ข่าว

 ธ.ก.ส.มุ่งสู่"Go Green" ชูยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรยั่งยืน 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ธ.ก.ส.มุ่งสู่"Go Green" ชูยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรยั่งยืน 

 

     ธ.ก.ส.วางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ปี 2562 มุ่งสู่องค์กรสีเขียว Go Green สนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรยั่งยืน เป็นทางเลือกของการปฏิรูปภาคการเกษตร ด้วยการยกระดับการผลิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน ภายใต้โครงการ“4 5 9” ตอบสนองความต้องการของตลาดและสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค พร้อมขยายช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรผ่านสกต.  

 ธ.ก.ส.มุ่งสู่"Go Green" ชูยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรยั่งยืน 

 ธ.ก.ส.มุ่งสู่"Go Green" ชูยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรยั่งยืน 

 ธ.ก.ส.มุ่งสู่"Go Green" ชูยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรยั่งยืน 

  

       "โครงการ"4 5 9"มหมายความว่า เดินออก จากบ้าน 4 - 5 ก้าว ก็มีอาหารปลอดภัยไว้กิน ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และเมื่อมีผลผลิตเหลือบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้"

       อภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงยุทธศาสตรในการบริหารในปี 2562 ระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลงานความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อ.แม่ระมาดและอ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยระบุว่าธ.ก.ส.พร้อมขับเคลื่อนโครงการอาหารปลอดภัย จากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เริ่มจากการสร้างจิตสำนึกให้กับเกษตรกร ด้วยโครงการสร้างความเข้มแข็งระดับครัวเรือน ภายใต้รหัส“459” ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาที่ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่9 มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 

    โดยโครงการดังกล่าวขณะนี้ธ.ก.ส.ได้เริ่มไปแล้วใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 27 ชุมชน ซึ่งบางชุมชน สามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายได้ที่ห้าง Modern Trade ได้ นอกจากนี้เพื่อให้ เกษตรกรตระหนักถึงการผลิตอาหารที่ปลอดภัยที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ธ.ก.ส. มีแผนร่วมกับ อ.ส.ม. เพื่อ ตรวจสารพิษในร่างกายของเกษตรกรและตรวจสาร ตกค้างในผลผลิต อีกด้วย

     ผู้จัดการธ.ก.ส.กล่าวต่อไปว่านอกจากนี้ธ.ก.ส.ก็ยังต่อยอดชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่ต้องการผลิต อาหารปลอดภัย จำนวน 315 ชุมชน ที่ ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุนให้มีการผลิตที่ ได้มาตรฐานต่าง ๆ ได้แก่ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เป้าหมาย เกษตรกร 2,000 ราย 200 ชุมชน มาตรฐานการ ตรวจรับรองคุณภาพแบบมีส่วน ร่วมของชุมชน(PGS) เป้าหมาย เกษตรกร 1,500 ราย 150 ชุมชน และมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) เป้าหมายเกษตรกร 500 ราย 50 ชุมชน รวมถึงสนับสนุน Smart Farmer ทายาทเกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายผู้ผลิตอาหาร ปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ โดยประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร เป็นต้น และมีแผนพัฒนาให้สหกรณ์การเกษตรเป็น คณะผู้ตรวจประเมิน และมีความพร้อมสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อสร้างการ รับรู้และความมั่นใจ ให้กับเครือข่ายผู้บริโภค

      "โครงการเกษตรหรืออาหารปลอดภัยนี้จะขับเคลื่อนผ่านกระบวนการ ของ สหกรณ์การเกษตร เพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) สหกรณ์การเกษตร (สกก.) และ บริษัทไทยธุรกิจ เกษตร จำกัด (TABCO) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการรวบรวมสินค้า การแปร รูปสร้างมูลค่าเพิ่มและการกระจายสินค้าจาก เกษตรกรผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค และธ.ก.ส. จะสนับสนุนสินเชื่อให้สหกรณ์และกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน รวบรวม แปรรูปผลผลิต เช่น สร้างโรงคัดตัดแต่งผลผลิต จัดซื้อ ห้องเย็น และรถขนส่ง เป็นต้น"

      อภิรมย์ย้ำด้วยว่าสำหรับ Go Green เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ ธ.ก.ส.จะดำเนิน งานควบคู่กับแนวทางการปฏิรูปภาคการเกษตรไทย 3 คำคือ "ปรับ เปลี่ยนและพัฒนา" ซึ่งปรับนั้นเป็นการผลิตโดยใช้เทค โนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อลดต้นทุน  ส่วน เปลี่ยน คือการผลิตให้ สอดคล้อง กับสภาพพื้นที่ และให้ตรงกับความ ต้องการของตลาด และพัฒนา โดยใช้สหกรณ์การ เกษตร และผู้ประกอบการ SMAEs เป็นหัวขบวนนำการ เปลี่ยนแปลงโดยสนับสนุน ให้มี การผลิตการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่มูลค่าสินค้าเกษตร

     “การก้าวสู่ Go Green เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ตอบโจทย์สำคัญในเรื่องของการดูแลสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่ง ธ.ก.ส.พร้อมสนับสนุนแหล่งเงินทุนและความรู้ในการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อให้เกษตรกรมีภูมิคุ้มกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชนมีความ เข้มแข็งและมีรายได้เพิ่มจากผลผลิตที่มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานรองรับ ส่งผลถึงความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ของภาคเกษตรไทย”ผู้จัดการธ.ก.ส.กล่าวในที่สุด 

 

                                   ไขรหัสลับโครงการ“4 5 9 ” 

       “4 5 9”เป็นการสร้างคำให้กล่าวที่จำได้ง่าย ซึ่งแท้จริงแล้ว“4 5 9”นั้นเป็นกระบวนการ“พัฒนาชีวิต”โดยการน้องนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่9 มาปรับใช้ในครัวเรือน โดยเริ่มต้นจาก“ปัญหา”แล้วพัฒนาใช้เกิด“ปัญญา”แล้วนำปัญญามาแก้ไขปัญหาของแต่ละคน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1“พึ่งพาตนเอง”ด้วยการใช้พื้นที่รอบ ๆ บ้านปรับเปลี่ยนเป็นแหล่งผลิตอาหารง่าย ๆ ในครัวเรือน อาทิ ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตรแบบผสมผสานตามทฤษฎีใหม่ เพียงแค่เดิน 4-5 ก้าวออกจากบ้านก็ถึงแหล่งอาหารที่ใช้เวลาในการผลิตไม่เกิน 45 วัน เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคในครัวเรือนของตนเอง “4 5 9” จึงเป็นเสมือนรหัสแก้ไขปัญหาความยากจนตามศาสตร์พระราชาโดยกำหนดให้เป็นตัวเลขให้จดจำง่าย เป็นเลขมงคล ถ้าใครนำไปปฏิบัติแล้วจะเกิดความผาสุขในครัวเรือน

      สำหรับแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ โดยเห็นจากตัวอย่างความสำเร็จของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งใช้พื้นที่ภายในโรงเรียนทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ ประกอบด้วย โรงเรือนน้ำหมักชีวภาพ กองปุ๋ยหมักชีวภาพ แปลงผักปลอดสารพิษ เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก โรงเรือนเพาะเห็ด เลี้ยงกบคอนโด เตาผลิตน้ำส้มควันไม้และถ่านอนามัย เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงไก่พื้นเมือง พืชสมุนไพร ผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยผลผลิตที่ได้จะนำมาทำเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนที่อยู่ 1,000 กว่าคน 

                                 กว่าจะมาเป็นสมุนไพรปลูกรัก“Plant Love” 

                การเกิดขึ้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปสมุนไพรปลูกรักในต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตากที่มี"เสาวลักษณ์ มณีทอง" เป็นประธานกลุ่มนั้น เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2557 หลังจากที่เธอได้เห็นการดำเนินชีวิตของคนในบ้านเกิดของตนแล้วพบว่ามีการทำไร่ทำนาและต้องเผชิญกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ยิ่งทำก็ยิ่งเป็นหนี้ จึงอยากจะช่วยเหลือคนในชุมชน จึงได้นำแนวคิด“การใช้ตลาดนำการผลิต”

 ธ.ก.ส.มุ่งสู่"Go Green" ชูยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรยั่งยืน 

 ธ.ก.ส.มุ่งสู่"Go Green" ชูยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรยั่งยืน 

               โดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ อาทิ พืชผัก สมุนไพ ผลไม้ต่าง ๆ ทั้งยังค่อย ๆ เรียนรู้และแก้ปัญหารวมทัง้การทำตลาดเองทั้งหมด โดยผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวและสร้างตัวตนให้กับสินค้า รวมถึงเป็นช่องทางในการขายของจากชุมชนเช่น น้ำผึ้ง ขิง ข่า ตระไคร้ เป็นต้น โดยใช้วิธีเปรียบเทียบราคาแล้วขาย จากนั้นเมื่อสินค้าเพิ่มขึ้นก็เลยพัฒนามาเป็นเว็บไซต์

               ปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบที่ชุมชนพากันปลูกไ ว้ไม่เพียงเติบโตให้ผลผลิตงอกเงยงดงาม แต่ยังส่งผลให้ชุมชนมีการสร้างเครือข่ายของเกษตรกรปลูกและแปรรูปสมนุไพร ตลอดจนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและแปรรูปสมุนไพรปลูกรักและมีผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ“Plant Love”

           จากจุดเริ่มต้นตั้งแต่เป็นคนปลูกแล้วจำหน่ายผลสด พัฒนาแปรรูปเป็นสมนุไพรอบแห้งมากกว่า 22 ชนิดเพื่อใช้สำหรับอบผิวจนนำมาสู่การคิดค้นและวิจัยออกมาเป็นสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สินค้านวัตกรรมที่ได้รับเหรียญทอง World Invention Innovation Contest 2016 จากประเทศแคนาดาและรางวัลSpecial Award จากเวที Korea Invention Academy ประเทศเกาหลีใต้ โดยสินค้าที่มีความโดดเด่นคือ ผลสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ หัวปลี ขิงและกะเพรา มีสรรพคุณช่วยล้างพิษ ช่วยย่อยอาหารและบำรุงระบบประสาทและอีกตัวสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคคือสารสกัดสมุนไพรเข้มข้น 22 ชนิด อาทิ ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบเตย ฯลฯ เพื่อการดูแลคุณแม่หลังคลอด

           สำหรับช่องทางจัดจำหน่ายนอกจากการออบูธตามงานต่าง ๆ แล้วยังสามารถสั่งสินค้าโดยตรงได้ที่  www.momplantlove.com และเฟสบุ้คกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรัก เป็นหลักและอนาคตจะมีการขยายตลาดออกไปยังประเทศในเอเชียและยุโรปเพิ่มเติม หลังจากที่ผ่านมาทำตลาดอยู่ในละแวกอาเซียนอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ