ข่าว

กรมชลฯบริหารจัดการน้ำเหนือ ลดผลกระทบท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลฯบริหารจัดการน้ำเหนือ ลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

 

          ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาน้ำเพิ่มขึ้นหลังน้ำเหนือไหลหลาก กรมชลประทาน ใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง รับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยลดน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ลดผลกระทบพื้นที่ตอนล่างให้มากที่สุด 

 

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ที่จ.นครสวรรค์ มีแนวโน้มน้ำเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำเหนือที่ไหลหลากลงมาสมทบ ส่งผลให้สถานี C.2 ที่ อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้นเป็น 1,175 ลบ.ม./วินาที และจะไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาในลำดับต่อไป กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการรับน้ำเข้าคลองในระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง รวมประมาณ 494 - 550 ลบ.ม./วินาที และควบคุมน้ำให้ไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 820 ลบ.ม./วินาที มีพื้นที่ได้รับผลกระทบที่บริเวณที่ลุ่มต่ำริมตลิ่งคลองบางบาล และคลองโผงเผง บริเวณ ต.หัวเวียง ต.บ้านกระทุ่ม อ.เสนา ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่            จ.พระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วมประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร โดยในระยะนี้ระดับน้ำบริเวณดังกล่าวจะทรงตัว ซึ่งเป็นไปตามที่กรมชลประทานได้คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ โครงการชลประทานในพื้นที่ได้ประสานกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แจ้งเตือนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องแล้วก่อนหน้านี้สำหรับการเตรียมการเร่งระบายน้ำในแม่น้ำท่าจีนช่วง จ.นครปฐม ขณะนี้ได้ทำการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 14 เครื่อง และกำลังดำเนินการติดตั้งอีก 39 เครื่อง จะแล้วเสร็จภายใน 2-3 วันนี้ กรมชลประทาน มีแผนดำเนินการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนทั้งหมด 81 เครื่อง เพื่อช่วยให้การไหลของน้ำในแม่น้ำท่าจีนดีขึ้นตั้งแต่ จ.สุพรรณบุรี และจ.นครปฐม ช่วยลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งด้วยน้ำที่มีน้ำเกินเกณฑ์ควบคุม(Upper rule curve (URC)) จะพิจารณาเร่งระบายให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ

อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์ฝน 3 วันล่วงหน้าของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าทั่วประเทศจะมีปริมาณฝนตกน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้น้ำท่าที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดกลางมีปริมาณน้อยลงตามไปด้วย ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำในอ่างขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ อย่างรัดกุมและเคร่งครัด ด้วยการระบายน้ำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ