ข่าว

 นโยบายด้านอาหารกับการเปลี่ยนแปลง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์ - ทำกินถิ่นอาเซียน โดย - รศ.ดร.พิชัย ทองดีเลิศ  [email protected] 

              สืบเนื่องมาจากในช่วงต้นปีหน้า 2563 ผมและนิสิตปริญญาโทสาขาส่งเสริมการเกษตร วางแผนที่จะไปดูงานด้านอาหารและการเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น โดยในปีที่แล้วได้ไปดูงานในประเด็นเดียวกันที่ประเทศไต้หวัน ซึ่งก่อนไปก็ต้องมีการเตรียมตัวในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกในประเด็นที่สนใจ ซึ่งแต่ละปีนิสิตก็จะมีความสนใจที่แตกต่างกันไป ตามอาชีพ ตามวัย และสิ่งที่จะทำในอนาคต

             ในความเป็นจริงย้อนหลังไปเท่าที่ผมจำได้ ประเทศที่เคยไปกันก็มี จีน มาเลเซีย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น แต่ที่ดูค่อนข้างจะโหดสุดและประทับใจที่สุดก็เป็นการดูงาน clmv รอบบ้านเราแต่ไปต่อเนื่องหลายประเทศ โดยการนั่งรถยนต์ดูงานไปเรื่อย ๆ เจอที่สนใจก็แวะดูได้นอกเหนือจากที่วางแผนไว้ เมื่อก่อนจะเป็นเส้นทางที่ค่อนข้างโหดร้ายแต่ในปัจจุบันกลายเป็นท่องเที่ยวที่สะดวกสบายไปหมดแล้วที่เชื่อมต่อกันหมดทั้งไทย ลาว เวียดนามและกัมพูชารวมทั้งจีนด้วย

           และล่าสุดเส้นทางจากน่านไปหลวงพระบางก็เปิดใช้กันได้แล้ว จึงน่าจะเป็นเส้นทางสำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ดีอีกเส้นทางหนึ่งสำหรับคนรักธรรมชาติ การเกษตร และการผจญภัยแบบขับรถข้ามประเทศไปกันเอง

             ย้อนกลับมาในเรื่องข้อมูลของญี่ปุ่นกันต่อ ซึ่งในช่วงหลังๆดูจะเป็นสถานที่ๆมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมกันมากทั้งในแง่ของธรรมชาติ วัฒนธรรม เทคโนโลยี แฟชั่น และอาหารการกิน ซึ่งในประเด็นหลังๆนี่ค่อนข้างสำคัญ เพราะอาหารญี่ปุ่นนับวันยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นและมีร้านอาหารกระจายไปทั่วโลกและมีการเติบโตไปค่อนข้างรวดเร็ว แต่ในทางตรงกันข้ามดัชนีความสามารถในการพึ่งพาอาหารของตนเองของญี่ปุ่นกลับมีศักยภาพการผลิตอาหารที่ลดลงเนื่องจากการหดตัวของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตเฉลี่ยที่ลดลง 

            ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ได้มีนโยบายที่จะพยายามรักษาระดับการผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหารของตนเองไว้ ในขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ยังคงมีสินค้าส่งออกต่างประเทศในระดับแรกๆที่มีชื่อเสียงก็คือ เนื้อวัว ชาเขียว ข้าวญี่ปุ่น สตรอเบอรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศอยู่เช่นกัน แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การส่งออกสินค้าสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดโลกโดยเฉพาะข้าวของญี่ปุ่น โดยมีการจัดงาน Expo ต่างๆเกี่ยวกับสินค้าด้านอาหารและการเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าบางประเภทอย่างต่อเนื่องและคาดหวังปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น

          นอกจากนี้อีกประเด็นหนึ่งที่ญี่ปุ่นค่อนข้างให้ความสำคัญตลอดมาก็คือเรื่องการให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้าเกษตร และรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็มีเป้าหมายในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือผลผลิตที่เป็น ( GI ) อย่างน้อยเมืองละหนึ่งชนิด ซึ่งเป็นการสร้างความสำคัญให้กับผลผลิตในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้สามารถใช้จุดเด่นที่เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวให้มาเพิ่มขึ้น 

           ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คนในช่วงหนุ่มสาวของญี่ปุ่นนิยมทานอาหารกันในครอบครัวกันมากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องของอาหารปลอดภัยและการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น ดังนั้นเรื่องของผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพจึงเกิดขึ้นและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มยอดขายไปด้วยเช่นกัน ในด้านของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารของคนญี่ปุ่นเอง ก็มีการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแบบออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการซื้อผลไม้สด ผักสด เนื้อสดและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นของ e-commmerce ตามกระแสโลกในช่วงที่ผ่านมา 

         จากตรงนี้ทำให้เห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนนโยบายเรื่องของการผลิตและการบริโภคอาหารกายังคงป็นเรื่องปากท้องที่มีความสำคัญและเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาติที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดตลอดเวลาเช่นกัน 

           

          จากตรงนี้ทำให้เห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนนโยบายเรื่องของการผลิตและการบริโภคอาหารกายังคงป็นเรื่องปากท้องที่มีความสำคัญและเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาติที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดตลอดเวลาเช่นกัน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ