ข่าว

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน" แวะช้อบผลิตภัณฑ์ชุมชนบนเกาะมังกรทอง

 

           “ไม่ไปไม่ได้เป็นพื้นที่ที่คนข่าวเกษตรต้องไปให้ได้หากจะรู้เรื่องภาคการเกษตรกรของเวียดนาม”เพื่อนร่วมอาชีพคนหนึ่งยืนยัน หลังรับหมายจากบก.ข่าวให้ไปทำข่าวที่ประเทศเวียดนามตามคำเชิญของสำนักข่าวสารแห่งชาติเวียดนามหรือVNAเพื่อร่วมลงพื้นที่สำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงหรือแม่โขงเดลต้า อยู่ทางตอนใต้สุดของเวียดนาม แหล่งผลิตอาหารสำคัญที่สุดของประเทศ

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน"

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน"  ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน" อ.ทรงฤทธิ์ โพนเงิน

   

        “ท่องโลกเกษตร”อาทิตย์นี้บินลัดฟ้ามุ่งหน้าสู่เวียดนามเพื่อไปดูปัญหาพื้นที่“แม่โขงเดลต้า”หรือภาษาเวียดนามเรียกว่า“กู่ลองยาง” ตามคำเชิญของสำนักข่าวสารแห่งชาติเวียดนามหรือVNA ผ่านการประสานงานโดย“อ.ทรงฤทธิ์ โพนเงิน”หรืออาจารย์เคิก อดีตนักสื่อสารมวลชนที่เชี่ยวชาญภูมิภาคอินโดจีน ก่อนผันตัวเองมาเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน"

           การเดินทางครั้งนี้มีสื่อมวลชนไทยร่วมเดินทางจำนวน 8 ท่านมีทั้งวิทยุ ทีวีและหนังสือพิมพ์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักข่าวสารแห่งชาติเวียดนามหรือVNA“กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม 2 คนคือเลือง หว่าง ย้าบ(LUONG HOANG GIAP)และฟาม ทันห์ ไห่(Pham Thanh Hai”ทำหน้าที่ประสานงานและล่ามแปลความจากภาษาเวียดนามเป็นไทย

             ฟาม ทันห์ ไห่(Pham Thanh Hai” ทำหน้าที่ล่าม มีชื่อภาษาไทยว่า“นที”ทำหน้าที่ล่ามช่วยแปลความจากภาษาเวียดนามเป็นไทยให้พวกเราฟัง เหตุที่นทีพูดภาษาไทยคล่องปร๋อ เพราะเรียนจบป.โทด้านภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วยทุนรัฐบาลเวียดนาม 

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน"

           “สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้องรับสู่เวียดนามครับ”นทีกล่าวต้อนรับหลังเจอพวกเราหน้าประตูทางออกสนามบินเตินเซินเญิ้ตในนครโฮจิมินห์ ก่อนพาไปรับประทานนอาหารกลางวันที่ร้านเฝอชื่อดังกลางมหานครแห่งนี้ ก่อนมาฟังข้อมูลปัญหาในพื้นที่แม่โขงเดลต้าในช่วงบ่ายจาก ผศ.หว่าง เวียด อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่น้ำโขงจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโฮจิมินห์

           จากนั้นวันรุ่งขึ้นเรามุ่งหน้าไปยังพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงหรือแม่โขงเดลต้า โดยมีเป้าหมายที่จังหวัดเตี่ยนยาง ห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 165 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 45 นาที ระหว่างทางจากโฮจิมินห์ไปเตี่ยนยาง สังเกตุสองฝั่งถนนเต็มไปด้วยนาข้าวของชาวบ้าน บางแปลงอยู่ระหว่างเตรียมดิน บางแปลงก็เป็นต้นกล้าสีเขียว สลับด้วยไม้ผล เช่นมะม่วง มะพร้าว อยู่เป็นระบบ แต่ถ้าสังเกตุดี ๆ บริเวณหัวมุมคันนาจะมีเจดีย์เล็ก ๆ ตั้งอยู่หรือไม่ก็ฮวงซุ่ย 

           อ.ทรงฤทธิ์อธิบายให้ฟังว่าเหตุผลที่เจ้าของที่นาตั้งเจดีย์หรือฮวงซุ้ยอยู่ตามหัวมุนคันนาของตัวเองมันเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ไม่ต้องการให้การซื้อขายที่ดินหรือที่ดินตกอยู่ในมือของคนอื่น เนื่องจากเวียดนามมีพื้นที่ราบน้อยและพืน้ที่สำหรับทำการเกษตรก็มีไม่มาก ส่วนเหตุผลอีกประการลูกหลานต้องการให้บรรพบุรุษอยู่ใกล้ ๆ บ้าน จึงสร้างทีอยู่ให้กับญาติผู้ล่วงลับอยู่ใกล้บ้าน

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน"

           "มันเป็นกลยุทธ์ของคนเวียดนาม ทำแบบนี้ได้สองต่อคือประการแรกเวียดนามเขานับถือบรรพบุรุษมาก พ่อแม่ ปู่ยาตายาย เมื่อตายไปก็จะฝังในที่ทำกินของตัวเอง หรืออยู่ใกล้ ๆ บ้านแล้วสร้างฮวงซุ้ยหรือเจดีย์ทำเป็นสัญลักษณ์ไว้ ประการต่อมา มีหลุมฝังศพอยู่บนที่นา ใครจะกล้ามาซื้อที่ดินล่ะจริงไม๊"อ.ทรงฤทธิ์แจงเหตุผลให้ฟัง หลังงีบไปสักพักก็ถึงที่หมายคืออ.หมี่ทอ จ.เตี่ยนยาง

            เมืองนี้มีแม่น้ำสงเตียน ซึ่งเป็น 1 ใน 9 ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงไหลผ่านใจกลางเมือง คำว่า“สง(song) ภาษาเวียดนามแปลว่าแม่น้ำ ส่วน”เตียน(Tien)แปลว่าร่ำรวย รวมสองคำแปลว่าแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ แม้ในอดีตจะเป็นเช่นนั้น แต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นดั่งชื่อ เมื่อเจอปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาจากทะเลจีนใต้

           ในขณะอีกความหมายคำว่าสงเตียน(Song Tien)สายน้ำข้างหน้าหรือแม่น้ำสายแรก ส่วนแม่น้ำอีกสายที่เป้นสายสุดท้ายคือ Song Hau คำว่า Hau แปลว่าข้างหลัง รวมความแล้วคือแม่น้ำสายสุดท้าย ซึ่งอยู่ห่างไปออกประมาณ 40 กิโลเมตร ขณะเดียวกันก็สองฝั่งแม่น้ำก็มีปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่งจนพังทลายหายไปกับสายน้ำแต่ละปีหลายเฮกตาร์ 

              “น้ำกัดเซาะตลิ่งปัญหาใหญ่ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งเลยตอนนี้ เพิ่มมีความรุนแรงในช่วง 4-5 ปีมานี้เอง”เหงียน ดึก ทันห์  หัวหน้าแผนกเขื่อนป้องกันภัยธรรมชาติ สำนักงานเกษตรจังหวัดเตียนยาง เผยข้อมูลระหว่างนำคณะล่องเรือไปดูพื้นที่มีปัญหาน้ำหักเซาะตลิ่ง ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะมังกรทอง ซึ่งเ้ป็นเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำ คล้าย ๆ กับเกาะเกร็ดบ้านเรา

 ล่องเรือชมวิถีผู้คนในแม่น้ำ"สงเตียน"

           ลุงเล วัน ไป๋ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเป้าหมายที่เราเดินทางไปดู ซึ่งลุงบอกว่าเมื่อก่อนที่ดินของลุงอยู่ตรงกลางแม่น้ำอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 50 เมตร เพียงเวลาแค่ 10 ปี ที่ดินของลุงก็ถูกน้ำกัดเซาะหายไปทีละนิดไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก จนวันนี้มีที่ดินเหลืออยู่แต่บ้านพักอาศัยและพื้นที่ทำการเกษตรกปลูกผัก ปลูกไม้ผลเพียงแต่ 5 เฮกตาร์เท่านั้น ซึ่งก็โชคดีที่ทางการมาทำกำแพงปูนกั้นตลิ่งให้ ทำให้น้ำกัดเซาะตลิ่งลดน้อยลง

   

        หลังเดินสำรวจพื้นที่มีปัญหาน้ำกัดเซาะอยู่พักใหญ่ จากนั้นจึงขึ้นเรือยนต์เพื่อิเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านท่องเที่ยวเรียกว่าชุมชนกู้ลาว(Culao) ซึ่งที่นี่มีการแปรรูปจากมะพร้าวในรูปของวิสาหกิจชุมชน โดยมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวเช่น ไอศกรีมมะพร้าวอ่อน  ขนมมะพร้าวแก้ว ลูกอมใส่มะพร้าว ผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นชื่อของที่นี่จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว

        ขณะเดียวกันยังมีให้บริการล่องเรือชมสวนมะพร้าวและสวนผลไม้ ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลบอกว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี จีน สิงคโปร์เป็นหลัก ส่วนกรุ๊ปทัวร์คนไทยก็มีบ้างประปราย แต่เขาก็ติดตามข่าวสารจกเมืองไทยอยู่ตลอดเวลา ก่อนกลับก็ได้ช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชนกู้ลาวหมดไปหลายแสนด่องเหมือนกัน  

          มัวแต่สาละวนดูกรรมวิธีการผลิตสินค้าชุมชนจนเพลิน เลยพลาดโอกาสล่องเรือชมสวน เนื่ิองจากดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า แต่ตั้งใจไว้ว่าหากมีโอกาสจะกลับมาเยือนอีกครั้ง ณ เมืองแห่งนี้

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ