ข่าว

ตั้งเป้าศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นหน่วยอารักขาพืช

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

  กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งเป้า ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นหน่วยอารักขาพืชในพื้นที่

 
              นายสำราญ  สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ส่วนใหญ่ปัญหาในการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกร จะพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก การควบคุมศัตรูพืช อาศัยประสบการณ์และความเคยชิน ขาดความรู้ด้านวิชาการเป็นอย่างมาก จึงทำให้การผลิตพืชขาดทั้งปริมาณ คุณภาพ และระบบนิเวศถูกทำลาย  กรมส่งเสริมการเกษตร จึงวางเป้าหมายให้จัดตั้ง ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) เน้นการพัฒนาเกษตรกรและชุมชน ให้สามารถจัดการศัตรูพืชได้ด้วยตนเองอย่างครบวงจร โดยเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ชุมชนและหน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อทำให้เกษตรกร ชุมชน มีความเข้มแข็งในอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ลดการพึ่งพาสารเคมี ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรใช้ ศจช. เป็นกลไกและ เครือข่ายของการจัดการศัตรูพืช เป็นศูนย์เครือข่ายของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ปัจจุบัน ศจช. ทั้งหมด 1,764 แห่ง อำเภอละ 2 แห่ง ทั่วประเทศ ปัจจุบัน ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 
        

ตั้งเป้าศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นหน่วยอารักขาพืช

       ในปัจจุบันใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร คือการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง เพื่อให้เกษตรกรจัดการศัตรูพืชได้ด้วยตนเอง อย่างครบวงจรและยั่งยืน โดยให้เกษตรกร ชุมชน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการระบาดศัตรูพืชแก่เกษตรกร และเป็นจุดในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนการระบาดของศัตรูพืช  รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเกษตรกรในการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีด้านการจัดการ ศัตรูพืชอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อช่วยแก้ปัญหาการระบาดของศัตรูพืช และลดการใช้สารเคมี ในระยะยาว
                นายทวีพงศ์  สุวรรณโร  ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันตั้งเป้าให้ ศจช.ทุกแห่ง จัดทำแปลงเรียนรู้การจัดการศัตรูพืชอย่างเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ รวมถึงการจัดระดับชั้นของ ศจช. เพื่อวางแผนพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสม ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ต่อไป
                สำหรับ ศจช. ตำบลบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์และการทำงานร่วมกันของชุมชน ที่ร่วมกันวางแผน ป้องกัน จัดการปัญหาที่เกิดขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมะพร้าวและมันสำปะหลัง และมีการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกัน กำจัดศัตรูมะพร้าวแก่สมาชิกและเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้ขยายออกไป โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอศรีราชา สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และติดตามผล
              การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว เช่น การผลิตขยายแตนเบียนบราคอน การตัดทางใบลงมาเผาทำลาย ฯ  ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถลดการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวลงได้อย่างชัดเจน จึงทำให้สมาชิกเห็นความสำคัญในการดำเนินงานและเข้ามาร่วมวางแผนกันอย่างต่อเนื่อง 

     
              การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว เช่น การผลิตขยายแตนเบียนบราคอน การตัดทางใบลงมาเผาทำลาย ฯ  ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถลดการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวลงได้อย่างชัดเจน จึงทำให้สมาชิกเห็นความสำคัญในการดำเนินงานและเข้ามาร่วมวางแผนกันอย่างต่อเนื่อง 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ