ข่าว

 ผลวิจัยชัดปลูกข้าวโพดดีกว่าทำนาปรัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ผลวิจัยชัดปลูกข้าวโพดดีกว่าทำนาปรัง บทสรุป"รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช"

 

                มีคำถามจากหลายคนว่านโยบายที่รัฐบาลกำลังผลักดันเรื่องการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวนาปรังในฤดูแล้งดีหรือไม่  ข้อมูลที่รัฐบาลใช้น่าเชื่อถือเพียงใด เกษตรกรควรหันไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดีหรือไม่ และมีอะไรบ้างที่น่ากังวลสำหรับนโยบายนี้  

 ผลวิจัยชัดปลูกข้าวโพดดีกว่าทำนาปรัง

 ผลวิจัยชัดปลูกข้าวโพดดีกว่าทำนาปรัง

             “คมชัดลึก”มีโอกาสจับเข่าคุยกับ "รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช" อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ถึงความเป็นไปได้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา หลังอาจารย์ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์นโยบายดังกล่าว ภายใต้โครงการวิจัยระบบโซนนิ่ง(Zoning)ของรัฐบาล

 ผลวิจัยชัดปลูกข้าวโพดดีกว่าทำนาปรัง

ที่มาของโครงการเป็นอย่างไร  

          อย่างที่ทราบกันดีว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยส่วนใหญ่ปลูกกันในพื้นที่นอกเขตชลประทานหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 96-97 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งหมด นอกจากนั้นยังปลูกกันในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและเหมาะสมต่่ำ ถึงร้อยละ 33 ของพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับปัญหาอุปทานล้นตลาดของข้าว และปัญหาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงทำให้รัฐบาลริเริ่มนโยบายบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศหรือที่เรียกกันว่า “โซนนิ่ง”(Zoning) เพื่อใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดไปพร้อม ๆ กับการสร้างสมดุลย์ด้านอุปสงค์และอุปทานในตลาดข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยปัจจุบันรัฐบาลได้พยายามส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนข้าวนาปรัง 

ผลกระทบเชิงศก.จากนโยบายโดยภาพรวม 

           ที่ผ่านมาได้เห็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนสุทธิของพืชแต่ละชนิดของรัฐบาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าวนาปรัง ขณะเดียวกันก็มีความเห็นต่างเรื่องข้อมูลที่รัฐบาลนำมาใช้วิเคราะห์ แม้ว่าการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนสุทธิที่ได้จากข้าวนาปรังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยตรงจะช่วยในการตัดสินใจได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจจะเกิดการผิดพลาดได้ เนื่องจากไม่ได้คานึงถึงดุลยภาพตลาดที่จะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากมีนโยบาย ซึ่งในการวิเคราะห์จะคานึงถึงดุลยภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหลังจากมีนโยบายโดยใช้ แบบจำลองภาคเกษตรของประเทศไทย  ซึ่งเป็นแบบจำลองคณิตศาสตร์เชิงพื้นที่ที่คำนวณราคาและการจัดสรรทรัพยากร  

           โดยใช้อุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตร 5 ชนิด ครอบคลุม 77 จังหวัด โดยมีสมการเป้าหมายคือการแสวงหาสวัสดิการสังคมโดยรวมสูงที่สุด ข้อมูลในแบบจำลองได้ถูกรวบรวมจากหลายแหล่งตั้งแต่อดีตจากถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 1.แผนที่ความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกจากกรมพัฒนาที่ดิน 2.ผลผลิตต่อไร่ พื้นที่เพาะปลูก และปริมาณผลผลิต จากสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำมะโนเกษตร 3.ต้นทุนการผลิตรายจังหวัดประมาณจากแบบสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 4.ปริมาณความต้องการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิด จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้าและการเกษตร และ5.พื้นที่เขตชลประทานจากกรมชลประทาน 

           จากผลการศึกษา พบว่า ควรมีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนข้าวนาปรัง 1,845,710 ไร่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลตอบแทนต่อกิโลกรัมที่สูงกว่าข้าวนาปรัง หากทำได้จริงคาดว่านโยบายนี้จะทำให้สวัสดิการโดยรวมของสังคมเพิ่มขึ้น +17,624 ล้านบาทต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ภาครัฐอุดหนุนผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่า ประกันภัยพืชผล และอื่น ๆ นับว่ามีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์สูง หากรัฐบาลต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวโพดหลังนาจากปัจจุบันที่มีเพียงประมาณเกือบ 1 ล้านไร่ ก็ยังสามารถทำได้โดยเพิ่มแรงจูงใจเพื่อดึงดูดให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากขึ้น

ผลผลิตต่อไร่ที่รัฐบาลใช้เป็นไปได้หรือไม่ 

          เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยคือตัวเลขผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่รัฐบาลใช้ 1,003 กิโลกรัมต่อไร่นั้นเป็นไปได้หรือไม่ เพราะถ้าดูจากข้อมูลในอดีตจะพบว่าตัวเลขค่อนข้างสูงจากที่มีการรายงานโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อทำการรวบรวมข้อมูลระดับครัวเรือนจากแบบสารวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร พบว่า ตัวเลขที่รัฐบาลใช้มีความเป็นไปได้สูง เมื่อลองคำนวณการกระจายตัวของผลผลิตต่อไร่รายครัวเรือนทั่วประเทศประกอบกับการคำนวณหาผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ในเดือนที่เกษตรกรรายงานว่ามีปริมาณขายสูงสุด โดยผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยในเดือนมีนาคมมีค่าสูงที่สุด ขณะที่เดือนอื่น ๆ ในช่วงฤดูแล้งก็มีผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยสูงกว่า 950 กิโลกรัมต่อไร่ โดยระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยจะมีค่าเท่ากับ 1,014 กิโลกรัมต่อไร่ 

         นอกจากนั้นการลงพื้นที่ภาคสนามในจ.เพชรบูรณ์เมื่อต้นปีนี้(2561) พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหลังนาส่วนใหญ่สามารถได้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,000 กิโลกรัม/ไร่ บางหลายสามารถทำได้สูงถึง 1,700 กิโลกรัม/ไร่ ที่ความชื้น 14.5% 

เกษตรกรได้ประโยชน์จริงหรือไม่หากปลูกข้าวโพดหลังนา

      มีความเป็นไปได้สูงที่เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนการปลูกข้าวนาปรัง โดยสามารถยกตัวอย่างให้เห็นในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น กรณีที่ทำได้ตามนโยบาย การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ย่อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าวนาปรังมาก กรณีถัดไปหากสมมติให้ราคาข้าวโพดลดลงเหลือ 7.50 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ผลผลิตและราคาข้าวนาปรังสูงขึ้นเป็น 783 กิโลกรัมต่อไร่  ซึ่งไปได้สูงเช่นกันเพราะปลูกในพื้นที่ชลประทานที่มีความเหมาะสม

       และกรณีเลวร้าย คือ ผลผลิตต่อไร่และราคาข้าวโพดลดลงเหลือ 800 กิโลกรัมต่อไร่ และ 7.50 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ผลผลิตต่อไร่และราคาข้าวนาปรังสูงขึ้นเป็น 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทุกกรณีพบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าวนาปรัง 

ฤดูแล้งจะมีน้ำเพียงพอในการปลูกและราคาเป็นอย่างไร

      เรื่องขาดแคลนน้้าคงไม่น่าเป็นห่วงมากสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะการปลูกข้าวใช้น้ำเยอะกว่าการปลูกข้าวโพดมาก ซึ่งนโยบายดังกล่าวน่าจะช่วยท้าให้ประหยัดน้ำได้ สำหรับราคาตลาดก็น่าจะอยู่ในทิศทางขาขึ้นและมีทิศทางขาลงที่จำกัด เนื่องจากประเทศผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแถบอเมริกาใต้และล่าสุดคือออสเตรเลียฝั่งตะวันออกประสบกับภัยแล้งทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง ซึ่งเป็นผลดีต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตลาดโลก

อะไรคือสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด 

       สิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ ราคาจริงที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับมีแนวโน้มต่ำกว่าราคารับซื้อหน้าโรงงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นปี 2560 จนถึงปัจจุบัน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเกือบ 7 ปี ที่ผ่านมาติดต่อกันเกือบ 2 ปี ซึ่งนับว่าค่อนข้างยาวนานกว่าในอดีต  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกอาจมาจากคุณภาพของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรผลิตได้ต่่ำลงเรื่อยๆ และ ปัจจัยต่อมาอำนาจตลาดที่สูงขึ้นของผู้รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร ซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ พ่อค้าพืชไร่และผู้ผลิตอาหารสัตว์ ทำให้สามารถกดราคารับซื้อให้อยู่ในระดับต่่ำได้  ซึ่งเมื่อพิจารณาทั้ง 2 ปัจจัยควบคู่กันและผลักดันให้เกษตรกรมีสถานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและได้รับราคาขายที่ยุติธรรม 

 

แล้วราคารัฐบาลจะเข้ามาจัดการอย่างไร

        คงมี 2 สิ่งที่รัฐบาลคงต้องทำควบคู่กัน ได้แก่ 1.รัฐบาลคงต้องช่วยเพิ่มความรู้ให้กับเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเกษตรกรมือใหม่ที่เดิมปลูกข้าวนาปรังและไม่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เลย ซึ่งอาจประสานกับสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านเกษตรทั่วประเทศและภาคเอกชนในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกร อย่างไรก็ตามการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้ง น่าจะทำให้คุณภาพดีขึ้นจากค่าความชื้นที่ลดลงและการปลูกแบบแปลงใหญ่ที่มีการนำเครื่องจักรกลสมัยใหญ่มาใช้ และ2.รัฐบาลคงต้องเพิ่มการดูแลการรับซื้อในราคาที่ยุติธรรมของทั้งพ่อค้าพืชไร่และผู้ผลิตอาหารสัตว์ การปลูกในรูปแบบแปลงใหญ่ผ่านการขายทางสหกรณ์ของรัฐบาลน่าจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากพ่อค้าพืชไร่ได้ 

     สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีการรวมกลุ่มรัฐบาลคงต้องช่วยหาทางแก้ปัญหาให้ เพราะไม่สามารถนำไปขายให้กับโรงงานได้โดยตรง ในส่วนของผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือไว้คงต้องประสานเรื่องการคัดคุณภาพและกำหนดราคาที่เป็นธรรมกับเกษตรกร โดยนโยบายของรัฐบาลเรื่องการทำคอนแทค ฟาร์มมิ่ง(Contract Farming)ที่เป็นธรรมน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ หรืออาจจะมีหน่วยงานกลางที่ช่วยตรวจสอบมาตรฐานข้าวโพด หากรัฐบาลสามารถช่วยแก้ปัญหาทั้งสองได้  เกษตรกรคงมีรายได้เพิ่มและหนี้สินลดลงอย่างแน่นอน 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ