Lifestyle

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สอบเทียบอิสลามศึกษาแน่นยอดพุ่ง 200 เปอร์เซ็นต์"ศึกษาธิการภาค 7"ย้ำสร้างโอกาส ต่อยอดการศึกษาสู่ระดับสูง ยกระดับมาตรฐานคุณภาพโรงเรียนนอกระบบ เพิ่มทางเลือก

 

                   28 เมษายน 2562  นายสันติ แสงระวี ศึกษาธิการภาค 7 พร้อมคณะผู้บริหารระดับสูงได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจัดเทียบความรู้ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 ประจำปีงบประมาณ 2562  

                   ณ โรงเรียนพัฒนาวิทยา อ.เมือง จ.ยะลา  พร้อมกล่าวว่า โครงการสอบเทียบความรู้ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 ประจำปีงบประมาณ 2562  เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา พ.ศ. 2549 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องทุกระดับ และในระเบียบข้อที่ 10 กำหนดให้มี การสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา

 

                   โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือที่ได้รับมอบหมายดำเนินการสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งศูนย์พัฒนาอิสลามศึกษาเป็นหน่วยงานในการรับผิดชอบดูแลการสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา ให้สามารถจัดสอบได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามระเบียบกระทรวงฯ ซึ่งการจัดสอบในครั้งนี้ เป็นการจัดสอบเทียบเป็นปีที่ 12

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

                   โครงการสอบเทียบความรู้ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา เป็นหนึ่งในการสนองนโยบายด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง ด้วยการยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้ลงพื้นที่มาตรวจติดตามกำกับงานด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การจัดการศึกษาอิสลามศึกษามีเอกภาพ

 

                   รวมทั้งสามารถยกระดับมาตรฐานคุณภาพการจัดการอิสลามศึกษาโรงเรียนนอกระบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2546 รวมทั้งยังสามารถถ่ายโอนกันได้ทั้งระบบ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเข้าศึกษาต่อทางด้านอิสลามศึกษาในระดับที่สูงขึ้นระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่ามีผู้สนใจมาสมัครสอบเทียบฯ เป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

                   ทั้งนี้ โครงการสอบเทียบความรู้ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 ประจำปีงบประมาณ 2562 จัดขึ้นโดยภายใต้วัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาทุกระดับในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพ สามารถเชื่อมโยงและเทียบผลการเรียนกันได้ทุกระดับ (2) เพื่อส่งเสริมผู้เรียนที่อยู่นอกระบบ หรือผู้ที่สนใจให้ได้รับวุฒิด้านอิสลามศึกษา นำไปต่อยอดในการศึกษาต่อและเป็นหลักฐานประกอบที่ใช้ในการสมัครงาน

 

                   (3) เพื่อให้บริการทางวิชาการในเรื่องการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาแก่ผู้ที่สนใจโดยทั่วไป และ (4) เพื่อการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ คือ สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 (ศูนย์พัฒนาอิสลามศึกษา) โดยคาดว่าจากการดำเนินโครงการนี้ จะเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนและยกระดับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

                   โดยเปิดโอกาสและบริการให้ผู้เรียนอิสลามศึกษานอกระบบหรือผู้ที่สนใจ สามารถเทียบโอนความรู้ผ่านใบรับรองเทียบวุฒิด้านอิสลามศึกษาเพื่อนำไปต่อยอด เช่น การศึกษาอิสลามศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือนำไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนั้นยังทำให้การศึกษาอิสลามศึกษาเป็นเอกภาพ สามารถถ่ายโอนกันได้ทั้งระบบ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ เกิดการบูรณาการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยงานอื่นๆ                  

                   นายมูฮำหมัดรุสลัน กาเดร์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักงานศึกษาธิการภาค 7  สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.)  กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษาตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 ประจำปีงบประมาณ 2562  เป็นการเปิดสอบสำหรับผู้จบการศึกษาจากภาคบังคับของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปที่ต้องการใบรับรองเพื่อนำไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศเช่นอินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศอาหรับ

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

                   ทั้งนี้ไม่ได้จำกัดอายุผู้เข้าสอบ  โดยจะจัดขึ้นทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะจัดอบรมปูพื้นความรู้ให้กับผู้เข้าสอบได้รู้แนวทางข้อสอบก่อนเนื่องจากที่ผ่านมา 10 ปีที่เปิดสอบเทียบมีผู้สอบไม่ผ่านเช่นกันแต่เป็นจำนวนน้อย แต่ก็สามารถมาสอบเทียบครั้งใหม่ได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับผู้สอบเอง  

 

                   โครงการสอบเทียบดังกล่าวได้รับความสนใจเพิ่มจากจากแต่เดิมมีผู้สมัครเพียง 67 คนเพิ่มเป็น 216 หรือ 200 เปอร์เซ็นต์ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้การจัดการศึกษาด้านอิสลามศึกษาเป็นเอกภาพสามารถเทียบโอนกันได้ทั้งระบบ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพราะเป็นการต่อยอดของผู้เข้าสอบเพื่อนำใบรับรองจากการสอบเทียบไปแสดงในการทำงานเช่นเพื่อสมัครใช้เป็นครูสอนศาสนาในสถาบันการศึกษา โรงเรียนสอนศาสนา ต่าง  ๆ หรือศึกษาต่อ

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

                   รวมทั้งเปิดโอกาสและให้บริการแก่ผู้เรียนอิสลามศึกษานอกระบบหรือผู้ที่สนใจ สามารถเทียบโอนความรู้ผ่านใบรับรองเทียบวุฒิด้านอิสลามศึกษาเพื่อนำไปต่อยอด เช่น ศึกษาต่อด้านอิสลามศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือนำไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องต่อไปเกิดการบูรณาการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

                   อาทิเช่น สำนักงานการศึกษาเอกชน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ /สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้/ สำนักงาน กศน. 5 จังหวัดชายด้านภาคใต้ /สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้/ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

                   ไม่ได้จำกัดอายุ อาชีพในการเข้าสอบเทียบดังนั้นคนที่เข้ามาสอบมีทั้งโต๊ะอิหม่าม  ผู้นำศานา  ผู้นำชุมชน หรือนักเรียนที่จบชั้นป.6 และเป็นโครงการที่ตอบสนองให้กับคนที่ยังขาดโอกาส และเป็นการยกระดับทางการศึกษา ให้กับผู้ที่จบจากโรงเรียนปอเนาะ ที่ไม่มีใบรับรองคุณวุฒิแม้ว่าจะเรียนรู้ทางด้านศาสนามาก็ตาม รวมถึงผู้สนใจทั่วไป ก็สามารถสอบได้ แต่ต้องไม่ได้ศึกษาในระบบการศึกษาภาคบังคับในขณะที่จะสอบเทียบ

 

                    โดยก่อนการสอบจะมีการอบรม แนะแนว ข้อสอบ  ทั้งนี้ การสอบเทียบเท่าความรู้อิสลามศึกษาเปิดสอบให้ระดับความรู้คือ 1.ระดับอิสลามศึกษาตนต้น (อิบติตาฮ๊นะฮ)  2. ระดับอิสลามศึกษาตอนลกาง (มุตะวัซซีเฏาะฮ) 3. ระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย (ซานาวียะฮ)" สำหรับโครงการสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษาตามหลักสูตรอิสลามศึกษา เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดนโยบายองค์กรที่ดีของกระทรวงศึกษาธิการ

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

                   "อภิชาติ  รองเดช" อายุ 33 ปี จากจังหวัดสตูล ผู้เข้าสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษาพ.ศ.2562 บอกว่า เรียนจบจากโรงเรียนปอเนาะแต่ไม่มีคุณวุฒิรองรับในการศึกษาต่อหรือทำงาน ดังนั้นจึงได้ตัดสินเข้ามาสอบเทียบในระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย(ซานาวียะฮู)เพื่อใช้เป็นใบรับรองเพราะถือเป็นหลักฐานเอกสารตามมาตรฐานสากล โดยได้วางแนวทางในการใช้ใบรับรองดังกล่าวคือศึกษาต่อในต่างประเทศระดับมหาวิทยาลัยกลุ่มประเทศอาหรับหรืออาจทำงานตามที่ตั้งใจไว้เช่นเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ แม้ว่าตนจะมีประสบการณ์เป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนมาแล้วแม้ไม่มีใบรับรองแต่ หากเรามีคุณวุฒิรับรองก็จะเป็นการการันตีคุณสมบัติไปในตัว

 

                   "อยากสอบให้ได้ เพราะจบจากโรงเรียนปอเนาะมานาน และถือเป็นโอกาสที่จะได้เข้ามาเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่  แต่ก็มีความกังวลว่าจะสอบผ่านหรือไม่ เนื่องจากยังไม่รู้แนวทางข้อสอบ ดังนั้นจึงต้องมาเข้ารับการอบรม  เพื่อนำความรู้ไปเตรียมพร้อมในการเข้าสอบต่อไป"

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

 

"เนืองแน่น"สอบเทียบอิสลามฯต่อยอดการศึกษา

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ