ข่าว

"สทนช."เตือนไทยเจอดีเปรสชั่นลูกที่ 2 เข้าแนวซินเติญ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สทนช."เตือนประเทศไทยเจอพายุดีเปรสชั่น ลูกที่ 2 เข้าแนวเดิมร่องฝนพายุเซินเติญ ลาวเจอก่อน มีผลต่อไทย14-17 ส.ค. ร่องพาดผ่าน ภาคเหนือสุด ยันภาคตะวันตก ภาคใ

       

        9  สิงหาคม 2561 "สทนช.เตือนประเทศไทยเจอพายุดีเปรสชั่น ลูกที่ 2 เข้าแนวเดิมร่องฝนพายุเซินเติญ เข้าประเทศลาวก่อน มีผลต่อไทย14-17 ส.ค. ร่องพาดผ่าน ภาคเหนือสุด ยันภาคตะวันตก ภาคใต้ตอนบน  

 

           ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)สรุปสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ คาดการณ์ว่าจะมีพายุดีเปรสชั่นเคลื่อนจากเกาะไหหลำในวันที่ 14 ส.ค. 61 ผ่านตอนเหนือของเวียดนาม ผ่านประเทศลาวในวันที่ 15 ส.ค. 61  และอาจพาดผ่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในวันที่ 16 ส.ค. 61 และเข้าประเทศเมียนมาในวันที่ 17 ส.ค. 61 ซึ่งจะทำให้มรสุมกำลังแรงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ด้านตะวันตกของไทย ติดกับประเทศเมียนมา ตั้งแต่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน  อ.แม่สอด  อ.พบพระ จ.ตาก จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ระนอง จะมีความชื้น- ฝนมาก จากทะเลอันดามัน

 

          ทำให้มีฝนตกในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องไปถึง 17 ส.ค. 61 โดยลุ่มน้ำเพชรบุรี ยังคงมีปริมาณน้ำหลากไหลอย่างต่อเนื่องลงเขื่อนแก่งกระจาน น้ำไหลล้นทางระบายน้ำล้นลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณอ.ท่ายาง รวมทั้งแม่น้ำสายสำคัญในประเทศมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้น และแม่น้ำโขง ระดับน้ำลดลงปัจจุบันระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง


           สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มีจำนวน 4 แห่ง คือ 1. เขื่อนแก่งกระจานสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 737 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 104% ปริมาณน้ำไหลเข้า 20.83 ล้าน ลบ.ม./วัน ปริมาณน้ำระบายออกรวม 18.20 ล้าน ลบ.ม. น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 60 ซม.

 

           สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ระดับน้ำท้ายเขื่อนที่สถานี B.3A อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ระดับน้ำ 3.66 ม. ระดับตลิ่ง 4.40 ม. แต่ยังต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.76 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 183.70 ลบ.ม./วินาที อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่ล้นทางระบายน้ำที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบ ให้มีน้ำท่วมพื้นที่ริมสองฝั่งลำน้ำในบริเวณอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมือง และอำเภอบ้านแหลม ก่อนที่จะไหลลงทะเลต่อไป      

 

          การบริหารจัดการน้ำ โดยกรมชลประทาน มีการพร่องระบายน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีล่วงหน้า และตัดยอดน้ำผ่านระบบชลประทาน รวมถึงการพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำโดยกาลักน้ำ/เครื่องสูบน้ำ ทำให้ระดับน้ำที่อำเภอเมืองเพชรบุรี มีระดับขึ้นช้าลง ต่ำกว่าตลิ่ง 0.55 ม. แต่ยังต้องเฝ้าระวัง ทั้งนี้ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดเสี่ยงที่อาจจะมีน้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นที่และชุมชน จำนวน 31 เครื่อง (สำรอง 5 เครื่อง) ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในจุดที่มีการระบายน้ำได้ช้า จำนวน 38 เครื่อง (สำรอง 8 เครื่อง) เตรียมพร้อมยานพาหนะและเครื่องจักรกล เช่น รถขุดตัก จำนวน 20 คัน ประจำในพื้นที่เพื่อขุดเปิดทางน้ำ

 

           2.เขื่อนน้ำอูนสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 534 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103 % ปริมาณน้ำไหลเข้า 4.84 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออก 4.84 ล้าน ลบ.ม.  สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังคงปกติ คาดว่าจะไม่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่มีน้ำล้นตลิ่ง  การบริหารจัดการน้ำ ควบคุมการระบายน้ำออกจากเขื่อน 3.50 ล้าน ลบ.ม. และเพิ่มการระบายน้ำโดยวิธีกาลักน้ำและเครื่องสูบน้ำอีก 0.60 ล้าน ลบ.ม.  การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งและให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ นครพนม ซึ่งลำน้ำอูนและลำน้ำสงคราม ไหลผ่าน

 

          3.เขื่อนวชิราลงกรณสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 7,519 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 85 % ปริมาณน้ำไหลเข้า 68.80 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออก 41.26 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ปริมาณน้ำที่ระบายเพิ่มไม่ล้นตลิ่ง แต่อาจส่งผลกระทบต่อบริเวณรีสอร์ท ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควน้อยการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มการระบายน้ำเป็น 43 ล้าน ลบ.ม./วัน ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2561การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ

 

         4.เขื่อนปราณบุรีสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 319 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 82% ปริมาณน้ำไหลเข้า 14.95 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออก 9.48 ล้าน ลบ.ม.สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำปราณบุรีจะมีระดับค่อยๆสูงขึ้น ทั้งนี้ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำจากอัตราการระบายที่เพิ่มขึ้นการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มการระบายน้ำจนถึง 100 ลบ.ม./วินาที  


          ทั้งนี้การติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีอ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำน้ำอูน 103%เขื่อนแก่งกระจาน104%ขนาดกลาง 17 แห่ง ซึ่งอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 แห่งและภาคตะวันออก 2 แห่ง  

 

          อ่างเฝ้าระวัง มีความจุ 80-100% ขนาดใหญ่ 3 แห่ง เขื่อนศรีนครินทร์ 87% เขื่อนวชิราลงกรณ 85%เขื่อนปราณบุรี 82%ขนาดกลาง 61 แห่ง แยกเป็น ภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43 แห่ง ภาคตะวันออก 7 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง และภาคใต้ 4 แห่ง 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ