ข่าว

 ไทยจับมือเวียดนามลุย"ยางสร้างอาเซียน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ไทยจับมือเวียดนามลุย"ยางสร้างอาเซียน" ทางแก้วิกฤติยางพารากลุ่ม"ซีแอลเอ็มวีที"

 

         ผลพวงมาจากการลงนามความร่วมมือบันทึกข้อตกลง(MOU) 23 องค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมด้านยางพาราเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนณ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จ.บึงกาฬเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.62 ทีผ่าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนยางพาราครั้งใหญ่ของภาคประชาสังคมคู่ขนานไปกับนโยบายภาครัฐ หลังคณะรัฐมนตรี(ครม.)สัญจรที่จ.เพชรบูรณ์เมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้อนุมัติงบประมาณกว่า 1,400 ล้านบาทสร้างนิคมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรบนเนื้อที่กว่า 500 ไร่ในต.หอคำ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดได้จัดเตรียมพื้นที่ไว่เรียบร้อยแล้ว

 ไทยจับมือเวียดนามลุย"ยางสร้างอาเซียน"

 

     สอดรับกับมติครม.เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.62 ได้เห็นชอบโครงสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ช่วงบึงกาฬ-แขวงบอลิคำไซ  โดยมอบหมายให้กรมทางหลวงดำเนินการออกแบบและคาดว่าก่อสร้างเสร็จภายในปี 2565 โดยรัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาว ใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือเนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง 3,930 ล้านบาท ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยย่นระยะทางการส่งสินค้ายางพาราจากไทยไปสู่จีนได้เร็วขึ้น 

       ดังนั้นการลงนามMOU ของ 2 องค์กรในวันนั้นเป็นการเตรียมความพร้อมของภาคการผลิตในการรองรับอภิมหาโปรเจกต์อุตสาหกรรมด้านยาง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมดำเนินการได้ในอีก 3 ปีข้างหน้าและตรงกับระยะเวลาที่การลงนามครั้งนี้สิ้นสุด

       “3ปีจากนี้ไปเราจะต้องเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมมาจากการลงนามครั้งนี้” คำกล่าวสั้น ๆแต่แฝงด้วยความมุ่งมั่นของรองผู้ว่าฯบึงกาฬ“ธวัชชัย ศรีทอง”ในระหว่างการเป็นประธานในพิธีเปิดการลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU)ในวันนั้น บึงกาฬ ถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดในภาคอีสานมีประมาณ 1.3 ล้านไร่ ในขณะตัวเลขที่ลงทะเบียนเกษตรกรอยู่ที่ 8.5 แสนไร่ ในขณะที่ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าของเกษตรกรก็มีมากเช่นกัน 

         "ปกติผมทำธุรกิจในฝั่งลาว สองปีที่ผ่านมาผมเห็นการถูกเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร จึงอาสาที่มารับตำแหน่งตรงนี้เพื่อเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหายางพารา นโยบายของผมในการแก้ปัญหาจะแก้ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ต้นน้ำเราร่วมกับเกษตรกรและเครือข่ายต่างๆ เช่น กลุ่มสาหกิจชุมชน สหกรณ์ รวมทั้งสภาเกษตรกรมาร่วมมือกันในการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้การวิจัยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เราจะไปรอเรื่องราคาไม่ได้แล้ว รัฐบาลแก้ไม่ได้ ประชาชนอย่างพวกเราจะแก้ได้อย่างไร"

         ภคพล บุตรสิงห์ ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ไทย-ลาวจังหวัดบึงกาฬกล่าวกับ“คม ชัด ลึก”ถึงการร่วมมือของภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนยางพาราโดยใช้นวัตกรรมจากงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยเขายอมรับว่าวันนี้ราคาน้ำยางสดเฉลี่ยอยู่ที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม ถ้าเป็นยางก้อนถ้วยไม่เกิน 20 บาทต่อกิโลกรัม แม้ราคายางแผ่นรมควันวันนี้จะขึ้นไปสูง 60 บาทคต่อกิโลกรัมแต่เชื่อว่าเป็นช่วงสั้นไม่ยั่งยืน อีกไม่นานก็จะตกลงมา 3-4 กิโล 100 เ้หมือนเดิม

       "มีอยู่ช่วงหนึ่งยางก้อนถ้วยราคาขึ้นถึง 22 บาทต่อกิโลไม่ถึง 3 วันก็ลงมาอีก ปัจจุบันอยู่ที่ 19-20 เป็นปัญหาเกษตรต้องแบกรับภาระต้นทุน ปัญหาาสิ่งแวดล้อมและอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่เกษตรกรกำลังประสบอยู่ อย่างเรื่องของการโกงน้ำหนักตาชั่ง โกงค่าดีอาร์ซี วันนี้ที่บึงกาฬมีลานยางพาราเกิดขึ้นเยอะมาก ผมไปสุ่มตรวจ 10 ลาน โกง 8 ลานคิดดูว่ามันจะเจ็บช้ำใจขนาดไหน ราคาต่ำแล้วยังมาถูกโกงน้ำหนักอีก"

        ภคพลเผยต่อว่าสำหรับการแก้ปัญหาต้นน้ำมันจะเริ่มที่ตัวเกษตร โดยนำนวัตกรรมการเจาะแทนการกรีดและปรับเปลี่ยนจากการทำยางแผ่นหรือยางก้อนถ้วยมาเป็นน้ำยางสดแทนเพื่อสอดรับการตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรที่จะแล้วเสร้จในอีก 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากน้ำยางสดนั้นมีความปลอดภัยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทันที อย่างเช่นการผลิตหมอนยางพารา เป็นต้น โดยใช้เครือข่ายองค์กรเกษตรกรเป็นผู้รวบรวมผลผลิตเพื่อนำส่งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต่างจากยางพารา อาทิล้อยาง ถุงมือยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 

         "เราจะทำยางก้อนถ้วยอีกไม่เกิน 2 ปีจากนั้นก็จะเปลี่ยนมาน้ำยางสดแทน ถ้าเปลี่ยนทันทีตอนนี้ไม่ได้เพราะยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมรองรับ ต้องไปส่งที่ระยอง ซึ่งไม่คุ้มค่าต้นทุนการขนส่ง ส่วนกลางน้ำเรามีสหกรณ์อยู่ประมาณ 50 กว่าสหกรณ์ และที่มีผลประกอบการสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง 43 สหกรณ์  มีวิสาหกิจชุมชนที่เป็นยางพารามีอยู่ 37 แห่งแล้วก็ระดมเครือข่ายต่าง ๆ เข้ามาช่วยเกษตรกรได้ ขณะที่ปลายน้ำเราร่วมกับสมาคมล้อยางผลิตล้อยาง เขาสามารถให้ราคาสูงได้ แต่เขาขออย่างเดียวต้องเป็นยางปลอดสารเคมี"

        อำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษาสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย(สยยท.) และหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการคลอดพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยพ.ศ.2556 โดยรวม 3 องค์กรมาไว้ด้วยกัน ประกอบด้วยองค์การสวนยาง สถาบันวิจัยยางและสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางแล้วตั้งเป็นหนว่ยงานใหม่มีชื่อว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) แต่ปัจจุบันการที่กยท.ไม่นำบางมาตราที่เป็นหัวใจหลักของพ.ร.บ.มาใช้ทำให้การทำงานของหน่วยงานเกิดการบิดเบี้ยว อานิสงค์จากพ.ร.บ.ฉบับนี้จึงไม่ตกถึงมือเกษตรกรชาวสวนยาง

 ไทยจับมือเวียดนามลุย"ยางสร้างอาเซียน"

          "สองเรื่องที่ผมทำตอนเป็นรัฐบาล หนึ่งคือทำกฎหมายในกฎหมายการยางแห่งประเทศไทยนอกจากรวบรวมสามหน่วยงานเข้าด้วยกันแล้ว มีมาตราหนึ่งที่เป็นหัวใจของเกษตรกรตัวเล็กตัวน้องคือให้มีกองทุนเพื่อให้โอกาสกับเกษตรกรเข้าถึงกองทุนนี้ ผมก็บอกไปว่าเพื่อให้กฎหมายนี้ทำเพื่อเกษตรกรจริง ๆ ท่านอุทัย(สอนหลักทรัพย์)ไปเขียนมาแล้วผมจะให้ฝ่ายกฎหมายดูแลอะไรที่ไม่ขัดกับนโยบายของรัฐผมพร้อมผลักดันเรื่องให้ผ่านสภา สุดท้ายกฎหมายตัวนี้ผ่านสภาได้โดยไม่มีการแก้ไขเลย"อำนวยย้อนอดีตให้ฟังระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูงาน"บึงกาฬโมเดล"

     

    ส่วนเรื่องที่สองนั้น อำนวยระบุว่าเป็นเรื่องตลาดของคนตัวเล็กตัวน้ยอที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทั้งที่ในพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้เขียนไว้อย่างชัดเจน แต่หลังจากที่ตนเองมอบหมายให้นายอุทัย สอนหลักทรัพย์นำเรื่องของตลาดเกษตรกรไปทดลองดำเนินการที่จ.ระยอง สุดท้ายระยองก็เดินไปเองได้ ซึ่งเป็นการทำตลาดจากของจริง มีวัตถุดิบอยู่จริง ไม่ใช่ตลาดบนแผ่นกระดานอย่างที่สิงคโปร์หรือเซียงไฮ้ที่มีการซื้อขายกันล่วงหน้า

         "ยางมีอิทธิพลมีผลอย่างรุนแรงต่อการเปลี่ยนประเทศ ประเทศไทยมีเครือข่ายสองวง วงแรกแรกเป็นเครือข่ายภายในประเทศเอาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ คนเกีี่ยวข้องกับยางทั้งหมดมาอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เมื่อเครือข่ายภายในจัดระบบได้แล้วก็จะสู่วงที่สองเครือข่ายระหว่างประเทศที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน เช่นลาว เวียดนาม กัมพูชา ถ้าจัดระบบสองวงนี้ได้และเน้นไปที่ตัวเกษตรกรเป็นหลักอิงตลาดจริง ซื้อขายจริงที่เราสัมผัสได้เป็นตลาดที่คนตัวเล็กตัวน้อยเข้าถึง นี่คือทางรอดของเกษตรกรชาวสวนยางอยู่ได้อย่างยั่งยืน"

      อำนวยยังกล่าวถึงการเชื่อมโยงยางพาราในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีที(CLMVT) ว่าจะต้องใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการวางเครือข่ายทั้งด้านกฎหมายและนวัตกรรมงานวิจัยเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แทนการส่งออกเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากในกลุ่มประเทศเหล่านี้นอกจากค่าจ้างแรงงานถูกแล้วยังเป็นตลาดหลักที่สำคัญอีกด้วย 

         "ตัวนำจะมีสองประเทศคือไทยกับเวียดนามหรือ T กับ V  เวียดนามกับเราได้เชื่อมโยงกันมานานแล้ว เราจะต้องรวมกันให้ได้ ที่ผ่านมาไม่เคยรวมกันได้ ผมคิดว่าเที่ยวนี้ถ้าเรารวมกันได้นั่นคือปาฏิหาร์เกิดขึ้นในโซนยางของโลกและยางพาราเป็นตัวหนึ่งที่จะสร้างอาเซียนได้" อำนวยกล่าวสรุปทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ