ข่าว

หม่อนไหม สนองนโยบายรัฐฯ "การตลาดนำการผลิต"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หม่อนไหม สนองนโยบายรัฐฯ "การตลาดนำการผลิต"

           กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมสนองนโยบายรัฐฯ เน้น "การตลาดนำการผลิตสินค้าหม่อนไหมแบบครบวงจร" เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายการตลาดนำการผลิตและระบบเกษตรพันธสัญญาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เกิดรายได้ที่แน่นอนและมั่นคง นำร่องไปแล้วในพื้นที่ 7 จังหวัด เกษตรกร 800 ราย ผลผลิตรวม จำนวน 200 ตัน มูลค่าผลผลิตรวมคิดเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท

 หม่อนไหม สนองนโยบายรัฐฯ "การตลาดนำการผลิต"

                นางสาวศิริพร บุญชู  อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า กรมหม่อนไหมในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สนับสนุนเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานรวมทั้ง เป็นการสนองนโยบายการตลาดนำการผลิตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กรมหม่อนไหมจึงได้มีการสร้างความเข้าใจในนโยบายการตลาดนำการผลิตและขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน  โดยมอบหมายให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว  โดยเป็นตัวกลางในการประสานจับคู่ด้านการตลาดระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการด้านหม่อนไหม 

               นอกจากนี้ กรมหม่อนไหมได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ในเรื่องพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ และบุคลากรของกรมหม่อนไหม  เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในการดำเนินการตกลงซื้อขายผลผลิตตามพระราชบัญญัติ ส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่งานด้านหม่อนไหมร่วมกันในทุกฝ่าย นำร่อง 4 ชนิดสินค้า ประกอบด้วย สินค้ารังไหม สินค้าหนอนไหม สินค้าเส้นไหม และสินค้าแผ่นใยไหม

               โดยผู้ประกอบการจะดำเนินการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าในแต่ละชนิดสินค้าอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยมีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ในการนำร่องขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนำการผลิตสินค้าหม่อนไหมราว 800 ราย ผลผลิตรวมของทุกชนิดสินค้าหม่อนไหม จำนวน 200 ตัน  มูลค่าผลผลิตรวมที่เกิดขึ้นเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดและของประเทศในภาพรวม รวมทั้ง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจตามเป้าหมายของรัฐบาล

                ชนัญญา ดรเขื่อนสม ผู้ก่อตั้งแบรนด์ “ฅญา” ไหมไทย หนึ่งในผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนการตลาดนำการผลิตสินค้าหม่อนไหม เปิดเผยว่า จากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดธุรกิจงานบาติก โดยเริ่มจากผ้าเช็ดหน้าบาติก และมีแนวคิดที่จะนำงานบาติกมาใส่ลงในผ้าไหม ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของการทำลายบาติกสไตล์ฅญา จะใช้กาวชนิดพิเศษเขียนกั้นเทียน (เขียนกาวกั้นเทียน) มีการออกแบบลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว บ่งบอกถึงถิ่นที่มาของภูมิลาเนาภาคอีสาน ผลงานสะท้อนสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง เช่น รอยแตกระแหงของ ผืนดิน ลวดลายของใบไม้

   

           ปัจจุบัน “ฅญา” มีเครือข่ายผู้ทอผ้าไหม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยการรับซื้อผลผลิตเส้นไหมจากกลุ่มเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ ก่อให้เกิดรายได้ที่เกื้อกูลและส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร ทั้งนี้ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์นอกจากจะจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว ยังวางจำหน่ายที่ร้าน King Power สนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม ร้านค้า ในแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ เช่น หมอนรองคอผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ หมอนอิง กระเป๋าคล้องมือ และมีการต่อยอดเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผ้าไหมไทยสู่ตลาดสากลต่อไป

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ