ่เกิดขึ้นหลังการวิสามัญในคดี "โจ ด่านช้าง " บุคลากรที่เข้าไปร่วมชันสูตรพลิกศพจึงต้องตระหนักในหน้าที่ของตัวเอง. แต่กฎหมายที่บังคับใช้อยู่เป็นเพียงการกำหนดให้มีองค์ประกอบครบ. เพราะไม่จำเป็นต้องใช้แพทย์นิติเวช ขอให้มีแพทย์สาขาใดก็ได้ไปร่วมก็พอแล้ว สาเหตุเพราะเรามีแพทย์นิติเวชไม่เพียงพอ. ทั่วประเทศมีอยู่แค่หลักร้อยคน

 

นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจพนักงานสอบสวนเก็บหลักฐานส่งให้นิติเวชตรวจได้. ระบบดังกล่าวจึงยากที่จะให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ทำให้ระบบวิสามัญฆาตกรรม และวัฒนธรรมคนผิดไม่ต้องรับโทษยังคงมีอยู่. อย่างไรก็ตาม. เชื่อว่าหากองค์กรศาลก้าวเข้ามาค้นหาความจริงในการไต่สวนการตายจะสามารถหยุดยั้งการวิสามัญฆาตกรรมที่ไม่ชอบได้

 

"คาดหวัง"ปฏิรูปใหญ่หลังวิสามัญ"ลาหู่"


ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร. นักวิชาการศูนย์ชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การตัดไม้ทำลายป่าและยาเสพติด ยังเป็นมิติที่นำมาใช้สร้างความรุนแรงและความเกลียดชังต่อคนชาติพันธุ์ นำไปสู่การวิสามัญฆาตกรรมและการไล่รื้อ ไม่ว่ารัฐบาลยุคไหนก็มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงกับคนเหล่านี้ เพราะคิดว่าพวกเขาไม่มีสิทธิไม่มีเสียง. 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ