ข่าว

จับตา ! เขื่อนวชิราลงกรณน้ำไหลเข้ามาก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ศูนย์เฉพาะกิจฯ"ชี้ฝนหนักตั้งแต่ 10-15 ส.ค.เตือน 8 จว.ปริมาณฝนสะสมเกิน150 มม.เฝ้าระวังพิเศษ 4 เขื่อนใหญ่น้ำเกิน จับตาเขื่อนวชิราลงกรณ ยังมีน้ำไหลเข้ามาก

 

             10  สิงหาคม  2561"ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต ชี้ฝนหนักตั้งแต่ 10-15 ส.ค.เตือน 8 จว.มีปริมาณฝนสะสมเกิน150 มม. เฝ้าระวังพิเศษ 4 เขื่อนใหญ่น้ำเกิน จับตาเขื่อนวชิราลงกรณ ยังมีน้ำไหลเข้ามาก"

 

 

 

            ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิฤกต สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) สรุปสถานการณ์น้ำว่าในช่วงวันที่ 10-15 ส.ค. 61 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมหย่อมควากดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 61มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่งและดินโคลนถล่มได้ในพื้นที่เฝ้าระวัง 31 จังหวัด ได้แก่

 

            ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง : จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และนครสวรรค์ ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด ภาคใต้ : จังหวัดระนอง และพังงา


            จากการวิเคราะห์ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่เกิน 150 มม. มีพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่งและดินโคลนถล่มเป็นพิเศษ 8 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สกลนคร มุกดาหาร ภาคตะวันออก ปราจีนบุรี ตราด ภาคใต้ ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี

 

            สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ  อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มีจำนวน 4 แห่ง ดังนี้

 

            1. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 734 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% ปริมาณน้ำไหลเข้า 15.18 ล้าน ลบ.ม./วัน กรมชลประทานได้ติดตั้งกาลักน้ำ จำนวน 15 ชุด เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำออกจากอ่างฯ ปริมาณน้ำระบายออกรวม 196.27   ลบ.ม./วินาที น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 54 ซม. (เมื่อวาน 60 ซม.) แนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเริ่มทรงตัว และจากการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ อาจมีฝนตกมากขึ้นส่งผลให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไป

 

            สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ระดับน้ำท้ายเขื่อน ที่สถานี B.3A อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี (05.00 น.) ระดับน้ำ 3.58 ม. ระดับตลิ่ง 4.40 ม. ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.82 ม. (เมื่อวาน 0.76 ม.) ปริมาณน้ำไหลผ่าน 176.10 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านทางระบายน้ำล้นมีแนวโน้มลดลงทำให้พื้นที่ริมสองฝั่งลำน้ำในบริเวณอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมือง และอำเภอบ้านแหลม ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมีแนวโน้มทรงตัว

 

            การบริหารจัดการน้ำ มีการพร่องน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีล่วงหน้า และตัดยอดน้ำผ่านระบบชลประทาน รวมถึงการพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำโดยกาลักน้ำ/เครื่องสูบน้ำ ทำให้ระดับน้ำที่อำเภอเมืองเพชรบุรี (สถานี B.15) มีระดับลดลง ต่ำกว่าตลิ่ง 0.69 ม. (เมื่อวาน 0.55 ม.) แต่ยังต้องเฝ้าระวัง 

 

           2. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 535 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103 % ปริมาณน้ำไหลเข้า 6.09 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออก 5.22 ล้าน ลบ.ม.สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังคงปกติ คาดว่าจะไม่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่มีน้ำล้นตลิ่งการบริหารจัดการน้ำ ปริมาณน้ำในอ่างฯคงที่ เนื่องจากสามารถระบายน้ำออกได้เท่ากับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ


           3. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 7,537 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 85 % ปริมาณน้ำไหลเข้า 61.24 ล้าน ลบ.ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีปริมาณน้ำไหลออก 42.74 ล้าน ลบ.ม.สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ปริมาณน้ำที่ระบายเพิ่มไม่ล้นตลิ่ง แต่อาจส่งผลกระทบต่อบริเวณรีสอร์ท ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย การบริหารจัดการน้ำ เพิ่มการระบายน้ำเป็น 43 ล้าน ลบ.ม./วัน ตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค. 61


           4. เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 317 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 81% ปริมาณน้ำไหลเข้า 6.77 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออก 9.48 ล้าน ลบ.ม.สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำปราณบุรีจะมีระดับค่อยๆสูงขึ้น ทั้งนี้ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำจากอัตราการระบายที่เพิ่มขึ้น การบริหารจัดการน้ำ เพิ่มการระบายน้ำจนถึง 100 ลบ.ม./วินาที  


           การติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีอ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำน้ำอูน (103%) เขื่อนแก่งกระจาน(103%) ขนาดกลาง 16 แห่ง ซึ่งอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 แห่ง และภาคตะวันออก 3 แห่ง  

 

           อ่างเฝ้าระวัง (80-100%) ขนาดใหญ่ 3 แห่ง เขื่อนศรีนครินทร์ (87%) เขื่อนวชิราลงกรณ (85%) เขื่อนปราณบุรี (81%) ขนาดกลาง 61 แห่ง แยกเป็น ภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43 แห่ง ภาคตะวันออก 7 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง และภาคใต้ 4 แห่ง 

 

           สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม : ริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่ จ.เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี พื้นที่เฝ้าระวังจากการเร่งระบายน้ำ : อ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม 8 แห่งและอ่างฯที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนวชิราลงกรณ ปราณบุรี  และเขื่อนน้ำอูน รวมถึงอ่างขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีปริมาณน้ำ 100%

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ