ข่าว

 "คาวลอก"นวัตกรรมจัดการฟาร์มโคนมสู่กลุ่มสหกรณ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 "คาวลอก"นวัตกรรมจัดการฟาร์มโคนม ยกระดับจากรายฟาร์มสู่กลุ่มสหกรณ์

           นับเป็นอีกก้าวของการบริหารจัดการฟาร์มโคนม เมื่อทีมนักวิจัยจากมหาวิทาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย"รศ.ดร.ศกร คุณาวุฒิฤทธิรณ"และคณะได้พัฒนาเครืองมือในการช่วยตัสนใจบริหารจัดการฟาร์มด้วยระบบคาวลอก(Cowlog)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ลี้ยงโคนมที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการดำเนินโครงการวิจัยหัวข้อ"การพัฒนานวัตกรรมการผลิตโคเชิงการค้าร่วมกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้ชุดโครงการการพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ระบบอัจฉริยะด้วยการนใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย โดยได้รับการสนบัสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากสำนักงานคณะกรรมการสงเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.)หรือสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแหง่ชาติ(วช.)เดิม

 "คาวลอก"นวัตกรรมจัดการฟาร์มโคนมสู่กลุ่มสหกรณ์

         "คาวลอก(Cowlog)"เป็นระบบที่ช่วยในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลการบริหารจัดการฟาร์มโคนมโดยผ่านมือถือหรือสมาร์ทโฟน อาทิ พันธุ์ประวัติโค การจเริญเติบโต การผสมพันธุ์ การให้อาหาร รวมถึงการให้ผลผลิต โดยเน้นผลผลิตของสัตว์รายตัวและนำข้อมูลที่ได้จากกการบันทึกมาประมวลผลพร้อมรายงานและให้คำแนะนำเกษตรกรสำหรับใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจบริหารจัดการฟาร์ม ได้แก่การจัดการสัดส่วนฝูงโค การผสมพันธุ์ การให้อาหารและการจัดการสุขภาพโค เป็นต้น  

        และเพื่อเป็นการนำระบบดังลก่าวไปใช้ในวงกว้างเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตโคนมในฟารืมขงอเกษตรกรนำไปสู่การได้มาซึ่งผลกำไรและความมั่นคงในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทยต่อไป ทีมนักวิจัยจึงได้นำมาใช้กับสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด โดยความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย 6 หน่วยงาน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะของเกษตรกรและสหกรณ์ในการสรา้งมุลค่าเพิ่มและจัดการความเสี่ยงสำหรับการผลิตและธุรกิจนม ผ่านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกิดจากโคนมแต่ละตัวภายในฟาร์มของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์

 "คาวลอก"นวัตกรรมจัดการฟาร์มโคนมสู่กลุ่มสหกรณ์

          "ปัญหาหลักในภาพรวมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมผู้ผลิตนมมีอยู่ 3 เรื่อง เรื่องแรกคือสภาพคล่อง เราไม่ค่อยซับพอร์ตนโยบายการลงทุนมากนักยกเว้นเคสบายเคส เรามีแต่นโยบายเงินกู้ ถ้าเรามีโอกาสซับพอร์ตเรื่องเหล่านี้ ผมมีความเชื่อว่าจะผ่อนคลายความเครียดในอุตสาหกรรมผู้ผลิตโคนมดีขึ้น ประเด็นที่สองผลิตภัณฑ์ใหม่เมื่อเปิดตลาดเออีซีแล้ว  ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ๆ เราไม่ค่อยมีให้เห็น อาจจะเป็นเพราะว่าผู้บริโภคคนไทยไม่ชินกับการดื่มนม แต่นักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประทเศทุกคนชินกับการบริโภคนม แต่หานมคุณภาพผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ๆ มาซัพพอร์ตคนกลุ่มนี้กลับไม่มี และสุดท้ายคือความเสี่ยงที่ไม่ว่าเรื่องของทุน ไม่ว่าความปั่นป่วนของสภาพอากาศ ไม่ว่าการสร้างรายได้มันยังเป็นความเสี่ยงที่เรายังต้องดำเนินการแก้ไข"

          อนันต์ ภู่สิทธิกุล ประธานมูลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทย ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯกล่าวตอนหนึ่งในพิธีลงนามความร่วมมือในการดำเนินงานเชิงบูรณาการโครงการวิจัยนวัตกรรมการพัฒนาความสามารถของเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคนมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและจัดการความเสี่ยงสำหรับการผลิตโคและธุรกิจนม: กรณีศึกษาสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ณ ช้องประชุมรวงข้าว อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

           อนันต์ยอมรับว่าเมื่อเรามองในภาพใหญ่แล้วปัจจัยหลักที่ศึกษาเกษตรผู้เลี้ยงโคนมแต่ละรายที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 3 หมื่นราย แต่ด้วยข้อจำกัดของอาชีพซึ่งจำเป็นต้องอยู่รวมกันทำให้มีความเสี่ยงในการบริหารจัดการที่ต้องทบทวนดูมี 3 ระดับด้วยกัน ประการแรกการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารเกษตรกร ประการที่สองการจัดการศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ เห็นตัวเลขแล้วใจหายแต่ละวันน้ำนมดินที่เกษตรนำมาส่งที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบสูญเสียไปประมาณ 3-5% สิ่งเหล่านี้เป็นผลพวงที่จะทำให้เกิดการได้มาซึ่งน้ำนมต่อลิตรถูกตัดออกไปด้วยราคามาตรฐานและประการสุดท้ายเป็นเรื่องไฟแนนเชี่ยนต่าง ๆ หรือการบริหารจัดการทางการเงินของเกษตรกรที่ยังมีปัญหาในทุกวันนี้

          "ในอุตสาหกรรมโคนมวันนี้มีเม็ดเงินอยู่ประมาณ 2.1 หมื่นล้านในจำนวนนี้เป็นทุนจากสถาบันการเงิน1.4หมื่นล้าน ที่น่าสังเกตุก็คือว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาทุนของเกษตรกรเพิ่ม 10-15 % ทุกปีและมันเพิ่มในอัตราทุนหนี้สิน นั่นก็หมายความว่าทุน 10 บาทเป็นทุนจากสถาบันการเงิน 8 บาท ทุนของเกษตรกร 2 บาทปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้สัดส่วนเงินออมกับหนี้สินน่าเป็นห่วง"ประธานมุลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทยกล่าวอย่างกังวล

         แม้ว่าในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการฟาร์มมากขึ้นกว่าในอดีต แต่ทว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในการจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ยังคงอยู่บนพื้นฐานของการจดจำ ความสามารถในการนึกได้ตามตำบอกกล่าวหรือแนะนำของผู้อื่น จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่สัมฤทธิ์ผล

        "ระบบคาวลอกเป็นการจัดการฟาร์มบนมือถือ ที่ผ่านมามีการจัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลโคนมแบบรายตัว ในระดับฟาร์ม แต่จากนี้ไปจะนำมาใช้ในระบบสหกรณ์มากขึ้น โดยใช้สหกรณ์โคนมขอนแก่นเป็นโครงการนำร่องเพื่อยกระดับความสามารถของเกษตรกรในการจัดการผลผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากโคนมเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและใช้เป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรและสหกรณ์โคนมอื่น ๆ ในประเทศไทยนำไปศึกษาและใช้ประโยชน์ต่อไป"อนันต์กล่าวย้ำ

 

       สุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวถึงโครงการวิจัยดังกล่าวว่าจะทำอย่างไรให้การวิจัยขยายต่อไปยังสหกรณ์อื่น ๆ เนื่องจากเป็นโครงการที่เกษตรกรได้นำไปใช้ประดยชน์ เพราะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์กับเกษตรผู้เลี้ยงโคนมโดยตรง 

         "เมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสไปตรวจราชการที่ชัยภูมิ เจอผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านณรงค์ วุ้นซิ้ว ท่านบอกว่านอกเหนือจากนโยบายรัฐบาลที่ให้เด็กทุกคนได้ดื่มนมแล้ว แต่ท่านยังคิดใหม่มีนโยบายให้ผู้หญิงอุ้มท้องทุกคนต้องได้ดื่มนมด้วย ท่านสั่งให้อบต.ทุกแห่งไปสำรวจว่าคนที่ตั้งท้องในแต่ละอบต.จำนวนกี่รายแล้วให้อบต.จัดการหานมให้ผู้หญิงท้องดื่มก่อน คลอด 90 วัน เพื่อให้เด็กในท้องได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเด็กที่เกิดมามีสุขภาพดีทุกคน  ผมว่าดีนะนอกจากให้เด็กมีสุขภาพดีแล้วยังเป็นการช่วยกระจายนมได้อีกด้วย เป็นโครงการที่ดีมาก ถ้าจังหวัดทำแบบนี้ได้ก็ดี เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมก็จะได้ประโยชน์ด้วย"

       สำหรับสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2532 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกรมปศุสัตว์ได้นำวัวมาให้เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. เลี้ยงรายละ 5 ตัว และได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้ามาช่วยส่งเสริมดูแลสุขภาพการเลี้ยง และทางสำนักสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์โคนมจังหวัดขอนแก่นขึ้นมา และก็เติบโตมาจนถึงปัจจุบันนี้ ปัจจุบันสหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกทั้งสิ้น 187 ราย ซึ่งเลี้ยงโคนม รวมกว่า 8,500 ตัว มีแม่โคที่สามารถรีดนมได้ 3,750 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบได้เฉลี่ย 50 ตันต่อวัน  โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่รับธุรกิจการผลิตโคนมต่อจากรุ่นพ่อแม่และสนใจพร้อมเข้าร่วมโครงการฯนำร่อง 20 ราย ภายใต้การสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย 6 หน่วยงาน

     ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด  มูลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทย สำนักงานปฎิรูปที่ดินจ.ขอนแก่น สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต5 จ.ขอนแก่น สำนักงานปศุสัตว์จ.ขอนแก่น ศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ