ข่าว

"คุมเข้มไอหิวาต์​แอฟริกา​ตั้งวอร์รูมทุกจังหวัดชายแดน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ปศุสัตว์"ตั้งวอร์รูมทุกจังหวัดแนวชายแดน คุมเต็มที่ป้องโรคระบาดอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร เข้าไทย ปูพรมตรวจทุกด่าน มีใบเคลื่อนย้ายสุกรพร้อมแจ้งที่หมายปลายทางภาย

 

 

25 มิถุนายน 2562 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวภายหลังเป็นประธา​นการประชุมกับผู้ประกอบการเลี้ยงสุกร ว่า​เตรียมความพร้อมมาตรการเผชิญเหตุ​  

 

 

ทั้งนี้หากมีการระบาดระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร​ (ASF) หลัง​จากองค์กร​โรคระบาด​สัตว์​ระหว่าง​ประเทศ​ (OIE) ประกาศ​พบการระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)​ ทั้งนี้​ได้ร่วมกันพิจารณาถึง​แนวทางป้องกัน​โรคไม่ให้เข้าประเทและเตรียมรับมือในกรณีพบการระบาดของโรคในประเทศไทย


รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า​ ได้สั่งการให้เพิ่มเข้มงวดในการป้องกันโรคดังนี้​ การเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรให้ตรวจสอบระบบการออกใบเคลื่อนย้ายภายในจังหวัดที่มีการประกาศเขตเฝ้าระวังโรคระบาด โดยให้ออกใบ ร.3 หรือ ร.4 รวมถึง​ต้องแจ้งปลายทางก่อนเคลื่อนย้าย อีกทั้งให้ตรวจสอบการเคลื่อนย้ายซากลูกสุกรที่นิยมมาทำหมูหัน​

 

โดยต้องมีแหล่งที่มาชัดเจน​เพื่อ​ป้องกัน​การลักลอบนำเข้า​จากประเทศ​เพื่อนบ้าน​ ซึ่งต้องเชือดโดยโรงเชือดถูกกฎหมาย ที่จะต้องระบุการเคลื่อนย้ายซากลูกสุกรเป็นจำนวนตัว พร้อมกันนี้เร่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรรายย่อยในจังหวัดที่มีความเสี่ยงในการระบาดของโรค


สำหรับมาตร​การควบคุมการส่งออกอาหารสัตว์และวัตถุดิบไปยังประกัมพูชาและลาวให้กองควบคุม​อาหาร​และยาสัตว์​รวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบการแล้วจัดประชุม​ปรับวิธีการขนส่ง โดยไม่ให้รถขนส่งเข้าสู่ฟาร์มที่มีการระบาด​ ให้สถาบัน​สุขภาพ​สัตว์​แห่งชาติ​เร่งอบรมการใช้เครื่อง​ตรวจ​สารพันธุกรรม​แบบเคลื่อนที่​ (Portable PCR) เพื่อ​ให้ตรวจ​วินิจฉัย​โรคได้เร็วในพื้นที่​เสี่ยง​ สำหรับ​การปราบปรามโรงเชือดเถื่อนและโรงเชือดที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นได้กำชับ​ให้มีพนักงานตรวจโรคก่อนเข้าเชือดเพื่อป้องกันการนำสุกรที่ป่วยเข้าเชือด

 

รองอธิบดี​กรมปศุสัตว์​ กล่าวว่า มาตรการตรวจสอบตลาดสดและเขียงขายเนื้อหมูทุกแห่ง​ต้องมีใบอนุญาตค้าซากและรับซากจากแหล่งที่ถูกต้องและปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณพรมแดน​ นอกจาก​นี้ต้องประชุมติดตามสถานการณ์​ของ​โรคที่ศูนย์​ปฏิบัติการ​ (War Room) ในจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับลาวและกัมพูชาเพื่อให้เกิดการตื่นตัวและสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน​ ขอให้ผู้ประกอบการร่วมมือสำรวจประชากรสุกรรอบๆ​ ฟาร์มในรัศมี 5-10 กิโลเมตร​เพื่อเป็นพื้นที่กันชนและช่วยเหลือไม่ให้เกิดโรคในฟาร์มเหล่านั้น รวมทั้งให้ติดต่อ​ปศุสัตว์จังหวัดเพื่อขอทราบแผนปฏิบัติป้องกันโรคในพื้นที่

 

​“สิ่งสำคัญ​ที่เน้นย้ำแก่ปศุสัตว์จังหวัดตามแนวชายแดน​คือ​ ให้ประสานงานกับแขวงต่างๆ​ ของ​ลาวเพื่อช่วยเหลือและร่วมมือและควบคุม​โรคในลาว​ ซึ่ง​ล่าสุดทางการลาวได้แสดงความขอบคุณกรม​ปศุสัตว์​ไทยที่จัดส่ง​ยาฆ่าเชื้อและอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ASF ที่ด่านชายแดนระหว่างประเทศ”นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ กล่าว

 

ทั้งนี้สถานการณ์ระบาดในสปป.ลาวยังมีอย่างต่อเนื่องในเขต Toumlan จังหวัด Salavane หลัง​พบโรคครั้ง​แรกในเดือนมิถุนายน 2562 โดย Dr. Syseng KHOUNSY อธิบดีกรมปศุสัตว์และการประมงของลาวระบุว่า จะช่วยลดความเสี่ยงของการระบาดไปยังจังหวัดอื่นๆ ได้แก่ Savannakhet Champasak Sekong และ Attapua

 

ทั้งนี้​ไทยมอบอุปกรณ์บังคับสุกรชนิดสั้น 50 ชิ้น อุปกรณ์บังคับสุกรชนิดยาว 50 ชิ้น เครื่องพ่นชนิดสะพายหลัง 30 เครื่อง เครื่องพ่นยาขนาดใหญ่ 10 เครื่อง น้ำยาฆ่าเชื้อ 200 ลิตรและเครื่องช็อตทำสลบไฟฟ้า 200 เครื่อง​ ทั้งนี้หากเกษตรกร ผู้ประกอบการ​ หรือสมาคม​ผู้เลี้ยง​สุกรต้องการ​สิ่งใด​เพิ่ม​กรมปศุสัตว์ไทยยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ตามหลักการความร่วมมือของภาครัฐ​และเอกชน​ระหว่าง​ประเทศ​

 

 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ