ข่าว

(คลิปข่าว) เปิดขั้นตอน "ศาลสงฆ์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สำหรับพระภิกษุที่ต้อง "อาบัติปาราชิก" หรือถูกกล่าวหาว่า "อาบัติปาราชิก" หมายถึง "อาบัติใหญ่" หรือ "ครุกาบัติ" พูดง่ายๆ ในภาษาเราๆ ก็คือ ทำผิดพระธรรมวินัย

ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่หลายฝ่ายกำลังจับตา หลังจากผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ แจ้งความดำเนินคดีกับพระชั้นผู้ใหญ่ 5 รูป ว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตงบอุดหนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรม และงบเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะในเอกสารหลักฐานที่ใช้ร้องทุกข์กล่าวโทษ นอกจากจะระบุพฤติการณ์ความผิดอาญาแล้ว ยังระบุว่ามีการกระทำที่เข้าข่าย "ปาราชิก" ตามพระธรรมวินัย ไม่สมควรครองสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะ ชั้นเจ้าคณะ หรือดํารงตําแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมอีกต่อไป

สำหรับพระภิกษุที่ต้อง "อาบัติปาราชิก" หรือถูกกล่าวหาว่า "อาบัติปาราชิก" หมายถึง "อาบัติใหญ่" หรือ "ครุกาบัติ" พูดง่ายๆ ในภาษาเราๆ ก็คือ ทำผิดพระธรรมวินัยอย่างร้ายแรง จะต้องเป็นพระที่กระทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 ข้อนี้ คือ1.เสพเมถุน (คือมีสัมพันธ์ทางเพศกับมนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน รวมทั้งศพ)2.ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน (พูดง่ายๆ คือลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ เบียดบังทรัพย์ ได้หมด) ในพระธรรมวินัย กำหนดมูลค่าเอาไว้แค่ 5 มาสก หรือราวๆ 5 บาท3.ฆ่าคน และ 4.อวดอุตริมนุสธรรม ก็คือโอ้อวดความสามารถหรือบุญบารมีของตนเอง ทั้งๆ ที่ไม่รู้จริง หรือไม่มีความสามารถนั้นๆ จริงๆ4 ข้อนี้ ถ้าพระสงฆ์รูปใดกระทำผิด ให้ถือว่า "อาบัติปาราชิก" ถือว่าขาดจากความเป็นพระ ถ้าไม่ยอมลาสิกขา ก็ต้องสึกสถานเดียว ซึ่งการทุจริตงบอุดหนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรม ก็ถือเป็น "อาบัติปาราชิก" อย่างหนึ่ง เพราะเท่ากับขโมยของหรือทรัพย์ของผู้อื่นคำถามก็คือ ขั้นตอนการดำเนินการทางสงฆ์ จะทำอย่างไร จากการตรวจสอบของ "ล่าความจริง" พบว่า เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 เมื่อมีการร้องเรียนกล่าวโทษถึงพฤติกรรมของพระภิกษุ ก็จะเข้าสู่กระบวนการ "พิจารณาไต่สวนและลงนิคหกรรม" ซึ่งหมายถึงการลงโทษตามพระธรรมวินัยนั่นเองการร้องเรียนกล่าวโทษพระสงฆ์ธรรมดา หรือพระลูกวัดทั่วไป การไต่สวนและลงนิคหกรรม ก็จะเป็นอำนาจของพระผู้ปกครอง แต่ถ้าเป็นพระผู้ใหญ่ ระดับ เจ้าคณะใหญ่ หรือกรรมการมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจการไต่สวนความผิด และลงนิคหกรรม คือ สมเด็จพระสังฆราช และมหาเถรสมาคมนอกจากนั้นยังมีกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 21 เปิดช่องให้มหาเถรสมาคมใช้อำนาจสั่งให้พระภิกษุที่ถูกกล่าวหา ให้สละสมณเพศได้ โดยไม่ต้องรอผลการลงนิคหกรรม หากมหาเถรสมาคมเห็นว่า การดำรงอยู่ใน "เพศบรรพชิต" ต่อไป จะส่งผลเสียหายต่อพระพุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์นี่คือขั้นตอนการดำเนินการทางสงฆ์ที่ล่าความจริงสืบค้นนำมาฝากคุณผู้ชม แต่การจะดำเนินการหรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ จะร่วมกันพิจารณา

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ