ข่าว

สร้างแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ แก้วิกฤตลุ่มน้ำโขง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมประมงแก้วิกฤตลุ่มน้ำโขงผันผวน ปล่อยพันธุ์ปลากว่าล้านตัวลงสู่ลุ่มน้ำโขง พร้อมเปิดพื้นที่ Fish Stock สร้างแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ 

 

7 กันยายน 2562 นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากสถานการณ์ความผันผวนของน้ำในแม่น้ำโขงในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในลุ่มน้ำโขงทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำทั้งในธรรมชาติและปลาในกระชังของเกษตรกรเสียหายอย่างหนัก 

 

 

สร้างแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ แก้วิกฤตลุ่มน้ำโขง

 

เกษตรกรประมงในบริเวณชุมชนริมโขงในหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ กรมประมงในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำจึงได้มีการดำเนินโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและระบบนิเวศจากผลกระทบภัยแล้งในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาร่วมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน

 

นายอดิศร  กล่าวว่าตั้งแต่เกิดวิกฤตแม่น้ำโขงผันผวน กรมประมงไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้สังการให้เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและให้ให้คำแนะนำเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปก่อน พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยขับเคลื่อนแนวทางและวางแผนการแก้ไขปัญหาผ่านศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการประมง เพื่อให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วทันต่อสถานการณ์

 

สร้างแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ แก้วิกฤตลุ่มน้ำโขง

 

มีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ด้านการประมง (Fishereis watch) เพื่อติดตามประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะของกรมชลประทาน เพื่อนำข้อมูลน้ำมาวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคการประมง อีกทั้งในวันที่ 16 กันยายนนี้ กรมประมงจะมีการทำ MOU กับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมป์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับ “การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรน้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำร่วมกับการประมงการการขยายเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ” อันจะนำไปสู่การบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำในพื้นที่ เพื่อแจ้งเตือนภัยให้เกษตรกรได้รับทราบและวางแผนรับมือให้สอดคล้องกับสถานการ์ที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

 

ทั้งนี้ ในส่วนของการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในระบบนิเวศทางธรรมชาติของแม่น้ำโขงที่เสียหายไปให้คืนกลับอย่างยั่งยืน เบื้องต้น กรมประมงได้ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินสร้างชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด จำนวน 7 ชุมชน เป็นกลุ่มเครือข่ายชุมชนประมงติดแม่น้ำโขง 4 จังหวัด ได้แก่ (1) พื้นที่ตำบลหาดคัมภีร์  อำเภอปากชม  จังหวัดเลย  (2) พื้นที่เทศบาลตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย  (3) พื้นที่ ตำบลตำบลหอคำ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ

 

  สร้างแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ แก้วิกฤตลุ่มน้ำโขง

 

(4) พื้นที่ตำบลนากั้ง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ (5) พื้นที่อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม (6) พื้นที่ตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย  และ (7) พื้นที่ตำบลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นพื้นที่จัดคิกออฟกิจกรรมในวันนี้ โดยทั้ง 7 พื้นที่จะมีการดำเนินกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยการปล่อยพันธุ์ปลาไซส์ใหญ่ (3 – 5 เซนติเมตร) ซึ่งจะมีอัตราการรอดสูง จำนวน 350,000ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ  

 

 

นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมความรู้ให้ชุมชนสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยตัวเองได้โดยใช้ชุดเพาะฟักไข่ปลาแบบเคลื่อนที่ (Mobile hatchery)  และจัดทำพื้นที่ (Fish Stock) แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรประมงโดยชุมชน เน้นในเขตที่เป็นวังน้ำลึก (Deep pool) ซึ่งสัตว์น้ำมักหนีไปอาศัยในช่วงที่น้ำแห้งขอด โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการบริหารจัดการทรัพยากร สร้างกติกาชุมชนตามห้วงเวลาและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

 

สร้างแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ แก้วิกฤตลุ่มน้ำโขง

 

สำหรับกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรประมงและระบบนิเวศจากผลกระทบภัยแล้งในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขามีการเปิดแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (Fish Stock) บริเวณหน้าวัดหายโศก พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาที่ได้จากการเพาะฟักด้วยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (Mobile hatchery)  จำนวน 1 ล้านตัว ลงสู่บริเวณดังกล่าว พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาพื้นถิ่นขนาดใหญ่ ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทางธรรมชาติ ได้แก่ ปลาบึก จำนวน 50 ตัว และปลาสร้อยขาว  ปลากาดำ ปลายี่สกไทย ปลาสวาย (ปลาซวย) อีกจำนวน 50,000 ตัว ลงสู่ฝายเก็บน้ำห้วยค้อ เพื่อให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ปลาเหล่านี้ด้วย 

 

นอกจากนี้ ในอนาคตกรมประมงยังมีแนวคิดที่จะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่เพื่อจัดทำบันไดปลาโจนในพื้นที่ที่มีเขื่อนหรือฝาย เพื่อให้ปลาหรือสัตว์น้ำสามารถว่ายผ่านสิ่งดีดขวางขึ้นไปหาแหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศให้ทรัพยากรสัตว์น้ำได้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืนในสถานการณ์ความผันผวนของแม่น้ำโขง ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรในพื้นที่ควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการใดๆ ในลุ่มน้ำโขง จะต้องผ่านคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission – MRC) ในการบริหารจัดการร่วมกันของทุกประเทศสมาชิก เพราะแม่น้ำโขงไม่ได้อยู่ในอำนาจการบริหารจัดการของประเทศไทยเพียงประเทศเดียว

 

สร้างแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ แก้วิกฤตลุ่มน้ำโขง

 

สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในลุ่มน้ำโขง คือ พี่น้องประชาชนผู้ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จะต้องเข้าใจ ยอมรับ และปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แม่น้ำโขงที่เกิดขึ้น ดังนั้น การติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์จากทางภาครัฐอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่น สถานการณ์อุกภัยในพื้นที่แถบภาคอีสานในตอนนี้ ซึ่งกรมประมงได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารผ่านระบบโซเชียลมีเดียที่สามารถกระจายข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นการเตือนภัย ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลการให้ความช่วยเหลือ  หรือการรับแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยได้อย่างรวดเร็ว 
     

 

สร้างแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ แก้วิกฤตลุ่มน้ำโขง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.komchadluek.net/news/agricultural/383655

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ระบายน้ำลงโขงรับคาจิกิ
-รับมือน้ำโขงผันผวนหนัก
-ประเทศริมโขงต้องกำหนดกติการ่วมกันเพื่อป้องกันหายนะภัยแล้ง
-แฉเขื่อนยักษ์จีน-ลาวทำน้ำโขงแล้งผันผวน
 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ