ข่าว

เผยสถิติพบ วัยรุ่นและคนทำงาน มีแนวโน้มฆ่าตัวตายสูงขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เผยสถิติพบ วัยรุ่นและคนทำงาน มีแนวโน้มฆ่าตัวตายสูงขึ้น

จากปัญหาการฆ่าตัวตายในวันรุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุจากความเครียดและภาวะซึมเศร้า แนะคนใกล้ชิดหมั่นดูแลด้วยความเข้าใจและใส่ใจ พร้อมเป็นที่ปรึกษาซึ่งกันและกัน

นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผอ.โรงพยาบาลจิตเวช ขอนแก่นราชนครินทร์ ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า สถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทยเมื่อเทียบกับของโลกถือว่ายังต่ำ โดยที่ของโลกอยู่ที่ประมาณ 10.7 ต่อประชากรแสนคน ส่วนของไทยอยู่ที่ประมาณ 6-6.5 ต่อประชากรแสนคน แต่ถ้าลงรายละเอียดพบว่าตัวเลข 6 ต่อประชากรแสนคน นับเป็นจำนวนคนเท่ากับฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยปี 4,000 คน ซึ่งจำนวนนี้สูงกว่าการตายด้วยโรคอื่นๆ จึงไม่อาจมองเป็นเรื่องเล็กได้ประเด็นที่น่าสนใจคือพบว่าช่วงอายุ 10-19 ปีมีอัตราการฆ่าตัวตายไม่สูง โดยทั่วไปอยู่ที่ 1-2 ต่ออัตราประชากรแสนคน แต่พอขยับเป็นช่วงวัย 20-24 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงขึ้นเป็น 6 ต่อประชากรแสนคน ตรงนี้มีการก้าวกระโดดของอัตราการฆ่าตัวตายที่น่าสนใจในช่วงรอยต่ออายุ 20 ปี เพราะฉะนั้นช่วงวัยที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยและช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นวัยที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังที่สุดและจากการรวบรวมข้อมูลทั้งจากกรมสุขภาพ และใบมรณบัตรจากกระทรวงมหาดไทย พบว่าเด็กไทยในวัย 10-19 ปี มีอัตราความพยายามฆ่าตัวตายประมาณ 1,500 - 2,000 คน โดยขณะที่อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 140-160 คน แต่จริงๆ อาจมีมากกว่านั้นสาเหตุสำคัญมาจากเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว สัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ความน้อยใจ การถูกว่ากล่าว รองลงมา คือ เรื่องทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ และการใช้สารเสพติด ตามลำดับดังนั้นทางออกเรื่องนี้คือ คนใกล้ชิดต้องหมั่นดูแลจิตใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ การพูดคุยซักถาม รับฟัง ให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่กำลังมีปัญหาอย่างใส่ใจ ให้คลายจากความเศร้า ความกังวล เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้ โดยเฉพาะผู้มีประวัติเคยทำร้ายตนเองมาก่อนจะต้องคอยดูแลใกล้ชิด ช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ หรือพาไปรับการรักษากับแพทย์

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ